ในบรรดาเพื่อนบ้านของไทย “สปป.ลาว” เป็นประเทศน้องใหม่ที่น่าลงทุน เนื่องด้วยยุทธศาสตร์หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนตัวเองจากแลนด์ ล็อก คันทรี หรือประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดกับทะเลสู่แลนด์ ลิงค์ หรือการเป็นศูนย์กลางเชื่อมทางบกระหว่างจีน ไทย เวียดนาม และกัมพูชา เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง รวมถึงการตั้งเป้าหมายในการเป็นแบตเตอรี่ ออฟ เอเชีย หรือแหล่งพลังงานของภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเป็นฐานการผลิต รวมทั้งไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่กำลังก้าวสู่ความเป็นเมือง และยังมีปัจจัยอีกหลากหลายด้านที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษา เพื่อเป็นทางเลือกในการขยายธุรกิจในอนาคต
จากเหตุผลที่กล่าวมา สปป.ลาว จึงเป็นตลาดน้องใหม่ที่เนื้อหอม พร้อมเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากที่สุด ตลาดหนึ่งในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ยังมีข้อมูลด้านมูลค่าการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว ในปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวมที่ 6,385.82 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 3,847.50 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และมูลค่าสินค้านำเข้า 2,538.31 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2564 ได้มีการวางเป้าหมายมูลค่าการค้าไทย-สปป.ลาว คาดว่าน่าจะสูงถึง 11,743.04 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว
แม้ว่าเมื่อมองด้านการดึงดูดการลงทุน อาจจะเห็นว่าลาวเริ่มเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย แต่เมื่อมองถึงกรณีของนักลงทุน ที่จะมีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจตัวเองให้พัฒนาไปได้ไกลในภูมิภาคแล้ว สปป.ลาว ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจะตัดสินใจไปตั้งถิ่นฐานการผลิตที่นั่น ซึ่งที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความรู้และเปิดช่องทางเอื้ออำนวยให้แก่นักลงทุนไทยที่ต้องการจะเข้าไปลงทุนในลาวอยู่หลายหน่วยงาน
และล่าสุดสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ก็เป็นอีกหน่วยงานที่ออกมาจัดโครงการอบรมและสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจและองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และได้นำเทรนด์ 3 กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนในตลาด สปป.ลาว มาบอกผู้ประกอบการเพื่อเป็นไอเดียในการทำธุรกิจ ได้แก่
1.ธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องจักรกลการเกษตร รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความงาม คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ ส่วนประกอบของตกแต่งบ้าน/โรงแรม/ร้านอาหารผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์ด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านชีวภาพด้านพลังงาน จึงเหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมในอนาคต
2.ธุรกิจการเกษตร ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารทะเลแช่แข็ง ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่สดแช่แข็ง เนื้อสัตว์ชิ้นส่วนต่างๆ การทำเกษตรออร์แกนิกส์ ฟาร์มปศุสัตว์ เนื่องจากสินค้าจากไทยยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนลาว เนื่องจากสินค้าไทยเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ประกอบกับความใกล้ชิดที่มีภาษาคล้ายกัน ดังนั้นจึงได้รับความเชื่อถือจนกลายมาเป็นคู่ค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
และ 3.ธุรกิจบริการ ได้แก่ สปา โรงแรม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแฟรนไชส์ ออกแบบก่อสร้าง การวางระบบ IT การศึกษา บันเทิง ถ่ายทำภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ซ่อมรถ ล้างรถ และประดับยนต์ ร้านเสริมสวย สถาบันความงาม สถาบันฝึกอบรม ซ่อมบำรุงต่างๆ เนื่องจากทางด้านภาษานั้น ก็จะมีวัฒนธรรมการสื่อสารที่ค่อนข้างได้เปรียบ ซึ่งเราสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องใช้ล่าม ในจุดนี้เราจึงได้เปรียบประเทศอื่นอย่างมาก
ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีให้กับผู้ประกอบการไทยที่อาจจะมองเห็นลู่ทางในการทำธุรกิจ และเดินหน้าการลงทุนได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ ทั้งนี้ลาวเองยังเป็นหนึ่งในประเทศที่หลายฝ่ายคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างมากในช่วง 10 ปีข้างหน้า จนได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศเป้าหมายสำหรับการลงทุน อย่างซีแอลเอ็มวี หรือกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามอีกด้วย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |