15 พ.ค.63 -นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า “โครงการ อว.สร้างงาน” ที่ได้ดำเนินการจ้างคนตกงานจากโควิด-19 ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 1 ใน 42 หน่วยงานของ อว. ที่ร่วมโครงการฯ
ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า สำหรับโครงการ อว.จ้างงาน ในส่วนของ วว. จะเป็นหน่วยที่สนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อป เน้นการส่งเสริมและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ครอบคลุมในด้านการวางแผนการผลิต การใช้เครื่องมือในการผลิต การควบคุมการผลิต การตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต โดยคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะได้รับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากผู้เชี่ยวชาญและมีการฝึกปฏิบัติงาน เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและผลไม้ เทคโนโลยีการจัดเก็บและยืดอายุผลไม้สด เทคโนโลยีด้านการสกัดสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งผลจากการดำเนินงานนี้จะก่อให้เกิดผลในระยะสั้น คือ การสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ผู้ประสบภาวะวิกฤตโควิด-19 ส่วนผลในระยะยาว เป็นการตอบโจทย์ประเทศ สร้างและเสริมทักษะแรงงานสมัยใหม่ ให้มีความพร้อมเพื่อสร้างธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่หรือเป็นผู้ประกอบการรายใหม่หลังจบวิกฤตโควิด-19
รมว.อว.กล่าวอีกว่า ในการนำร่องจ้างงานในช่วงวิกฤติโควิด-19 จำนวน 10,000 คน ซึ่งยังถือว่าน้อย สำหรับความต้องการเข้าทำงานในพื้นที่ทั้ง 42 แห่งที่กำหนดที่มากถึง 3-4 เท่า อย่างพื้นที่ของ วว. ที่มีการเปิดรับ 130 คน แต่มีผู้สมัครเข้ามาถึง 10,000 คน ซึ่งก็จะมีการขยายรับเพิ่มขึ้นในส่วนของวว. แต่หลังจากนี้โครงการในเฟสต่อไปก็มีการวางแผนที่จะขยายจำนวนจ้างคนตกงานเพิ่มเป็น 50,000 คน โดยเตรียมที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้
รมว.อว. เยี่ยมชมพื้นที่การทำงาน เพาะเชื้อเห็ด ภายในศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์
นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า ในส่วนบัณฑิตและนักศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่ม 1.บัณฑิตค้างสะสม คือหลังจากจบการศึกษาแล้วภายใน 2-3 ปี ประมาณ 5 แสนคน ที่ยังไม่มีงานทำ 2.บัณฑิตที่มีโอกาสทำงานแต่โดนเลิกจ้างงาน 3.บัณฑิตใหม่ที่จะจบการศึกษาในปี 2563 ซึ่งอาจจะมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งการดำเนินการในการช่วยเหลือจากที่วางแผนในเดือนตุลาคม 2562 สำหรับการจ้างงานจาก 50,000 คน ซึ่งกำลังพิจารณาในการนำเสนอต่อรัฐบาลจ้างงานเพิ่มเป็น 200,000 คน จำนวนอาจจะไม่ได้มาก แต่ด้วยด้วยแนวคิดที่ทุกคนที่เข้ามาทำงานต้องได้ความรู้และทักษะ นำประสบการณ์ที่ได้รับไปต่อยอดในการสร้างอาชีพ หรือ เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างสตาร์ทอัพในอนาคตได้
เยี่ยมชมพื้นที่การทำงานภายใน ICPIM
ด้าน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวเสริม หลังจากที่ได้รับมอบนโยบายและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ อว.สร้างงาน โดยได้เปิดรับบุคลากร รวมจำนวน 130 คน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ปลายเดือนเมษายน 2563) และระยะที่ 2 (ต้นเดือนพฤษภาคม 2563) ขณะนี้ได้ทำการคัดเลือกบุคลากรแล้ว และบางส่วนได้เริ่มเข้ามาปฏิบัติงาน ณ โครงสร้างพื้นฐาน วว. 7 แห่งทั่วภูมิภาค ที่โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP), ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM), ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ จ.ปทุมธานี, ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด) จ.ประจวบคีรีขันธ์, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการยืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก จ.ลำพูน, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร จ.แพร่, โรงงานสกัดระดับชุมชนและระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จ.น่าน, โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร จ.ระยอง และโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร จ.สงขลา
โดยแต่ละพื้นที่ได้มอบหมายให้นักวิจัยที่มีประสบการณ์ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้จะมีการขยายจำนวนเพิ่มเป็น 200 คน และขยายไปยังพื้นที่ของ วว.ลำตะคอง จ.นครราชสีมา และเพิ่มส่วนงานในจ.ปทุมธานี ด้วย โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ และคาดว่าจะเริ่มทำงานในเดือนกรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ อาจจะมีการพิจารณาเปิดที่พัก สำหรับบุคคลที่มีความจำเป็นและการเดินทางลำบากในลำดับต่อไป
น.ส.ศุภรัตน์ บัวบาน บัณทิตปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้เข้ามาทำงานใน ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) เล่าว่า หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโทมาได้ 2 ปี ก็เป็นช่วงที่ยังหางานทำ และประจวบกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยิ่งหางานยากมากขึ้น พอได้เห็นโครงการนี้เปิดรับสมัครก็สนใจและอยากเข้ามาหาประสบการณ์ อีกทั้งที่พักตนอยู่ใกล้กับที่ทำงาน เทียบกับเงินเดือน 9,000 บาท ก็ถือว่าคุ้มมากๆ ซึ่งส่วนงานที่ได้รับผิดชอบจะเป็นการวัดความเข้มข้น การนับเซลล์ของจุลินทรีย์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยสอนงานตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เราได้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียนมา อีกทั้งยังเป็นใบเบิกทางในการทำงานต่อยอดในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารที่ตนสนใจอีกด้วย
ด้านนางวารุณี ไชยนาพงษ์ ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในพื้นที่คลอง 6 ที่ได้รับผลกระทบจากการหางานในช่วงโควิด-19 ได้เข้ามาทำงานที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เล่าว่า ก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ทางโรงเรียนที่สอนได้ประสบกับปัญหาของเศรษฐกิจ ทำให้นักเรียนมีจำนวนลดลง โรงเรียนจึงต้องลดขนาดลง เป็นผลให้จำนวนครูลดลงด้วย ต่อมาทางโรงเรียนก็มีนโยบายในการจ้างออก ซึ่งตนก็คือหนึ่งในนั้น ซึ่งเป็นช่วงเดือนมีนาคม ตรงกับสถานการณ์โควิด-19 พอดี ทำให้การหายากขึ้น แต่ยังดีที่ได้ไปเจอกับโครงการ อว.สร้างงาน ซึ่งตนก็ได้เข้ามาทำงานในส่วนของการเพาะเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ้าง ก็มีเจ้าหน้าคอยสอนและอธิบายความรู้ต่างๆให้เข้าใจ และที่บ้านแฟนก็ทำงานเกี่ยวกับเห็ด ซึ่งอาจตะไปต่อยอดเป็นอาชีพ และความรู้ตรงนี้ยังต่อยอดนำไปสอนเด็กๆได้ ทำให้ตนยังมีรายได้อาจจะไม่เท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำงาน เพราะก็มีรายจ่ายที่ต้องรับชอบ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |