ซูเปอร์โพลชี้มาตรการห้ามขายสุราช่วยลดการระบาดโควิด-19 พร้อมเผย New Normal หลังระบาดของไวรัส


เพิ่มเพื่อน    


10 พ.ค.2563 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง จริตใหม่ประชาชนหลังพ้นโควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่ และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,255 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.9 คาดว่าจะพ้นภัยโควิด-19 ได้ในระยะเวลา 3 – 6 เดือน รองลงมาคือร้อยละ 32.2 คาดว่าจะพ้นภัยโควิด-19 ได้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ร้อยละ 21.0 คาดว่ามากกว่า 9 เดือนขึ้นไปและร้อยละ 12.9 คาดว่าอยู่ระหว่าง 6 – 9 เดือน ตามลำดับ

เมื่อสอบถาม ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุมาตรการห้ามขายเหล้า เบียร์ ไวน์ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ช่วยได้ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่ช่วยเลย

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐผ่อนปรนให้ขายเหล้า เบียร์ไวน์ได้ มาตรการเสริมในทรรศนะของประชาชนคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 ระบุห้ามดื่มในที่สาธารณะโล่งแจ้ง รองลงมาคือร้อยละ 82.5 ระบุ ฝึกอบรมคนทำผิดให้รับผิดชอบต่อสังคม ร้อยละ 80.5 ระบุเอาคนทำผิดให้ดูแลผู้พิการ เหยื่อเมาแล้วขับ และผู้ได้รับผลกระทบจากการดื่ม ร้อยละ 80.3 ระบุจำกัดเวลาซื้อให้เหลือน้อยลง ร้อยละ 77.4 ระบุบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัด ร้อยละ 73.0 ระบุจำกัดจำนวนและเวลาซื้อ ร้อยละ 65.1 ระบุห้ามดื่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร้อยละ 59.6 ระบุคนขายและบริษัทฯ ต้องร่วมรับผิดชอบ ถ้าคนดื่มทำความผิด ร้อยละ 58.0 คนขายและบริษัทฯ ต้องร่วมรับผิดชอบ ถ้าขายเหล้า เบียร์ ไวน์ให้คนอายุต่ำกว่าเกณฑ์ และร้อยละ 49.0 ระบุ ขึ้นภาษี เหล้า เบียร์ ไวน์ ขึ้นไปอีก

ที่น่าสนใจคือ จริตใหม่ (New Normal) ของประชาชน หลังผ่านพ้นโควิด-19 ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 ระบุ สั่งสินค้า เดลิเวอรี่มากขึ้น รองลงมาคือ ร้อยละ 83.7 พูดคุย ติดโลกโซเชียลมากขึ้น ร้อยละ 81.5 ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร โซเชียลมีเดีย มากขึ้น ร้อยละ 79.8 คุ้นเคยลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ร้อยละ 79.1 ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ร้อยละ 64.2 ดูแลสุขภาส่วนรวมมากขึ้น ร้อยละ 62.6 ศึกษาเล่าเรียนออนไลน์มากขึ้น ร้อยละ 60.6 แต่งกายใช้หน้ากากอนามัยเป็นแฟชั่น ดูดีมีสไตล์มากขึ้น ร้อยละ 56.6 คบหาพบปะผู้คนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ร้อยละ 55.2 ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น

ที่น่าพิจารณาคือ ความต้องการของประชาชนให้พัฒนาประเทศไปทางไหน หลังพ้นภัยโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.6 ระบุให้ส่งเสริมพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ ลดมลภาวะ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 90.0 ระบุเพิ่มความปลอดภัย ปราบปรามอาชญากรรมด้านเทคโนโลยี ระบบออนไลน์ ร้อยละ 86.5 ระบุ ฟรีสร้างอาชีพ ฟรีอินเทอร์เน็ตไฮสปีด ฟรีพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งภาคเกษตรและอื่น ๆ ร้อยละ 83.7 ระบุเพิ่มความปลอดภัยทางการเงิน ทำธุรกรรมออนไลน์ ร้อยละ 83.2 ระบุเพิ่มสวัสดิการแห่งรัฐ ลดรายจ่าย ให้คนทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ร้อยละ 81.2 ระบุ ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทำคนอยู่ชุมชน เดินทางเคลื่อนย้ายน้อยลง ร้อยละ 79.1 ระบุส่งเสริมให้คนใช้เทคโนโลยี ระบบออนไลน์มากขึ้น และร้อยละ 72.9 ระบุส่งเสริมธุรกิจออนไลน์มากขึ้น ตามลำดับ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"