นายพรพล เอกอรรถพร ผู้
หลังการแต่งตั้งนายพรพล เอกอรรถพร ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศตามมติ ครม. โดยมีวาระ 4 ปีนั้น ทางศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จัดกิจกรรมสัมภาษณ์พิเศษ ผอ. SACICT คนใหม่เปิดใจถึงความมุ่งมั่นสืบสาน รักษา และต่อยอดงานศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และงานศิลปหัตถกรรมไทยภายใต้วิสัยทัศน์ “SACICT คุณค่าความเป็นไทย” พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับภารกิจและทิศทางการดำเนินงานผลักดันงานศิลปหัตถกรรมไทยสู่โลกยุคใหม่ รวมถึงแผนเร่งด่วนกู้วิกฤตการณ์ชุมชนหัตถกรรมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และแผนรองรับหลังโควิดคลี่คลาย ณ ห้องสมุดศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวานนี้
ผู้อำนวยการ SACICT กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศมีหน้าที่อนุรักษ์ สืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นต่างๆ จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ทุกมิติ นำมาสู่ความภาคภูมิใจในคุณค่าความเป็นไทยที่สั่งสมและสืบทอดทักษะเชิงช่างภูมิปัญญาผ่านงานศิลปหัตถกรรมตามแนวทางศิลปาชีพ รวมถึงงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นผ่านทางครูศิลปาชีพ สมาชิกศิลปาชีพ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม และสมาชิกผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรม โดยนำมาผนวกกับนวัตกรรมและเทคโนฯ เกิดเป็นผลงานหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าความเป็นไทย มีมาตรฐานในระดับสากล โดย SACICT ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาผู้สร้างงานหัตถกรรมไทยผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาด้านการตลาดอย่างบูรณาการ เพื่อจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในคุณค่าความเป็นไทย ทำให้คนไทยและประชาคมโลกได้สัมผัสและซาบซึ้งในคุณค่าความเป็นไทยนี้
เปิดวิสัยทัศน์ผู้อำนวยการ SA
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ SACICTชูกลยุทธ์การสื่อสารคุณค่าความเป็นไทยผ่านงานหัตถศิลป์ใน 5 มิติ เพื่อสร้างตลาดในประเทศกลับคืนมา ช่วยเพิ่มยอดขายหัตถกรรมไทย นอกจากตลาดใหญ่ในต่างประเทศ ประกอบด้วยคุณค่าในงานศิลปาชีพเพื่อให้ชาวบ้านทั่วประเทศได้มีอาชีพและรายได้จากการทำงานหัตถกรรมพื้นบ้านเลี้ยงตนเองและครอบครัว ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยกระจายรายได้แก่เศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่ ในการเป็นศูนย์กลางรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้งานศิลปาชีพบนฐานข้อมูล Archive ถัดมาคุณค่าในความเป็นไทยที่ภาคภูมิ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว นำมาสู่ค่านิยมและการสร้างกระแสการใช้ของไทยให้เกิดขึ้นในสังคมไทยและคนรุ่นใหม่สนับสนุนสินค้าหัตถกรรมไทย
ผอ. SACICT กล่าวต่อว่า อีกคุณค่าที่ต้องสื่อสารคุณค่าของมาตรฐานเป็นเลิศสู่เวทีโลก ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานที่ดีงดงาม และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยกระดับผู้สร้างสรรค์ชิ้นงาน ว่าจำเป็นต้องรักษามาตรฐานของตนเองให้คงที่ และพัฒนาตนเอง สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันและสร้างตลาดในต่างประเทศได้ ถัดมาคุณค่าแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยีสร้างสรรค์ใหม่ๆ มีส่วนช่วยในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด ให้กลายเป็นผู้ประกอบการงานหัตถศิลป์ซึ่งก้าวทันโลก พัฒนาวงการหัตถศิลป์ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล ควบคู่คุณค่าของสังคมไทยที่เติบโตอย่างยั่งยืน งานหัตถศิลป์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ ทำให้สังคมไทยมีความสุข ผู้บริโภคสามารถแบ่งปัน สนับสนุนชาวบ้านจากการอุดหนุน ซื้อ ใช้ ขณะเดียวกันชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้จากอาชีพงานศิลปหัตถกรรม ไม่ต้องเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองใหญ่ ส่งผลให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง
งานหัตถกรรมไทยผนวกการสร้
ช่วงที่ชาวบ้านเผชิญกับโควิด-19 ไม่สามารถรวมกลุ่มทำงานและขายผลิตภัณฑ์ได้น้อยลง ผู้อำนวยการ SACICT บอกว่า โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมงานศิลปหัตถกรรมไทย พบว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์หัตถกรรมช่วงไตรมาสแรกลดลงถึงร้อยละ 66.79 เทียบกับปีที่ผ่านมา อีกทั้งการบริโภคภายในประเทศลดลง เพราะผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น กระทบต่อผู้ผลิตงานหัตถกรรมทั้งชาวบ้านและชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการ
“ SACICT วางแผนช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนเพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤติ โดยเร่งประสานชุมชนต่างๆ นำจุดแข็งที่มีทั้งด้านองค์ความรู้ ภูมิปัญญางานหัตถกรรม วัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตสินค้าหน้ากากทางเลือกเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ในสถานการณ์โควิดเกิดโครงการ “หน้ากากจากหัวใจชุมชน” นำผ้าฝ้ายจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ มาเป็นวัตถุดิบออกแบบตัดเย็บร่วมกับผ้าพื้นถิ่นในชุมชนหัตถกรรมที่มีครูทายาทหรือสมาชิกของ SACICT เป็นศูนย์กลาง ทำไปแล้วกว่า 10 ชุมชน อาทิ ชุมชนหัตถกรรมหนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ, ชุมชนบ้านหัวฝาย จ.ขอนแก่น, ชุมชนหัตถกรรมบ้านดอนยายเหม จ.สุพรรณบุรี, ดาหลาบาติก จ.กระบี่ และชุมชนบาราโหม จ.ปัตตานี เป็นต้น ขณะนี้เร่งขยายไปยังชุมชนหัตถกรรมทั่วประเทศ โครงการนี้เห็นถึงคุณค่าหัตถศิลป์ไทย สร้างรายได้ที่มั่นคง ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตยามยาก และสามารถประกอบเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้ " นายพรพลกล่าว
"หน้ากากจากหัวใจชุมชน" สู้วิกฤตโควิด ผลิตจากผ้าฝ้ายศิลปาชีพ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน-ชุมชนหัตถกรรม
หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ผอ. SACICT เผยว่า มีแผนรองรับช่วยเหลือต่อเนื่องผ่านการจัดงานหัตถกรรมระดับประเทศในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้งเดินหน้าส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนหัตถกรรมในพื้นที่ต่างๆ ให้คนมาเรียนรู้การทำงานศิลปหัตถกรรมผ่านการท่องเที่ยวควบคู่การอบรมงานหัตถกรรมให้ชาวบ้านผ่าน SACICT Application รวมถึงผลักดันให้ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล อีกนโยบายสำคัญจะสร้างความนิยมผ้าไทยในกลุ่มคนรุ่นใหม่เจน X เจน Y ผ่านการจัดการประกวดระดับนานาชาติ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ ผลักดันสินค้า GI เรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรต่างๆ รวมทั้งการหาตลาดใหม่ๆ เช่น ตลาดต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ตลาดในกลุ่มนักสะสม เปลี่ยนงานศิลปหัตถกรรมทั่วไปให้เป็นชิ้นงานระดับมาสเตอร์พีซ โดยไม่ละทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย
หัตถศิลป์ไทยที่ศักดิ์สิทธิ์
ยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ผอ. SACICT มองว่าเป็นโอกาสของงานศิลปหัตถกรรมไทย งานคราฟต์จะอินเทรนด์ ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามชีวิตวิถีใหม่ เพราะประชาชนเป็นศูนย์กลาง หน่วยธุรกิจของชุมชนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น สอดรับกับกำลังซื้อภายในประเทศ มีบทบาทและความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีการพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตและการนำเข้าสินค้า หรือวัตถุดิบจากต่างประเทศหยุดชะงักลง พฤติกรรมผู้บริโภคในความปกติใหม่นี้เอื้อให้ตลาดของงานศิลปหัตถกรรมเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ผู้อำนวยการ SACICT กล่าวว่า ผู้คนหันมาทำงานหัตถกรรมเพิ่มมากขึ้นช่วงอยู่บ้านในสถานการณ์โควิด มีเวลาได้ทดลอง เรียนรู้การทำงานคราฟต์ต่างๆ ประกอบกับภาวะความเครียด กังวลใจจากการแพร่ระบาดไวรัส ผู้คนพบว่างานศิลปหัตถกรรมสามารถช่วยบำบัดความเครียด ความเหงา ช่วยผ่อนคลายจิตใจได้ ทำให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่องจนเป็นวิถีใหม่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่าน E-Commerce Platform
อย่างไรก็ดี การเพิ่มทักษะหัตถกรรมแก่ผู้ที่สนใจทำได้ง่ายและกว้างขวางขึ้นผ่านเทคโนโลยี E-Learning เกิดการเรียนรู้หัตถกรรมไทยได้ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันมี SACICT Application เพื่อก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งการเชื่อมโยงตลาดหัตถกรรมสู่ตลาดโลกได้อย่างไร้รอยต่อ SACICT ได้จับมือกับพันธมิตรแสวงหาตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทำงานด้านการตลาดเชิงรุกผ่านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่าน E-Commerce Platform ตั้งแต่วัตถุดิบการผลิต Logistic และจำหน่ายซื้อขาย Distribute ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและหัตถกรรมไทย จากนี้รูปแบบการออกบูธจำหน่ายสินค้าจะลดความสำคัญลง
ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการ SACICT เห็นว่าเป็นโอกาสพัฒนาผู้ประกอบการเพิ่มทักษะและขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้เป็น Smart Crafts SMEs หรือผู้ประกอบการงานคราฟต์อัจฉริยะ ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานหัตถศิลป์ เพื่อทุ่นแรง ลดต้นทุน และการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ SACICT จะเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของผ้าไทย โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการพัฒนาผ้าไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ โดยการเคลือบนาโน ช่วยไม่ให้ยับง่าย สามารถซักรีดธรรมดาได้ ไม่ต้องส่งซักแห้ง มีกลิ่นหอมเมื่อตากแดด จะทำให้คุณสมบัติของผ้าไหมใช้งานได้นานยิ่งขึ้น นอกจากรักษาคุณค่าความเป็นไทย ยังจะช่วยยกระดับหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับโลกด้วย
SACICT หนุนการพัฒนารูปแบบศิลปหัตถกรรมไทย ยกระดับสู่ตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม SACICT ในฐานะผู้นำการขับเคลื่อนและเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมศิลปหัตถกรรมไทย ก็ต้องปรับองค์กรสู่อนาคตด้วย ผอ.พรพลตั้งใจจะทำให้องค์กรนี้ทันสมัย ยกระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรให้ก้าวทันโลก เพื่อให้ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศสามารถเป็นที่พึ่งชาวบ้าน และชุมชนได้นำคุณค่าความเป็นไทยสู่เวทีหัตถกรรมโลกอย่างแท้จริง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |