‘เดดล็อก’ บ้านพักตุลาการ ‘ม.44’ เพื่อ ‘วิน-วิน’ สองฝ่าย


เพิ่มเพื่อน    

   โครงการก่อสร้างบ้านพักและอาคารชุดของข้าราชการตุลาการเชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ที่ใกล้จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ กำลังกลายเป็น เดดล็อก

    ภาคประชาชนคัดค้าน ชูเหตุผลเรื่อง สิ่งแวดล้อม คนในสังคมคล้อยเพราะ ดอยสุเทพ ถือเป็นป่าไม้ที่มีความสำคัญไม่ใช่เฉพาะคน จ.เชียงใหม่
    ผสมปนเปไปกับกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่กำลังจุดติด จากกรณีจับกุมนาย เปรมชัย  กรรณสูต ผู้บริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมซากสัตว์ป่าสงวนกลาง ทุ่งใหญ่นเรศวร
     ขณะที่ศาลยุติธรรมในฐานะผู้ใช้กฎหมายยืนยัน โครงการดังกล่าวถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย  ไม่ได้รุกพื้นที่ป่า ไม่สามารถยกเลิกได้
      ทางหนึ่งเป็นเรื่อง ความรู้สึก ที่หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ กับอีกทางหนึ่งเป็นเรื่องของการยึดตัวบทกฎหมาย ลุกลามบานปลายถึงมือ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องลงมาแก้ปัญหา
      ส่วนหนึ่งที่ต้องลงมาเองเพราะมันคาบเกี่ยวกับ กองทัพ เช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลัง อยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่นำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างบ้านพักให้ข้าราชการศาล เลยต้องร่วมหา ทางออก
    ย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปเรื่องของความพยายามจะใช้พื้นที่แห่งนี้ก่อสร้างเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 โดยครั้งแรกกระทรวงยุติธรรมได้ขอใช้พื้นที่ 106 ไร่ แต่กองทัพภาคที่ 3 ปฏิเสธ
    ปี 2543 กระทรวงยุติธรรมที่มี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นปลัดกระทรวง ขอใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังสร้างที่พักศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่ในปีเดียวกันศาลได้แยกออกจากกระทรวงยุติธรรม
      ต่อมาปี 2547 ในรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 5 ได้ขอใช้พื้นที่  143 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวาต่อกองทัพบกที่มี พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และได้รับการอนุมัติ
      เกือบสิบปีที่ผ่านมา ในปี 2556 ตรงกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อนุมัติงบประมาณ 1,000  ล้านบาทให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อสร้างบ้านพักและอาคารชุดในบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันโครงการก่อสร้างคืบหน้า 80% จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน
      ในหลักความเป็นจริงบ้านพักดังกล่าวสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าประชาชนคัดค้านต่อเนื่องแบบในปัจจุบันอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตในอนาคต
      ศาลยุติธรรมเองรับรู้ถึงปัญหาข้อห่วงใยดังกล่าว แต่การ ยกเลิก ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะจะทำให้ผู้รับเหมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากศาลเป็นจำนวนมหาศาล ที่สำคัญทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการ มีความผิด ในทันที
    ทว่าครั้นจะสร้างต่อไปอาจยิ่งสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน ทั้งที่ความจริงศาลและผู้รับเหมาเองต้องการแนวทางนี้ เพราะสร้างมาจวนจะเสร็จหมดงบประมาณไปร่วมพันล้านบาท มันเลยติดอยู่ในภาวะ กลับตัวไม่ได้ ไปต่อไม่ถึง ตอนนี้ บิ๊กตู่ เลยต้องให้ชะลอเพื่อเปิดโต๊ะเจรจาหาทางออกว่าควรจะจัดการอย่างไรเพื่อไม่ให้ต้อง รื้อ ทั้งหมด
    ศาลเองเตรียมแนวทางเอาไว้แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของต้นไม้และตัวบ้านพัก แต่ถ้าที่สุดภาคประชาชนยังไม่พอใจสภาวะ เดดล็อก ก็ยังคงอยู่ต่อไป
    ณ ตอนนี้เหมือนยื้อกันไปไม่ให้กระทบกระทั่ง แต่ฝั่ง บิ๊กตู่ ก็ประเมินเอาไว้เหมือนกันว่ามีสิทธิ์ ล่ม  เลยเตรียมทางออกสุดท้ายเอาไว้
    ถ้าเคลียร์กันไม่ลงล็อก บิ๊กตู่ เตรียมใช้ แก้วสารพัดนึก มาตรา 44 เข้ามา ระงับศึก อยู่เหมือนกัน  หลักๆ คือปิดช่องการฟ้องร้องศาลเอาไว้ก่อน ชะลอการก่อสร้างและป้องกันการรื้อออกในทันที จับแช่  เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุด
    มีอำนาจพิเศษเข้ามาช่วย ศาลไม่ได้รู้สึกเหมือน ถูกหัก กลับโล่งใจด้วยซ้ำ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"