การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทั่วทุกย่อมหญ้า ธุรกิจน้อยใหญ่รับกันไปเต็มๆ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีทิศทางที่ผ่อนคลายลง จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงเริ่มผ่อนปรนมาตรการในบางพื้นที่ เพื่อให้ธุรกิจบางประเภทกลับมาเปิดบริการได้อีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนให้มีการเปิดทำการเป็นกลุ่มแรกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ได้แก่ ร้านอาหารที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า อาทิ ร้านอาหารทั่วไป ร้านอาหารริมทาง รถเข็น รวมถึงสวนอาหารต่างๆ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารในกลุ่มดังกล่าวมีจำนวนมากราย และเป็นธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ที่มีเงินทุนและเงินหมุนเวียนที่จำกัด ส่วนกลุ่มอื่นๆ นั้นยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้จะมีการผ่อนปรนมาตรการบางส่วน แต่บรรยากาศการกลับเข้ามานั่งรับประทานอาหารในร้านน่าจะยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีความกังวล จึงน่าที่จะหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มในที่สาธารณะ และอาจยังคงสั่งอาหารมารับประทานในที่พักมากยิ่งขึ้น จึงยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันธุรกิจร้านอาหารในช่วงที่เหลือของปีนี้
เพราะธุรกิจร้านอาหารยังต้องเผชิญข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย ที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวหลังการระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นไป โดยเฉพาะปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอันเป็นผลจากการที่ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องปิดตัวลงชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังความเชื่อมั่นในการมีงานและกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ทำให้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคจะมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย รวมถึงการชะลอตัวในภาคการท่องเที่ยวจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและไทยที่ลดลงอย่างหนัก
ดังนั้น จึงน่าจะกดให้ธุรกิจร้านอาหารในปี 63 มีมูลค่าธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 3.85-3.89 แสนล้านบาท หรือหดตัว 9.7%-10.6% จากปีที่ผ่านมา และถือเป็นการพลิกกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 ปี
และที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ หลังโควิด-19 สภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป ผู้ประกอบการร้านอาหารเองยังต้องเจอโจทย์ที่ท้าทายที่ต้องปรับตัว นอกจากผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นแล้ว ด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคก็จะหลีกเลี่ยงหรือลดการทำกิจกรรมพบปะสังสรรค์ออกไปอีกระยะ ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปคุ้นชินกับการใช้บริการออนไลน์และบริการจัดส่งถึงที่พัก (Delivery) มากขึ้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารปรับตัวสู่บรรทัดฐานใหม่ “นิว นอร์มอล” (New Normal) หรือ "ความปกติในรูปแบบใหม่" ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะร้านอาหารเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurant) ร้านอาหารที่มีบริการจำกัด ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ และสวนอาหารประเภทต่างๆ เนื่องจากร้านอาหารเหล่านี้ยังมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายสูง ทั้งในฝั่งของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนแฝง อย่างค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ทำความสะอาด
อย่างไรก็ตาม จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังได้หนุนให้บางธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (E-commerce) กันมากขึ้น ซึ่งทางนอสตร้า โลจิสติกส์ ได้ระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดสั่งสินค้าออนไลน์ในประเทศโตสวนกระแสถึง 80% ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคหลีกเลี่ยงแหล่งช็อปปิ้งแออัด หันไปเลือกสั่งสินค้าออนไลน์ ดังนั้นธุรกิจขนส่งต้องเตรียมพร้อมรับมือใช้เทคโนโลยีจัดการและติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของการค้าออนไลน์ ทำให้ธุรกิจการขนส่งเดลิเวอรีมีการแข่งขันรุนแรง เพราะมีผู้ประกอบการกระโดดลงมาเล่นในสนามอย่างมากมาย โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายรายที่เข้ามาบุกตลาดในประเทศไทย และด้วยทุนและเทคโนโลยี่ที่จัดเต็มลงมาเล่นในตลาด ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งไทยต้องปรับตัวเองเพื่อรับมือ อย่างเช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) รัฐวิสาหกิจกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วว่าคุณภาพการบริการเป็นอย่างไร
ดังนั้น ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการดำเนินชีวิตในรูปแบบ "ความปกติในรูปแบบใหม่" และสิ่งสำคัญของการทำธุกิจนี้คือการบริการ มีการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยคุณภาพการบริการที่ดีมีมาตรฐาน และสะดวกรวดเร็ว หากยังคงคุณภาพบริการแบบเดิมสุดท้ายก็คงต้องจบแบบรัฐวิสาหกิจหลายๆ แห่งที่ต้องปิดตัว เพราะไม่ยอมรับกับการเปลี่ยแปลง.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |