ยุติธรรมมุกดาหารยื่นอัยการขอสืบพยานล่วงหน้า คดีแก๊งครูโฉดรุมโทรมนักเรียน ป้องกันข่มขู่วิ่งเต้น


เพิ่มเพื่อน    

14 พ.ค.63 - นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบายข้อกฎหมายในคดีครูและศิษย์เก่าร่วมกันล่วงละเมิดทางเพศเด็กหญิงนักเรียนชั้น ม.2 และ ม.4 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร เกี่ยวกับการสืบพยานล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ ประกอบ 172 ตรี ว่า คดีนี้ตนได้รับเเจ้งจากนายธีระศักดิ์ พลอยเพชร อัยการจังหวัดมุกดาหาร ว่าคดีนี้ทางสำนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร ได้มอบหมายให้มีอัยการไปร่วมสอบสวนปากคำผู้เสียหาย เนื่องจากผู้เสียหายในคดีนี้เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งการสอบปากคำจะต้องกระทำต่อหน้าพนักงานอัยการ, นักจิตวิทยา, นักสังคมสงเคราะห์ และผู้ที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเยาวชนไว้ใจ กับพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ส่วนเรื่องการสืบพยานล่วงหน้านั้น ทางยุติธรรมจังหวัดมุกดาหารได้มีการประสานเบื้องต้นมายังอัยการจังหวัดมุกดาหารเรียบร้อยแล้ว ว่าจะมีการยื่นคำขอให้อัยการยื่นศาลขอสืบพยานล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อพนักงานอัยการได้รับคำร้องจากพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหายขอให้สืบพยานล่วงหน้าก่อนที่จะมีการฟ้องคดี อัยการก็จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าเข้าเงื่อนไขที่จะยื่นขอศาลสืบพยานล่วงหน้าหรือไม่

หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 237 ทวิ มีอยู่ 5 ข้อ คือ 1.พยานจะเดินทางไปต่างประเทศ เช่นกรณีที่พยานเป็นนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างประเทศที่จะเดินทางกลับประเทศ  2.พยานมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง

3.พยานซึ่งมีที่อยู่ไกลจากศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี ซึ่งในปัจจุบันกรณีเเบบนี้จะไม่เป็นปัญหาเพราะจะมีวิธีการสืบพยานผ่านจอภาพได้ แต่กฎหมายยังเขียนไว้อยู่

4.กรณีที่พยานที่จะนำเข้าสืบจะเป็นการยากที่จะนำเข้าสืบภายหลังหากมีการฟ้องคดี ยกตัวอย่างเช่น พยานที่เห็นเหตุการณ์เป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง ซึ่งอาจจะไม่สามารถเบิกความได้ หรือเสียชีวิตก่อนหากมีการฟ้องคดีในภายหลัง

5.กรณีที่หากไม่นำพยานเข้าสืบพยานอาจจะถูกยุ่งเหยิงจากผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่นกรณีครู, อาจารย์ ตกเป็นผู้ต้องหาข่มขืนลูกศิษย์ ได้รับการประกันตัว มีโอกาสที่จะไปข่มขู่หรือวิ่งเต้นกับผู้เสียหายหรือคนในชุมชน กรณีอย่างนี้จึงต้องรีบสืบพยานไว้ล่วงหน้า โดยกรณีที่เข้าหลักเกณฑ์ 1 ใน 5 ข้อนี้ สามารถให้อัยการยื่นศาลขอสืบพยานล่วงหน้าได้

ในทางปฏิบัติหากอัยการได้รับคำร้องจากพนักงานสอบสวน, ผู้เสียหาย และเข้าเกณฑ์เงื่อนไขการสืบพยานล่วงหน้า ทางพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องต่อศาลในท้องที่ที่เกิดเหตุ โดยระบุรายละเอียดการกล่าวหาอย่างย่อให้ศาลได้ทราบ เเละอ้างเหตุตามกฎหมาย 1 ใน 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเข้าเงื่อนไข กฎหมายเขียนไว้ว่าศาลจะต้องสั่งสืบพยานล่วงหน้าทันที

ซึ่งในกรณีที่มีผู้ต้องหา ศาลจะสอบถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีทนายความ ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งทนายความให้ เพื่อให้มีทนายความคอยซักค้านในการสืบพยานล่วงหน้าไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน แต่ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถตั้งทนายความได้ทัน กฎหมายก็ให้อำนาจศาลในการถามพยานแทนผู้ต้องหาได้ด้วย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย เมื่อสืบพยานล่วงหน้าเสร็จสิ้น ศาลก็จะอ่านผลการสืบพยานให้ผู้ต้องหาได้ทราบ หากมีการยื่นฟ้องภายหลังก็จะนำสิ่งที่สืบพยานไว้ล่วงหน้ามาร่วมพิจารณาได้ แต่หากสั่งไม่ฟ้องที่สืบล่วงหน้าไว้ก็ให้ทิ้งไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"