5องค์กรสิทธิ์ใต้ร่อนแถลงการณ์ยุติตัดสัญญาณมือถือชี้กระทบปชช.ช่วงโควิด-ละเมิดความเป็นส่วนตัว


เพิ่มเพื่อน    

17 พ.ค.63 - กลุ่มเครือข่ายสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1.เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.) 2. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา 3.กลุ่มบุหงารายาเพื่อการศึกษา 4.กลุ่มด้วยใจ 5. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกันออกแถลงการณ์ร่วม  เมื่อต้อง'ไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง'  ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที กรณีผู้ใช้โทรศัพท์ ไม่ไปถ่ายรูปสองแชะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสถานการณ์โควิด-19 

โดยระบุว่า  เมื่อวันที 12 พฤษภาคม 2563  มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเริ่มได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินทั้งสี่เครือข่ายไม่ว่าจะเป็นของ CAT, DTAC, AIS และ TRUE ว่าสัญญาณโทรศัพท์ถูกตัดแล้ว ไม่สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ต รับสายเข้า และโทรออกได้

ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมักได้รับข้อความทางโทรศัพท์มือถือว่า ให้ทุกคนที่ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ดังกล่าว ไปลงทะเบียนซิมการ์ดโดยวีธีการตรวจสอบใบหน้า (Face Recognition) เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ ของตนเอง ภายในวันที่ 30 เมษายน 2563 มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือของตนได้ โดยข้อความลักษณะดังกล่าวมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไปบ้าง และมีการจัดส่งอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา

โดยมีข้อมูลของฝ่ายกฎหมาย กอ.รมน. ภาคสี่ส่วนหน้า ที่ให้ไว้กับการประชุมกรรมาธิการการกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562   ซึ่งเป็นข้อมูลของช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ว่า มีผู้ใช้ซิมการ์ดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จำนวนทั้งสิ้น 1.5 ล้านหมายเลข เป็นหมายเลขจดทะเบียนรายเดือนเพียง 300,000  หมายเลข  ปัจจุบันนี้ทางกอ.รมน.ได้ดำเนินการบริการให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ลงทะเบียนโดยระบบสองแชะ อัตลักษณ์ไปแล้วทั้งสิ้น  888,813 เลขหมาย โดยใช้เจ้าหน้าที่ทหารทั้งสิ้น 7,305 นาย ดำเนินการมาตั้งแต่มีนโยบายนี้

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องพบว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในสถานการณ์รับมือโควิด-19 ดังนี้

1. การที่บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตัดสัญญาโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินนั้น ส่งผลให้เกิดความเดือนร้อนอย่างมากของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในสถานการณ์โควิด- 19 เนื่องจากผู้ใช้ซิมเติมเงินเป็นส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ซิมที่ไม่รายได้มากนักและมีการใช้งานทั้งในเรื่องการเข้าถึงสื่อออนไลน์ และการติดต่อสื่อสารเพื่อจำกัดการเดินทางในภาวะที่มีการปิดเมือง ปิดตำบล ปิดหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานขอความช่วยเหลือด้านการศึกษา การสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม เช่น

1.1 มิติการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาของเด็กและเยาวชนในอนาคตที่ไม่สามารถเปิดโรงเรียนได้  ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเปิดการเรียนการสอนหนังสือผ่านระบบออนไลน์  การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่อัตราการเข้าเรียนและคุณภาพการศึกษากว่าภาคอื่นๆของประเทศ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.2 มิติเศรษฐกิจ รายงานของธนาคารโลกระบุว่าอัตราความยากจนในพื้นที่ขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนใต้สูงที่สุดในประเทศไทยและจากสถานการณ์ความมั่นคงและการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้ประกอบอาชีพขายของออนไลน์มากขึ้น การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสในการรอดพ้นภาวะยากจนและการมีรายได้เพื่อมาเลี้ยงชีพในครัวเรือน

1.3 มิติความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม การตัดสัญญาณโทรศัพท์ทำให้ผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำหรือเดินทางคนเดียว หรือผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายหรือมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉินการร้องขอความช่วยเหลือจึงผ่านทางโทรศัพท์ไม่อาจทำได้จึงมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสในการมีชีวิตรอด

2. การบังคับให้ประชากรที่ใช้ซิมโทรศัพท์ไปจดทะเบียนใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อพิสูจน์และรับรองอัตลักษณ์บุคคลแต่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลาจะตัดสัญญาณโทรศัพท์ นั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสัญญาเนื่องจากผู้ที่ใช้โทรศัพท์มาแต่เดิมทำสัญญาเข้ารับบริการใช้เครือข่าย ไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือว่าบริษัทผู้ให้บริการผิดหลักการคู่สัญญาบริการธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ และการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารของประชาชน  โดยไม่มีกฎหมายใดใดให้อำนาจไว้
 
3. การดำเนินการตัดสัญญาณโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินจำนวนในพื้นที่หลายแสนเลขหมาย เฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และมาตรการขององค์การสหประชาชาติ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563   ที่ว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด - 19 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของหลักการแยกออกจากกันไม่ได้และการพึ่งพาอาศัยกันของสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย 

การระบาดใหญ่ในครั้งนี้เป็นภัยคุกคามสาธารณสุขทั่วโลก อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ในหลายแง่มุมต่อการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เนื่องจากบางมาตรการที่รัฐบังคับใช้เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่มีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางโยกย้ายและสิทธิอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐจำต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ด้วยความสมเหตุสมผล (reasonable) และได้สัดส่วน (proportionate) เพื่อรับประกันการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย” รวมทั้งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่ประเทศไทยเป็นภาคีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลักเสมอภาคและไม่มีเลือกปฏิบัติ

4. อีกทั้งการจัดเก็บและการนำมาใช้ในการหาข้อมูลหรือเก็บหลักฐานประกอบปฏิบัติการข่าวกรองมักนำไปสู่การคัดกรองบุคคลโดยดูจากลักษณะทางเชื้อชาติ (Racial Profiling) หากไม่ใช้อย่างระมัดระวัง อาจทำให้เกิดการจับและลงโทษคนผิด นอกจากจะนับเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติยังสร้างเงื่อนไขให้ประชาชนขาดความไว้วางใจต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นองค์กรที่มีชื่อข้างท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้จึงขอเรียกร้องให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กสทช. กอ.รมน. 4 และรัฐบาล ได้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในจังหวัดชายแดนใต้โดยทันที และต่อสัญญานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายโดยทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"