16 พ.ค. 63 - ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ทำเนียบรัฐบาล นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยาของภาครัฐ ว่า ประชาชนคนไทย 66 ล้านคน ประกอบด้วย 1.แรงงานในระบบ 11 ล้านคน ได้รับการเยียวยาผ่านสำนักงานประกันสังคมอยู่แล้ว 2.แรงงานอิสระ 16 ล้านคน กระทรวงการคลังรับมาดำเนินการตามมาตรการเราไม่ทิ้งกัน เยียวยา 5 พันบาท 3 เดือน ณ วันนี้ มีผู้ผ่านเกณฑ์ 15 ล้านคน ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 3.เกษตรกร 10 ล้านคน กระทรวงเกษตรฯ เริ่มดำเนินการแล้ว เยียวยา 5 พันบาทต่อครอบครัว 4.เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ 3 ล้านคน ไม่ลดวันเวลาทำงานหรือลดเงินเดือน รัฐบาลดูแลอยู่ ทั้ง 4 กลุ่มรวมกัน 40 ล้านคน เป็นกลุ่มแรงงาน
5.กลุ่มเปราะบาง (เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ คนพิการ) 13 ล้านคน ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ กำลังเสนอมาตรการดูแลในระยะเวลาอันใกล้นี้ 6.ผู้มีรายได้น้อย 2.4 ล้านคน ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งหมด 14.6 ล้านคน การเยียวยาของภาครัฐเน้นว่าการเยียวยาจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนระหว่างกลุ่ม 14.6 ล้านคน หักกลุ่ม 1-4 ที่ซ้ำซ้อน จึงเหลือผู้มีรายได้น้อย 2.4 ล้านคน 7.คนลงทะเบียนไม่สำเร็จ (มาตรการเยียวยา 5 พันบาท) 1.7 ล้านคน กระทรวงการคลังได้เปิดให้ดูแลอยู่ เป็นกลุ่มใหญ่ที่มาร้องเรียน รัฐบาลเข้าใจ หลายท่านไม่คุ้นชินในการลงทะเบียนออนไลน์ กระทรวงการคลังมีนโยบายชัดเจนที่จะดูแล ท่านที่จะมาร้องเรียนตอนนี้ปิดแล้ว ให้ท่านไปที่สาขาของธนาคารของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ 8.ผู้ได้รับผลกระทบทางสังคมกรณีฉุกเฉิน 1 ล้านคน กระทรวงพัฒนาสังคมฯ มีกลไกระเบียบรองรับอยู่แล้ว กลุ่ม 5-8 ต้องดำเนินการขจัดความซ้ำซ้อน ประเมินแล้วเหลือไม่เกิน 12.5 ล้านคน เมื่อรวมกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี 13.5 ล้านคน จะได้ 66 ล้านคน รัฐบาลจะดูแลคนทุกกลุ่ม มีฐานข้อมูลชัดเจน
นายลวรณ กล่าวถึงมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลจะดูแล ว่า กลุ่มประชาชน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการลดค่าใช้จ่าย โดยยืดภาระการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปเป็นเดือน ส.ค., ลดค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า, ป่วยโควิดรักษาฟรี, แจกหน้ากากอนามัยกลุ่มเสี่ยง, เพิ่มสภาพคล่อง สินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นบาท/ราย กู้ได้ที่ธนาคารออมสิน หรือ ธกส. ไม่ต้องมีหลักประกัน ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน และสินเชื่อพิเศษ 5 หมื่นบาท/ราย ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน มีหลักประกัน เช่น สลิปเงินเดือน
ส่วนผู้ประกอบการ ถ้ารักษาระดับการจ้างงานได้เหมือนเดิม หักรายจ่ายค่าจ้างได้ 3 เท่า, ยืดเวลาเสียภาษีนิติบุคคล, ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์, ลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย เหลือ 1.5%, เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการส่งออก ยื่นทางอินเตอร์เน็ตได้รับคืนภายใน 15 วัน ยื่นปกติได้รับคืนภายใน 45 วัน, สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซอฟท์โลนวงเงิน 5 แสนล้านบาท และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
นายลวรณ ยังตอบคำถามถึงกรณีผู้ถูกตัดสิทธิเยียวยา 5 พันบาท เพราะมีชื่อเป็นเกษตรกร และคนที่ยังลงทะเบียนไม่สำเร็จ ว่า ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.) ที่ผ่านมา มีการส่ง sms ไปถึงผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร ประมาณ 470,000 คน ฐานข้อมูลกระทรวงเกษตรฯ มีการอัพเดตให้เป็นปัจจุบัน กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบข้อมูลเสร็จแล้วเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมา การจ่ายเงินจะดำเนินการได้ภายในวันพุธหน้า (20 พ.ค.) ส่วนคนที่ลงทะเบียนรับ 5 พันบาทไม่สำเร็จกำลังพิจารณา โดยกลุ่มคนลงทะเบียนไม่สำเร็จเรามีข้อมูลครบถ้วนดำเนินการต่อไป ส่วนคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนต้องดูมาตรการอื่นของภาครัฐที่ออกมารองรับ ทั้งนี้ นายลวรณได้ย้ำถึงผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จ สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารของรัฐทุกแห่งในสัปดาห์หน้า ไม่ต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลังกับกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งปิดแล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |