สธ.รับต้องพึ่งวัคซีนจีน-สหรัฐ! ไทยคิดค้นเองต้องรอ2-3ปีไม่ทันการณ์


เพิ่มเพื่อน    

11 พ.ค. 63 - ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 13.00น. นพ.พจน์ อินทลาภาพร หัวหน้างานโรคติดต่อ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ในขณะนี้โรงพยาบาลราชวิถีได้เน้นรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการปานกลางไปจนถึงผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จากตัวเลขจำนวนผู้ป่วยที่รักษาทั้งสิ้น 69 ราย เป็นปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิด-19  33 ราย และมีอาการรุนแรง 10 ราย สามารถรักษาจนหายดี และเสียชีวิต 4 ราย โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโรงพยาบาลมีอาการปอดอักเสบทั้งหมด ซึ่งแพทย์จะรวบรวมผบการรักษาทั้งหมด มาเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนการรักษาต่อไป โดยยกเคสการรักษาผู้ป่วยทั้ง 3 เคสที่มีผลต่อสร้างบรรทัดฐานในการรักษาผู้ป่วยรายอื่นๆได้ กรณีผู้ป่วยหญิงอายุ 31 ปี ที่เป็นผู้ป่วยรายแรกที่มีการทดลองใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษา ซึ่งหลังจากใช้ยาดังกล่าวรักษาเพียงแค่ 3 วัน กลับไม่พบเชื้อโควิด-19 ในร่างกาย ซึ่งมีการตรวจเชื้อทั้งสิ้น 5 ครั้ง จนถึงวันที่ 28 ก็ไม่พบเชื้อจึงให้สามารถกลับบ้านได้ โดยพบว่ายาฟาวิพิราเวียร์มีประโยชน์ในการรักษาจึงเสนอยาดังกล่าวเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างเป็นทางการ

ส่วนอีกกรณีเป็นชายอายุ 55ปี ป่วยมาแล้ว 13 วัน จึงเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล ทีมแพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ และยาต่างๆเหมือนรายแรก แต่กลับเสียชีวิต ทั้งที่ก่อนนั้นไม่มีโรคประจำตัว  ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการที่เข้ารักษาช้าประกอบกับมีอายุมาก โดยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำ​คัญ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับหญิงไทยอายุ 57 ปีอีกรายที่เป็นผู้ป่วยซึ่ง

ได้เข้ารับการรักษาในวันที่ 4 ซึ่งวันที่ 5 จึงเริ่มมีอาการไอ ไข้ และเหนื่อย พบว่ามีอาการปอดอักเสบ อย่างไรก็ตามมีไข้อย่างต่อเนื่องตลอด 7 วัน ทั้งนี้ท้ายที่สุดผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจนกลับมาหายดีอีกครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้รวดเร็ว สรุปคือการมีอาการแล้วรีบมารักษาโดยบอกข้อมูลตามความเป็นจริงจะช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้

ด้าน นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติและนักวิจัยจากหลายหน่วยงานในไทยกำลังร่วมกันคิดค้นอยู่ ซึ่งคงต้องรออีกอย่างน้อย 24-36 เดือนกว่าไทยจะคิดค้นวัคซีนได้เอง เพราะตอนนี้เพิ่งอยู่ในขั้นทดลองกับสัตว์และยังต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อีกมากกว่าจะนำมาใช้ได้จริง ซึ่งหากรออาจไม่ทันกับการป้องกันการระบาด ดังนั้นทางที่ดีที่ไทยจะมีวัคซีนใช้ได้เร็วจึงต้องอาศัยการร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น ประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาที่ไทยได้ลงนามร่วมพัฒนาวัคซีนไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งหากสองประเทศประสบผลสำเร็จในการพัฒนาวัคซีน ไทยก็สามารถนำเข้ามาใช้ในประเทศได้ทันที 

คาดว่าในวันที่ 17 พ.ค.นี้รัฐบาลจะคลายล็อกกลุ่มกิจการกลุ่มที่ 2 ให้กลับมาเปิดบริการได้ แต่ย้ำว่าแม้จะผ่อนคลายเพิ่ม แต่มาตรการต่างๆ ที่แนะนำมาทั้งการล้างมือ การรักษาระยะห่าง และใส่หน้ากาก ยังต้องทำต่อเนื่อง ห้ามการ์ดตก ป้องกันไม่ให้การระบาดกลับมาเกิดซ้ำเหมือนหลายประเทศที่ประสบอยู่ตอนนี้ สำหรับสาธารณสุขเอง เจ้าหน้าที่ดำเนินมาตรการค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกเพิ่มต่อเนื่อง แม้ผู้ป่วยในไทยจะลดลง เพราะต้องการหาตัวผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เสริมถึงปริมาณเตียงในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ที่ไว้รองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ว่าปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 เตียง และยังมีเตียงรองรับผู้ป่วยอาการหนักจากโรคนี้อยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งยืนยันว่าพอรองรับผู้ป่วยในตอนนี้ ส่วนอนาคตขึ้นกับความร่วมมือของประชาชนถ้าทุกคนปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงให้ทำอย่างเคร่งครัดก็เชื่อว่าจำนวนผู้ป่วยจะไม่เพิ่ม และทำให้เตียงมีพอรองรับแน่นอน

พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณฑ์  สถาบันโรคทรวงอก หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรมโรคปอดสถาบันทรวงอก กล่าวว่า จากการรักษาที่ผ่านมาในสถาบันโรคทรวงอก พบว่าพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 มักมีอาการปอดอักเสบรุนแรงในช่วง 2 สัปดาห์แรก ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันได้ใช้ยา Tocillizumab เพื่อกดอาการอักเสบโดยไม่จำเป็นต้องล้างไต  รวมกับการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ อีกสิ่งสำคัญที่สถาบันใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ 2 ข้างคือให้ผู้ป่วยนอนคว่ำเพื่อให้คนไข้ได้รับออกซิเจนที่ดีขึ้นเพื่อยื้อให้ออกซิเจนไม่ต่ำจนเกินไป.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"