8 พ.ค.63- 22 ปีที่รอคอยสวนสัตว์สงขลาประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์นกตะกรุมได้เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปีเป็นสวนสัตว์แห่งที่ 2 ขององค์การสวนสัตว์ไทย ซึ่งเป็นช่วงที่สวนสัตว์สงขลาปิดให้บริการไม่มีคนพลุกพล่านนกตะกรุมวางไข่ 2 ฟอง ต้องขอบคุณโควิด-19 ขณะนี้ลูกนกตะกรุมน้อยอายุ 2 เดือนกว่าแล้ว
นี้เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ทางสวนสัตว์สงขลาได้ถ่ายเก็บไว้ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้สวนสัตว์สงขลาต้องปิดให้บริการอย่างไม่มีกำหนดไม่มีคนพลุกพล่าน ส่งผลให้นกตะกรุมที่เลี้ยงไว้ 2 ตัววางไข่ออกมา 2 ฟอง โดยได้ถ่ายภาพเก็บไว้ ตั้งแต่วางไข่ จนกระทั่ง ฟักออกจากไข่ หลังจากนั้น เมื่อนกอายุ 10 กว่าวัน ก็ได้ทำการแยกลูกนกออกมาจากพ่อแม่ เนื่องจากการที่พ่อแม่นกทำให้ลูกนกพลัดตกลงมาจากรัง ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงแยกลูกนกออกมาเลี้ยงเอง เพื่อความปลอดภัยของลูกนก ด้วยการจัดทำสถานที่เลี้ยงให้ใหม่ เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์มากกว่าให้พ่อแม่นกเลี้ยง เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะคอยให้อาหารและดูแลเอาใจใส่ลูกนกเป็นอย่างดี เพราะเป็นครั้งแรกที่ทางสวนสัตว์รอคอยมาถึง 22 ปีและเป็นสวนสัตว์แห่งที่ 2 ขององค์การสวนสัตว์ดุสิตที่สามารถขยายพันธุ์นกตะกรุมได้เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี ของสวนสัตว์สงขลา ซึ่งเป็นช่วงที่สวนสัตว์สงขลาปิดให้บริการ
ผ่านมาเป็นเวลา 2 เดือนกว่า ลูกนกตะกรุมน้อย 2 ตัว ซึ่งยังไม่ทราบเพศ ก็ได้เจริญเติบโต จากการเอาใจใส่ดูแลของเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ฯ อย่างใกล้ชิด เริ่มป้อนอาหารและฝึกให้ลูกนกกินอาหารเองพร้อมการฝึกให้เดินและลงแช่น้ำ ตอนนี้ลูกนกตะกรุม ทั้งสองตัวสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เจริญเติบโตไปตามลำดับ จากนี้ก็จะเริ่มให้หัดบิน และเมื่อแข็งแรงดีแล้ว จะปล่อยเข้าสู่ส่วนแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมพร้อมศึกษาพฤติกรรมต่อไป
ดร.เฉลิมวุฒิ เกษตรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์สงขลา กล่าวว่า 22 ปีที่รอมา ตั้งแต่ปี 2541 เราได้รับพันธุ์พ่อแม่มาจากสวนสัตว์ดุสิต และน่าจะเป็นเป็นรุ่นที่ 2 ขององค์การสวนสัตว์ดุสิต เพราะรุ่นแรกเป็นขององค์การสวนสัตว์ดุสิต ในส่วนของเราเป็นรุ่นที่ 2 จากการที่เราเอาใจใส่ เรียนรู้ศึกษาพฤติกรรม ที่สำคัญก็คือคริปเปอร์ หรือคนเลี้ยงมีความเอาใจใส่ ใกล้เคียงธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้จึงได้ผลผลิตขึ้นมา ต้องขอบคุณธรรมชาติช่วงโควิด -19 ถึงแม้จะมีอะไรก็ตาม ธรรมชาติก็ได้รังสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมา 22 ปีที่รอคอย
"นกตะกรุม” เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์จำเป็นต้องอนุรักษ์เอาไว้ เพราะเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นกตะกรุมมีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้น ๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ทำให้แลดูล้านเลี่ยน
นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
“สวนสัตว์สงขลา ส่งภาพความน่ารัก น่าเอ็นดู ของลูกนกตะกุมน้อย อายุ 2 เดือนกว่า ให้ผู้ชมได้รับชมทางโทรทัศน์ ช่วงวิกฤตโควิด-19 ตามสโลแกน “ ชมสัตว์ในทีวี อยู่บ้าน ปลอดภัย”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |