เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากการลงทุนวิจัยพัฒนาและการประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
นอกจากบทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์แล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมเคมี (chemical-based industry) เป็นอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (bio-based industry) เพื่อเพิ่มผลผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้กระบวนการผลิตที่ผลิตหลายผลิตภัณฑ์ได้ภายในกระบวนการเดียว ปัจจุบันประเทศต่างๆมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การระบาดใหญ่ครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โรค COVID-19 สร้างผลกระทบมหาศาลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมดำเนินการต่อไป เพื่อเตรียมรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคตคือ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนด้านวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ก่อตั้งโรงงานวัคซีนที่พร้อมจะขยายขนาดในระดับอุตสาหกรรม และห้องปฏิบัติการทดสอบวัคซีนในสัตว์ทดลองที่มีความปลอดภัยสูง, งานวิจัยและพัฒนาด้านโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัดมาก โดยเฉพาะงานวิจัยพื้นฐานที่จะช่วยให้เราเข้าใจเชื้อไวรัสมากขึ้น รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญหลายด้านยังมีไม่เพียงพอ และขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม ส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยที่ควรสนับสนุน ได้แก่
1. โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านชีวภาพ ศูนย์ความเป็นเลิศไวรัสวิทยา อุทยานเทคโนโลยีชีวภาพระดับประเทศ โรงงานต้นแบบ เป็นต้น
2. ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวภาพ มาตรการสนับสนุนเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจชีวภาพ โดยส่งเสริมให้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ PPP
3. การสร้างและพัฒนาคนด้านเทคโนโลยี่ชีวภาพ และด้านสาขาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เช่น นักวิจัยมืออาชีพ นักบริหารจัดการธุรกิจชีวภาพ นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนักวิจัยท้องถิ่น เป็นต้น
4. การปรับปรุงนโยบายและกฏระเบียบ เช่น นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพระยะเร่งด่วน กฎระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ใช้ได้จริง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยมีการพัฒนามากขึ้น แต่ทุนความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพของไทย และปัจจัยเอื้อต่างๆ เช่น กลไกทางการเงิน การคลัง ระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา กฎระเบียบและมาตรฐาน ยังไม่คล่องตัวและไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะส่งเสริมให้มีนักวิจัยสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่ และเพียงพอต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ วิถีชีวิตหลังการระบาด เป็นต้น
ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบสำหรับเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพในหลายด้าน ทั้งความเข้มแข็งด้านการศึกษาและการวิจัยด้านชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical Science) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จึงเป็นจุดแข็งในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยให้ไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพ ทั้งผลิตภัณฑ์ประเภท ผลิตภัณฑ์สมุนไพร Functional Food ชีวเวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ Active Pharmaceutical Ingredients (API) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งนอกจากเป็นการลดการนำเข้าของผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และสุขภาพแล้ว ยังเป็นการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้ โดยเฉพาะ
-ให้ความสำคัญกับการเร่งรัดพัฒนาชุดตรวจทางการแพทย์ ให้ตรวจได้หลายๆ โรคพร้อมกัน มีการใช้งานง่าย ในราคาที่สมเหตุสมผล รวมไปถึงการพัฒนาชุดตรวจในระดับพันธุกรรม และโรคเขตร้อน
-ให้ความสำคัญกับการสร้างเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับบริษัทต่างชาติและการดึงดูด การลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาได้ตลอดทั้งสายโซ่การผลิตในระยะเวลาอันรวดเร็ว
-ให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการพัฒนาวัคซีนพื้นฐานที่สำคัญของประเทศรวมถึงการสร้างโรงงานต้นแบบ การผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม
-ให้ความสำคัญกับอาหารเสริมสุขภาพจากสมุนไพรไทย การส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ตลอดจน การพัฒนากระบวนการผลิต วัตถุดิบเพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญในปริมาณมากและสม่ำเสมอ รวมถึงการผลิตในปริมาณมากและต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี
ผลของการการพัฒนาจะช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากการผลิตสินค้าที่เน้นจากการผลิตสินค้า ปริมาณมากๆ ราคาถูก ไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าสูงและราคาสูง รวมทั้งยกระดับขั้นของนวัตกรรมที่สูงขึ้น เป็นการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์และยา สุขภาพของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้ายา อาหารเสริมสุขภาพเป็นจำนวนมาก และลดการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตยา อาหารเสริม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10-20 และเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารเสริมสุขภาพของอาเซียน รวมทั้งมีความสามารถในการผลิตวัคซีนพื้นฐานเภสัชภัณฑ์และชุดตรวจทางการแพทย์ได้มากขึ้น
ช่วง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” สิ่งสำคัญคือ ‘การมีระยะห่างทางสังคม ( Socials หรือ physical distancing) การใส่หน้ากากอนามัย จะมีความสำคัญมาก เนื่องจากจะเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อจากตัวเราไปสู่คนอื่นและสิ่งแวดล้อมได้ การล้างมือบ่อยๆ ยังมีความจำเป็น และถ้าเรากลายเป็นผู้ป่วย COVID-19 ขอให้ตั้งสติเข้าใจว่า มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยสามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัสใดๆ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน
ดร.ภก.ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ
เลขาธิการ กลุ่มเทคโนโลยี่ชีวภาพ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |