'ปลัดสปน.' ขานรับนโยบายนายกฯ จี้หน่วยงานราชการทำงานที่บ้านให้มากขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

13 พ.ค.63 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีและครม.เห็นชอบเรื่องการทำงานเหลื่อมเวลาของข้าราชการให้มีมากขึ้น เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ในส่วนของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กำลังพิจารณา 3 ช่วงเวลา คือ 07.30 น. , 08.30 น. , 09.30 น. และบวกไป 8 ชม. ซึ่งข้าราชการในส่วนของ สปน.กว่า 700 คนนั้น จะดำเนินการทำงานเหลื่อมเวลาได้อย่างไรบ้าง โดยให้ยึดตามความเหมาะสมและความจำเป็น แต่ในส่วนของระบบงานต่างๆที่ต่อเนื่องมาที่ได้ทดลองใช้ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่างานในส่วนต่างๆสามารถเดินหน้าไปได้

นายธีรภัทร กล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น ได้มีการหารือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ผลการทำงานที่บ้านหรือที่เรียกว่าเวิร์คฟอร์มโฮม และการทำงานเหลื่อมเวลา ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้มานำเสนอต่อเนื่องมาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้หารือกัน ซึ่งนายวิษณุยังได้สั่งการให้ครอบคลุมไปถึงหน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวางแนวทาง การทำงานในอนาคตของการพัฒนาระบบราชการไทย

ปลัดสำนักนายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายทุกส่วนราชการดำเนินการจัดเรื่องเหลื่อมเวลาเนื่องจากมีผลต่อเนื่องหลายเรื่องทั้งเรื่องการป้องกันการระบาดโควิด-19 เรื่องการจราจรและการบริการประชาชน นายกฯให้นำข้อมูลต่างๆ ที่มีการประเมินในช่วงเวลาที่ผ่านมาไปวางแผนเพื่ออนาคต ตอนนี้เรื่องเวิร์คฟอร์มโฮมที่ครม.สั่งการขอให้ได้ 50:50 ซึ่งก.พ. ได้รายงานค่าเฉลี่ยเบื้องต้นก็ปฏิบัติได้ 50:50 แล้ว แต่จะมีบางหน่วยงานที่จะเวิร์คฟอร์มโฮมไม่ได้ 100% เช่น ฝ่ายความมั่นคง งานด้านสาธารณสุข การบริการประชาชน ซึ่งในส่วนดังกล่าวยังคงไว้เนื่องจากจำเป็นแต่ในส่วนอื่นนายกรัฐมนตรีขอให้ไปลองปรับดู เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและการทำงานสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้และประชาชนยังได้ประโยชน์

ปลัดสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้ร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สปน.ทำเนียบรัฐบาล 1111 นั้นสปน. ได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีได้รับทราบในทุกมิติเพื่อสั่งการให้ดำเนินมาตรการรองรับและทำการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ไม่ว่าจะเป็นระยะที่หนึ่ง สอง สาม รวมถึงการนำมาเป็นข้อมูลข้อเสนอแนะในการผ่อนปรน ผ่อนคลาย กิจการและกิจกรรมต่างๆด้วย สปน. ทำงานส่วนนี้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ และยังมีหลายหน่วยงานที่เปิดสายด่วนให้โทรเข้ามาร้องเรียน เช่น ศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวงมหาดไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ความมั่นคงทหาร

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากปลดล็อคเฟสแรกแล้วสายด่วน 1111 ได้รับแจ้งกรณีที่กิจกรรมหรือกิจการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดจำนวนมากหรือไม่ ปลัดสปน. กล่าวว่า มีอยู่ ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาก็ได้ส่งไปให้ฝ่ายความมั่นคงไปติดตามต่อ เช่น แจ้งว่ากิจการนั้นๆ ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องช่วยกันพูดและแนะนำเพื่อไม่ให้เกิดแคลงใจกัน และถ้าทางส่วนราชการไปเตือนแล้วผู้ประกอบการไม่ดำเนินการตามก็คงต้องถูกปิดกิจการ

นายธีรภัทร กล่าวว่า สำหรับเรื่องร้องเรียนที่มีเข้ามาสูงที่สุดยังคงเป็น เรื่องการช่วยเหลือ เยียวยา ความเดือดร้อนของประชาชน 5,000 บาท ซึ่งคิดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้น่าจะเบาลง เพราะทางกระทรวงการคลังสามารถดำเนินการโอนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้แล้ว และในส่วนของเกษตรกรก็กำลังจะได้รับตามมา และในช่วง 3-4 วันข้างหน้านี้ กระทรวงการคลังยังคงเปิดรับข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ ที่กรมประชาสัมพันธ์ด้วย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ศูนย์1111ไปร่วมประสานงานอยู่แล้ว

"ขอฝากว่า ประชาชนทั่วไปที่อยู่ต่างจังหวัดนั้นไม่ต้องเดินทางเข้ามาถึงในกรุงเทพฯ เพราะขณะนี้การร้องเรียนทุกเรื่องและความช่วยเหลือต่างๆนั้นสามารถดำเนินการได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมของทุกจังหวัด ที่ศาลากลางจังหวัด รวมถึงด้านการเกษตรที่เกษตรกรสามารถร้องได้ทั้งที่ศูนย์ดำรงธรรม และที่เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล ได้ จะได้ไม่ต้องเข้ามาในส่วนกลาง"ปลัดสำนักนายกฯระบุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"