เชิญชวนรีบฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อนหน้าฝน ย้ำไม่ป้องกันโควิด แต่ลดแออัดรพ.แยกแยะผู้ป่วยออกจากโควิด


เพิ่มเพื่อน    



12 พ.ค.63- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)  ร่วมกับ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนพ. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เสวนาผ่าน Facebook Live ในหัวข้อ "วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทางรอดใหม่จากโควิด-19" พบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ เพราะเชื้อไวรัสคนละกลุ่ม แต่มีอาการคล้ายกัน ทั้งนี้เพื่อลดกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ไม่สับสนผู้ป่วยโควิด-19  

ศ.นพ.ยง   กล่าวว่า  ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไข้หวัดใหญ่กับไวรัสโควิด-19  เป็นเชื้อไวรัสคนละกลุ่ม ไม่มีความเกี่ยวโยงกัน จึงไม่สามารถที่จะใช้ภูมิคุ้มกันของไข้หวัดใหญ่ไปป้องกันโควิด-19 ได้ และการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ได้ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดอื่นเพิ่มขึ้น หรือโควิด-19  อย่างที่แชร์ในโซเชียล  แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จะช่วยในกรณีช่วงฤดูฝน ในการลดความเสี่ยงการเป็นไข้หวัดใหญ่  จึงต้องมีการฉีดวัคซีนก่อนฤดูฝน

“โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ทุกชนิดมีที่มาที่ไปจากสัตว์ปีก การติดต่อเกิดจากการไอหรือจาม และแบ่งเป็นสายพันธุ์ A B C ซึ่งสายพันธุ์ A มีความสำคัญมากเพราะมีความรุนแรงมากกว่า และสามารถกระจายไปทั่วโลกได้ ส่วนสายพันธุ์ B พบเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ไม่พบในสัตว์ และสายพันธุ์ C ที่มีการพบน้อยเพียง 0.2 % ของไข้หวัดใหญ่ทั้งหมด โดยในประเทศไทยพบการเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพราะอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบในช่วงพีคที่สุดคือฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน- กันยายน ในทุกปี  จากการเก็บข้อมูลพบว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปีนี้ เป็นสายพันธุ์ B Victoria ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม มีผู้ป่วยลดลงและในเดือนเมษายนพบคนไข้เพียง 71 คน ซึ่งต่างจากปีที่แล้วมาก และยังไม่มีการตรวจพบอีกเลย ซึ่งจะต้องหาสาเหตุของการลดลง แต่อาจจะเป็นผลที่เกิดจากในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน ที่เริ่มรณรงค์ป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19” ศ.นพ.ยง กล่าว    

 

ศ.นพ.ยง กล่าวเสริมว่า ในส่วนของวัคซีนเมื่อเปรียบเทียบการระบาดไทยมีความคล้ายกับการระบาดในแถบเขตซีกโลกใต้ อย่างออสเตรเลีย  ดังนั้นในการใช้วัคซีนจึงได้เลือกใช้วัคซีนแบบเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ  3 สายพันธุ์ ได้แก่ A/H1N1, A/H3N2, B(Victoria or Yamagata) และ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ A/H1N1, A/H3N2, B Victoria and Yamagata ซึ่งการฉีดวัคซีนแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับการระบาดของสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ แต่ใน 3 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์ไม่ได้แตกต่างกันมาก ทั้งนี้การฉีดวัคซีนสามารถเป็นไข้หวัดใหญ่ได้อีก แต่สามารถลดความรุนแรงลงได้ ดังนั้นต้องฉีดทุกปี และให้ดีที่สุดต้องก่อนฤดูฝน เพราะสายพันธุ์อาจจะเปลี่ยนไปในแต่ละปี  โดยเด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 6 เดือน และที่สำคัญคือในผู้สูงอายุ เพราะหากเป็นไข้หวัดใหญ่มีโอกาสที่โรคจะรุนแรงมากกว่า  แต่หากใครแพ้ไข่นั้นไม่แนะนำ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ ส่วนอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงพบ 1 ใน 100,000 เท่านั้น 


"เราพบว่า สถิติโรคไข้หวัดใหญ่  ทั้งในไต้หวัน สิงคโปร์  รวมทั้ง ไทยก็ลดลงในช่วงก.พ.-เม.ย.อย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรัฐบาลในเรื่องโควิด  รวมทั้งโรคมือเท้าปากด้วย ที่มักจะพบเยอะในช่วงนี้ ก็ไม่พบด้วยเช่นกัน   เป็นเพราะเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน"


นพ. ธนรักษ์  กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญมาก เพราะอาการเริ่มต้น อายุ หรือความรุนแรง รวมไปถึงการป้องกันของโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด19 มีความคล้ายคลึงกันมาก ก็อาจจะทำให้เกิดความสับสนในการคัดกรองของโรงพยาบาล ดังนั้น การลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ลงก็จะทำให้การจัดการโควิด-19 ง่ายขึ้น  ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องให้ความสำคัญในการรับวัคซีน ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ก็เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ซึ่งในระยะต่อจากนี้อาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการป้องกันและดูแลตนเอง  


"ถามว่าโควิด จะหยุดได้เมื่อไหร่  ตามหลักก็คือต้องให้คนไทยติดเชื้อ50-70% ซึ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างอเมริกาที่ระบาดโครมคราม สำรวจจริงๆ พบว่าพื้นที่ ที่มีคนติดเชื้อเยอะ ยังอยู่ในระดับ 10% หรือเกิน10% น้อยมาก แต่แค่นี้โรงพยาบาลก็รับไม่ไหวแล้ว เพราะฉะนั้น เราอย่าหวังเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ เราต้องทำให้คนติดเชื้อน้อยที่สุด และวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยให้รพ.ไม่แออัด แยกผู้ป่วยไข้หวัดออกจากโรคโควิด จึงขอรณรงค์ให้ 7กลุ่มเสี่ยงรีบไปขอรับคิวฉีด เพราะใครมาก่อนได้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะหมดก่อน"นพ.ธนรักษ์กล่าว 


ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ทำการจัดซื้อวัคซีน 3 สายพันธุ์ จำนวน 4 ล้านโด๊ส ในส่วนของคนไทย 7 กลุ่มเสี่ยง ที่ต้องเข้ารับการฉัดวัคซีนก่อน ได้แก่ 1. หญิงมีครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2. ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด 3. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 4. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี 5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6. โรคธาลัสซีเมีย และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และ 7. ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก. ต่อ ตารางเมตร เพราะเป็นกลุ่มที่หากเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการที่รุนแรง 


โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีการเคลื่อนไหวของประชากรสูงมาก ดังนั้นจึงเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนรับวัคซีนตั้งแต่ 1 พฤษภาคม แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ โทรที่เบอร์ 1330 สำหรับคนต่างจังหวัด เพื่อรับข้อมูลพื้นที่ในการฉีดวัคซีน และการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น สปสช. ส่วนในต่างจังหวัด ที่มีเครือข่ายระบบบริการสาธารณสุข อาทิ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด ก็จะสามารถเข้ารับวัคซีนได้ตามวันเวลานัด และสามารถใช้ได้ทุกสิทธิการรักษาในการขอรับวัคการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"