แฟ้มภาพ
16 พ.ค.63 - สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของประชาชน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสำรวจใช้แบบสอบถามออนไลน์ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและเป็นผู้ที่ใช้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิคส์ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม ถึง 13 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,338 คน มีรายละเอียดดังนี้
1. ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จากสื่อโทรทัศน์ มากที่สุด (ร้อยละ 33.6) รองลงมาคือ ทาง Facebook (ร้อยละ 23.9) และ จากบุคลากรสาธารณสุข (ร้อยละ 15.7)
2. ด้านรูปแบบการทำงาน
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนวิธีทางานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพบว่า ไปทำงานทั้งที่ทำงานและที่บ้านสลับกัน มากที่สุด (ร้อยละ 44.2) รองลงมา คือ ไปทำงานที่ทำงานทุกวัน (ร้อยละ 32.1) และ ทำงานที่บ้านทุกวัน (ร้อยละ 23.7)
3. ด้านสถานภาพการทำงาน รายได้ การออมเงิน และ สถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัว
ด้านสถานภาพการทำงานและรายได้ : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงทำงานเดิม และยังคงรับเงินเดือน/มีรายได้เท่าเดิม (ร้อยละ 64.7) รองลงมา คือ ยังคงทำงานเดิม แต่เงินเดือน/รายได้ลดลง (ร้อยละ 17.6) แต่เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่า ต้องหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างและไม่มีรายได้กับกลุ่มที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้/ถูกเลิกจ้างและไม่มีรายได้ไปรวมแล้ว พบว่า มีผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านการทำงานและรายได้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถึงร้อยละ 27.1
ด้านการออมเงิน: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ยังออมเงินได้ตามปกติ (ร้อยละ 30.6) รองลงมา คือ มีเงินพออยู่ได้แต่ไม่มีเงินออม (ร้อยละ 28.8) และ ที่น่าสนใจคือ ต้องใช้เงินออมบางส่วนแต่ยังไม่ได้กู้ยืมเงิน (ร้อยละ 24.3) ไม่มีเงินออมและต้องกู้ยืมเงิน (ร้อยละ 8.2) และ ต้องใช้เงินออมบางส่วนและมีการกู้ยืม (ร้อยละ8.1) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อเงินออมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
จากข้อมูลด้านรายจ่ายยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 90.6 ต้องจ่ายเงินซื้อหน้ากากอนามัย ร้อยละ 88.5 ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเจล/แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 47.9 มีการจัดการอาหารการกินของครอบครัว โดยมีการกักตุนวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า ขณะที่ร้อยละ 12.3 สั่งอาหารสาเร็จให้มาส่งที่บ้าน สถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัว: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวก็จะกลับสู่สภาพเดิม (ร้อยละ 62.2) รองลงมา ระบุว่า แย่ลงกว่าเดิม (ร้อยละ 31.8) และ กลุ่มตัวอย่างส่วนน้อย ระบุว่า น่าจะดีขึ้นกว่าเดิม (ร้อยละ 6)
4. ด้านความไว้วางใจผู้นำในการแก้ไขปัญหา
เมื่อสอบถามว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 นี้ ท่านไว้วางใจผู้ใดมากที่สุดเพื่อให้เข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ไว้วางใจให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นเข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 86.4) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อย ระบุว่า ไว้วางใจนักการเมืองให้เข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 4.3) ใครก็ได้ (ร้อยละ 2.7) นักวิชาการ (ร้อยละ 2.6) และ ข้าราชการ (ร้อยละ 2.2)
5. ด้านการบริจาคและช่วยเหลือกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 46.0 เห็นว่า แม้จะประสบปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนก็ยังมีความช่วยเหลือจากรัฐมาทันท่วงที ขณะที่ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 92.6 เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า เมื่อประสบปัญหาคนไทยก็ยังช่วยเหลือเอื้ออาทรกันและกัน ร้อยละ 87.5 ระบุว่า เมื่อประสบปัญหาพวกเขาก็มีความเข้มแข็งและเอาตัวรอดได้เสมอ
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.1 ระบุว่า ในภาวะวิกฤติสามารถไว้วางใจคนในชุมชนของตนเองได้ว่า ยังมีความเอื้ออาทรกันและกัน ดูแลกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 50 ระบุว่า พวกเขาได้ บริจาค เงินสิ่งของให้กับโรงพยาบาล องค์กรการกุศล และบริจาคโดยตรง อีกทั้งยังเชิญชวนให้ผู้อื่นมาร่วมบริจาคด้วย และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 3 ระบุว่า ตนไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม
6. เมื่อเกิดภาวะวิกฤต จะฝากอนาคตไว้กับใคร ?
