14 พ.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้าทางยกระดับทางหลวงหมายเลข35สายธนบุรี- ปากท่อ(ถนนพระราม2) ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย ว่าถนนพระราม2ที่ได้มีการก่อสร้างใช้ระยะเวลายาวนานซึ่งจะใช้เวลาภายในปีนี้ ขณะนี้โครงการได้แบ่งเป็น3 ตอน ได้แก่ตอนที่ 1.กม.10+000 - กม.17+400 ก่อสร้างผิวทางแล้วเสร็จ ภายในเดือน พ.ค.63 ตอนที่ 2.กม.17+400 - กม.20+400 ก่อสร้างปูผิวและตีเส้นจราจรเสร็จแล้ว และตอนที่ 3.กม.20+400 - กม.21+500 ก่อสร้างผิวทางแล้วเสร็จ ภายในเดือน ก.ค.63
อย่างไรก็ตามซึ่งนำมาสู่การดำเนินโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กพท.) เมื่อกรมทางหลวงมีความก้าวหน้าในการก่อสร้างผิวทางของถนนพระราม2 เมื่อแล้วเสร็จจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการ เพื่อสามารถที่จะเดินทางไป-กลับจากกรุงเทพฯไปยังภาคใต้ได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามจากการประชุมติดตามงานพบว่า มีระยะเวลาในการดำเนินงานในการบูรณาการเพื่อเริ่มโครงการพิเศษสายพระราม1-ดาวคะนองฯ
สำหรับโครงการทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนองฯ ประกอบด้วย5สัญญา ได้แก่สัญญาที่ 1 (งานโยธา)อยู่ระหว่างประกาศผู้ชนะการประกวดราคา,สัญญาที่ 2(งานโยธา)ลงนามในสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 NTP เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2563,สัญญาที่ 3 (งานโยธา)เป็นการก่อสร้างต่อจากสัญาที่2ระยะทางประมาณ13กม.ขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทรณ์ ซึ้งไม่เกินเดือนมิ.ย.นี้ จะทราบผล,สัญญาที่ 4 (งานโยธา)ผู้รับจ้างเริ่มปฏิบัติงานตั้งต่วันที่ 16 มค. 63 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างสะพานกลับรถยกระดับ และสัญญาที่ 5(งานระบบเก็บค่ผ่านทางระบบควบคุมการจราจรและระบบสื่อสาร)เนื่องจากมีการปรับปรุงแบบรูปรายการงานก่อสร้างและเอกสารการประกวดราคาให้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางเป็นแบบไม่มีไม้กั้นบริเวณตู้เก็บค่ผ่านทางปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการประกวดราคาอีกครั้ง
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายในการดำเนินการเรื่องการก่อสร้างถนนทางยกระดับพระราม3ดาวคะนองฯของกพท.จะต้องไม่มีปัญหาเรื่องที่จะทำให้การจราจรติดขัด โดยได้ให้สำนักงานนโยบายการขนส่งและจราจร(สนข.)ไปบูรณาการร่วมกับกรมทางหลวง(ทล.)และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) โดยจะต้องดำเนินการดังนี้ 1.ปิดผิวจราจรเฉพาะที่มีการก่อสร้างจำเป็นเท่านั้น 2.ทำแลมป์ช่วงแรก หากก่อสร้างต่อไป อาจจะมีปัญหาในการตอกเสาเข็มและการหล่อตอมอ โดยจะแยกการบริหาร โดยแยกเป็น5มิติ ได้แก่1.มิติการออกแบบของโครงสร้างทางยกระดับที่มีความสอดคล้องกัน โดยใช้ Precast Box Segment เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนจะทับซ้อนกันระหว่างโครงการของ ทล.และ กทพ.
2.มิติประชาสัมพันธ์ผู้ใช้ทางผ่านสื่อทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ แผ่นพับ Social Media เพื่อช่วยประชาชนตัดสินใจก่อนเดินทาง โดย กทพ.และ ทล.จะติดตั้งกล้อง CCTV อย่างถาวร พร้อมทั้งติดตั้งป้ายไฟเป็นระยะอธิบายทางข้างหน้า และตั้งป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายบอกสิ่งต่างๆ เป็นระยะทางล่วงหน้าอย่างน้อย 1 กิโลเมตร (กม.) นอกจากนี้ จะจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก โดยขอให้ผู้ใช้ทางโหลดแอปพลิเคชั่น EXAT PORTAL และ HIGHWAY TRAFFIC
3.มิติการบริหารงานจราจรจากการก่อสร้างให้กระทบน้อยที่สุด โดยไห้ผู้รับจ้างจัดส่งแผนให้ กทพ. พิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการก่อสร้าง
4.มิติการบริหารกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด โดยจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2563 และจะเสร็จสิ้นในปี 2566 ซึ่งต้องรายงานให้กระทรวงคมนาคมรับทราบทุกเดือน เพื่อให้ทราบว่ามีปัญหาอุปสรรคหรือไม่
5.มิติการบริหารพื้นที่ร่วมการก่อสร้าง โดย ทล.และ กทพ.จะไม่เข้าทำงานพร้อมกันในบริเวณที่มีพื้นที่ทับซ้อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการปิดพื้นที่มาก และมีเครื่องจักรจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินโครงการก่อสร้างทางด่วนพระราม3บนถนนพระราม2ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาจราจรได้ ไม่มีปัญหาการจราจรติดขัด หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการเดินทางประชาชนสามารถแจ้งมาที่กระทรวงคมนาคมได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |