ผอ.สบน.สรุปพรก.3 ฉบับ แบบให้อ่านง่ายๆ ไม่ได้กู้ 1.9 ล้านล้าน


เพิ่มเพื่อน    

18 พ.ค.63-นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โพสต์เฟซบุ๊ก Patricia Mongkhonvanit ถึงพระราชกำหนด(พรก.)เงินกู้ 3 ฉบับ ว่ามีผู้ใหญ่ท่านนึงขอให้เขียนสรุปเรื่องเกี่ยวกับ พรก. เงินกู้ แบบให้อ่านง่ายๆ

ไหนๆ ก็เคยให้สัมภาษณ์ตามสื่อมาหมดแล้ว ก็ถือว่าน่าจะลงในนี้ได้ เผื่อเป็นความรู้และสร้างความเข้าใจให้คนที่ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พรก. เงินกู้ที่ออกมา

อดทนอ่านหน่อยนะคะ ยาวนิดนึง และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ

1. รัฐบาลกู้ 1.9 ล้านล้าน จริงเหรอ ?

ไม่จริงค่ะ พรก. ที่รัฐบาลออกมา มีอยู่ 3 ฉบับ แบ่งเป็น
1. พรก. เงินกู้ 1 ล้านล้าน
2. พรก. Softloan 500,000 ล้าน
3. พรก. Bond Stabilization Fund BSF 400,000 ล้าน

แม้ว่าถ้าบวกกันจะมีมูลค่ารวม 1.9 ล้านล้าน แต่มีเพียงพรก. ฉบับที่ 1 ฉบับเดียวเท่านั้นที่จะใช้เงินกู้ ส่วนอีก 2 ฉบับ เป็นการใช้สภาพคล่องของ ธปท.ค่ะ

ดังนั้น การบอกว่ารัฐบาลกู้เงิน 1.9 ล้านล้าน เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องค่ะ

2. รัฐบาลจะกู้เงินจากที่ไหน ?

รัฐบาลมีเครื่องมือในการกู้เงินทั้งเครื่องมือระยะยาว เช่น การขายพันธบัตร ตั้งแต่อายุ 5-50 ปีให้นักลงทุนสถาบัน การขายพันธบัตรออมทรัพย์ให้ประชาชน การกู้จากองค์การระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และเครื่องมือระยะสั้น เช่น การออกตั๋วเงินคลัง การกู้เงินผ่านสถาบันการเงินในรูป PN หรือ Term loan ซึ่งภายใต้ พรก. กู้เงิน 1 ล้านล้านนี้ก็จะกระจายการกู้เงินไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในเครื่องมือใดเครื่องมือนึงเป็นการเฉพาะ

3. รัฐบาลกู้เงินมา 1 ล้านล้านแล้วหรือยัง ?

ยังค่ะ รัฐบาลจะทยอยกู้เงินตามความต้องการใช้เงิน ซึ่งในขณะนี้มีเพียง 2 โครงการเท่านั้น ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินกู้ คือการเยียวยาประชาชน และเกษตรกร

ในปัจจุบัน (16 พค. ) ได้ทำการกู้เงินไปแล้ว 170,000 ล้านบาท ผ่านตั๋วสัญญาใช้เงินและพันธบัตรออมทรัพย์ เครื่องมืออื่นจะทยอยตามมาค่ะ

4. จำเป็นต้องกู้ทั้ง 1 ล้านล้านไหม ?

อาจจะไม่จำเป็นค่ะ ทั้งนี้ จะต้องกู้เป็นจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้เงิน ถ้า COVID ทำให้เศรษฐกิจฟุบนาน งบประมาณปี 2564 ใช้ไม่เพียงพอในการดูแลประชาชนและเศรษฐกิจ ก็อาจจะต้องกู้จนครบจำนวน 1 ล้านล้าน แต่ถ้าพวกเราช่วยกันแล้วคุมโรคอยู่ ทุกๆอย่างค่อยๆ ผ่อนคลาย เศรษฐกิจเริ่มหมุน คนกลับมามีรายได้ เงินงบประมาณ 2564 ดูแลได้อย่างเพียงพอ ก็อาจจะไม่ต้องกู้จนครบ 1 ล้านล้านบาทก็เป็นได้

5. เมื่อกู้ครบ 1 ล้านล้านบาทแล้ว สภาวะหนี้ของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ?

จากการประมาณการ หากต้องกู้เงินครบ 1 ล้านล้านบาท ภายใน 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะสามารถกู้ได้ตามพรก. ฉบับนี้ คาดว่าหนี้สาธารณะของไทย ณ 30 กันยายน 2564 จะอยู่ที่ 57.96% ของ GDP ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังที่ประกาศกำหนด Debt / GDP ไว้ที่ 60%

อย่างไรก็ดี Debt/GDP ที่ระดับ 60% นี้ เป็นระดับหนี้พึงมีในสภาวการณ์เศรษฐกิจที่ปกติ แต่ในสภาวการณ์ที่ไม่ปกติ หากมีความจำเป็นต้องมีเงินเพื่อดูแลประชาชนและเศรษฐกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ และสามารถกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และอาจทำให้หนี้สาธารณะเกินระดับ 60% ไปบ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่โลกจะถล่ม ประเทศจะทลาย ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเจริญเติบโต สัดส่วนดังกล่าวก็จะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ

สมัยวิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงที่หนี้สาธารณะสูงที่สุด คือ 59.9% และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นประกอบกับการมีวินัยในเรื่องหนี้ที่ดี ทำให้ในปัจจุบัน หนี้สาธารณะอยู่ในระดับเพียง 41.4% ของ GDP

6. หนี้ก้อนนี้เมื่อไหร่จะใช้หมด ?

อายุเฉลี่ยของหนี้สาธารณะในปัจจุบันอยู่ที่ 10 ปีกว่าๆ โดยหนี้ที่อายุยาวที่สุดคืออายุ 50 ปี

ทั้งนี้ ในการชำระหนี้ รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้ไว้ในงบประมาณทุกปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอัตราการชำระหนี้ที่เหมาะสมในแต่ละปี ควรจะจัดสรรงบประมาณไม่ต่ำกว่า 3% ของงบประมาณเพื่อใช้ในการชำระเงินต้นค่ะ

ดังนั้นการจะตอบว่าประเทศไทยจะชำระหนี้ก้อนนี้หมดเมื่อไหร่ มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย คงไม่สามารถตอบเป็นจำนวนปีที่ชัดเจนได้ อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจดี ประเทศไทยจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้น และได้รับการจัดสรรงบชำระหนี้อย่างเหมาะสม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้ชำระหนี้ก้อนนี้ให้หมดได้เร็วขึ้นค่ะ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"