โควิด-19 กับ New Normal ในทางจิตวิญญาณ


เพิ่มเพื่อน    

         วันวิสาขบูชาที่ผ่านมา ผมจัด “Online Talk Show Covid วิสาขบูชา” เพื่อตั้งวงสนทนาธรรมในประเด็นโควิด-19 กับผลกระทบต่อจิตวิญญาณของคนไทย

                พระอาจารย์พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) พูดถึง New Normal ในแง่จิตวิญญาณซึ่งเป็นมิติที่ยังไม่ได้พูดถึงบ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะพูดในแง่ของเศรษฐศาสตร์, การเมืองและสังคม

                เมื่อได้ตั้งวงสนทนาธรรมกันออนไลน์ผ่าน Zoom จึงได้ฟังแนววิเคราะห์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

                ประกอบกับผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาร่วมสนทนาธรรมใน “ห้องประชุมเสมือนจริง” ได้ตั้งคำถามและแสดงความเห็นร่วมด้วยแล้วจึงเป็นโอกาสของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารกันได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

                เป็นจังหวะเดียวกับที่มีปรากฏการณ์ “ฟังเทศน์, เวียนเทียน, ฟังธรรม, ฟังเทศน์โต้รุ่งจาก Facebook Live ของวัดบวรนิเวศวิหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์เช่นกัน

                ท่าน ว.วชิรเมธี ได้วิเคราะห์ New Normal ทางจิตวิญญาณจากผลของโรคระบาดโควิดได้อย่างน่าสนใจ 8 ประการว่าอย่างนี้

                ๑.วิธีคิดที่ว่า “ประเทศฉันสำคัญที่สุด” นั้น ใช้ไม่ได้แล้ว

                เพราะทุกประเทศล้วนเชื่อมโยงกัน พึ่งพาอาศัยกันทุกประเทศ

                ล้วนทรงความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

                ๒.วิธีคิดที่ว่า “ปัญหาของประเทศอื่น ไม่ใช่ปัญหาของฉัน” นั้น ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะโลกอยู่ในภาวะ “โลกาภิวัตน์” ทุกอย่างที่เกิดขึ้นที่หนึ่งที่ใดในโลก สามารถส่งผลกระทบต่อกันได้ทั้งหมด

                ๓.วิธีคิดที่ว่า “คนสีผิวหนึ่ง/สัญชาติหนึ่ง/ศาสนาหนึ่ง/อารยธรรมหนึ่ง” ดีกว่า เหนือกว่าคนในอีกสีผิว/สัญชาติ/ศาสนา/อารยธรรมหนึ่งนั้น ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมันคือที่มาของการแบ่งแยก ลดทอนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และความเกลียดชัง ที่ถูกนั้นต้องมองคนทุกคนในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

                ๔.วิธีคิดที่ว่า “มนุษย์เป็นนายเหนือสิ่งแวดล้อม” นั้น ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบ “โลกนิเวศ” ซึ่งดำรงอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ผลกระทบที่มนุษย์กระทำต่อธรรมชาติ จะย้อนกลับมาส่งผลต่อมนุษย์อย่างไม่มีทางเลี่ยง หากมนุษย์ยังคงผลิตและบริโภคในอัตราเดิม โลกจะหายนะอย่างรวดเร็ว อย่างที่เกรตา ธุนแบร์ กล่าวว่า

                “หากเรายังบริโภคเหมือนคนสวีเดน เราคงต้องใช้โลกถึง ๔ ใบ ในยุคสมัยของเรา”

                ๕.วิธีคิดที่ว่า “เงินสำคัญที่สุด” นั้น ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะในยามวิกฤติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “อาหาร-ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ และความร่วมมือระหว่างประชาคมโลก

                ๖.วิธีคิดที่ว่า “กำไรสูงสุด” นั้น ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะถ้ากำไรสูงสุด แต่ต้องแลกมาด้วยการทำลายคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การทำลายสิ่งแวดล้อม การทำลายโอกาสของคนเล็กคนน้อยในสังคม ต้องถือว่า กำไรที่ได้มามีค่าเป็นการทำลายคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจต้องมีหัวใจ ต้องสนใจความยั่งยืนของสังคม สิ่งแวดล้อม จึงจะอยู่รอด มิเช่นนั้นแล้วจะถูกต่อต้าน

                ๗.มนุษย์ยังไม่ใช่สายพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างที่เคยเชื่อกันว่า มนุษย์กำลังก้าวขึ้นมาเล่นบทพระเจ้าเสียเอง (ในหนังสือ “เซเปียนส์” ของฮาวัล ฮารารี) ไวรัสโควิดเตือนเราว่า มนุษย์ยังใหม่อยู่เสมอสำหรับโลกใบนี้ ยังมีอะไรที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้และอยู่ในโลกนี้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตนต่อไป

                ๘.ผู้นำระดับโลกที่แท้ ไม่ใช่ผู้นำประเทศมหาอำนาจ ไม่ใช่ผู้นำบรรษัทข้ามชาติ อย่างที่เคยเป็นมา แต่ผู้นำระดับโลกที่แท้ คือผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อโลกและในระดับโลก เช่น เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมออนไลน์ร่วมกับผู้นำทั่วโลกกว่า ๔๐ ประเทศ เพื่อระดมความร่วมมือในการคิดค้นวัคซีนแก้ไวรัสโควิด-๑๙ ซึ่งผลจากการประชุมเพื่อแสดงความรับผิดชอบระดับโลก

                ครั้งนี้สามารถระดมทุนได้มากกว่า ๘ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ๒.๕๙ แสนล้านบาท

                สรุปว่า Covid-19 เป็น “นาฬิกาปลุก” เตือนให้มนุษย์ต้องหันกลับมาทบทวนว่า “อัตตา” แห่งความเป็นคนนั้นไม่อาจจะช่วยฝ่าฟันปัญหาระดับโลกได้อีกต่อไป. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"