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 41.8 ระบุว่า สามารถฝากอนาคตไว้กับผู้นำประเทศได้ ร้อยละ 45.7 ระบุว่า ฝากอนาคตไว้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเองได้ ร้อยละ 34.3 ระบุว่า ฝากอนาคตไว้กับผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยยังพบอีกว่า เมื่อประสบปัญหา ประชาชนเชื่อว่าพวกเขาจะช่วยเหลือกันเองได้ ประชาชนไทยยังมีทัศนคติที่ดีต่อสังคมไทยคนไทยด้วยกันและยังคิดว่าคนไทยก็ยังมีความเอื้ออาทรช่วยเหลือกัน รวมทั้งยังมีแนวคิดเชิงบวกที่เชื่อว่าตัวเองก็สามารถที่จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี
7. ด้านการดำรงชีวิตกับสิทธิเสรีภาพ สำหรับทัศนคติในการดารงชีวิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 70 ระบุว่า ควรใช้การจัดการศึกษาแบบออนไลน์แทนการศึกษาในโรงเรียน ในขณะที่ ร้อยละ 89.4 ระบุว่า คนไทยต้องมีวินัยมากขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ เมื่อสอบถามว่า ในภาวะวิกฤตที่มีการประกาศใช้พระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทาให้ประชาชนต้องถูกจากัดสิทธิเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทานั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วย ถึงร้อยละ 80.8 (โดยจาแนกเป็น ผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 43 และ ผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 37.8)
8. การตัดสินใจในชีวิต
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างเลือกระหว่าง “ปากท้องกับปัญหาสุขภาพในภาวะวิกฤตินี้คนไทยจะเลือกอะไร” พบว่า โดยภาพรวม ร้อยละ 61.4 ไม่เห็นด้วยว่า ปากท้องสาคัญมากกว่าสุขภาพ กล่าวคือ พวกเขาให้ความสาคัญกับสุขภาพมากกว่า (ร้อยละ 35.7 เห็นด้วยว่า ปากท้องสาคัญมากกว่าสุขภาพ และ ร้อยละ 2.9 ไม่ตอบ)
9. การยอมรับกันทางสังคม
เมื่อสอบถามว่า “ท่านจะยอมรับใครบ้างและยอมรับได้เพียงใดที่จะให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ มาเป็นเพื่อนบ้าน” พบว่า ร้อยละ 64.5 ยอมรับที่จะเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ป่วยโควิดได้ ร้อยละ 71.8 ยอมรับผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ระหว่างการกักตัวดูอาการได้ ร้อยละ 92.2 ยอมรับผู้ที่หายป่วยจากโควิดได้ ในขณะที่ ร้อยละ 66.7 ยอมรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศได้ และ ร้อยละ 58.1 ยอมรับคนต่างชาติได้ ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่ากลุ่มบุคคลที่คนไทยให้การยอมรับให้มาเป็นเพื่อนบ้านมากที่สุด คือ กลุ่มผู้หายป่วยจากโควิด รองลงมา คือ ผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลับจากต่างประเทศ แต่ที่น่าสนใจคือมีประชาชน ยอมรับคนต่างชาติและผู้ป่วยโควิดน้อยกว่ากลุ่มอื่น และ ร้อยละ 20.9 ไม่ต้องการเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ป่วยโควิด และร้อยละ 19.2 ไม่ต้องการเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ดังภาพ 7
10. ความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล
ในการสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ศึกษาได้ให้กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนความพึงพอใจต่อรัฐบาล กำหนดคะแนน 0 ถึง 10 คะแนน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง มีความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล โดยร้อยละ 64.9 ให้คะแนนความพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในระหว่าง 6 ถึง 10 คะแนน ในขณะที่ ร้อยละ 10.6 ให้คะแนนรัฐบาล คาบเส้นหรือห้าคะแนน และ ร้อยละ 23.9 ให้คะแนนรัฐบาลน้อยกว่า 5 คะแนน โดยที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 6.3 ให้คะแนนความพอใจ 0 คะแนน ในขณะที่ ร้อยละ 9.8 มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 10 คะแนน
11. ข้อเสนอแนะอื่นๆเห็นได้ว่าการทำงานของรัฐในช่วงแรก มีความผิดพลาดหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องของหน้ากากอนามัย รวมทั้ง การท างานที่ขาดฐานข้อมูลที่แน่นอน และขาดการนำองค์ความรู้มาใช้เท่าที่ควร แต่หลังจากนั้นประชาชนเห็นว่า รัฐบาลบริหารงานมาได้ถูกทางมากขึ้น และควรมีมาตรการควบคุมต่อไป และขอบคุณคนไทยที่เอื้อเฟื้อ ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยและไม่ควรประมาท กลุ่มตัวอย่างบางส่วน ระบุว่าได้เห็นความรักสามัคคีกันช่วยเหลือกัน และต้องการให้หน่วยงานสาธารณสุขจัดท าสื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และการใช้ชีวิตในช่วงมีวิกฤต รวมทั้ง ต้องการให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ชุมชนช่วยกันดูแลชุมชนของตนเอง และขอชมเชย ตลอดจนให้ก าลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างไรก็ตาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างบางส่วน ต้องการให้รัฐมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น และประชาชนที่ยากจนจริงๆ ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา หรือต้องการให้มีการประสานงานร่วมกันมากกว่านี้ ต้องการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้ง มีหน่วยงานแนะน า ช่วยประชาชนในการเตรียมเก็บสำรองเงินสำหรับเผื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ยังไม่ต้องการให้ยกเลิกเคอร์ฟิว นอกจากนี้มีความต้องการให้มีการทำงานที่โปร่งใส ตรงไปตรงมา รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้บริหาร ส่งเสริมประชาธิปไตย และต้องการให้รัฐบาลดูแลเรื่องปากท้องของประชาชนควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพของประชาชน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |