สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าปัจจุบันจะคลี่คลายเพิ่มขึ้นแล้วในประเทศไทย ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดน้อยลง รวมถึงตัวเลขผู้ป่วยที่รักษาหายและกลับบ้านได้มีเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะที่หลายประเทศยังถือว่าเป็นวิกฤติหนักอยู่พอสมควร จะส่งผลกระทบมายังภาคอุตสาหกรรมที่มีการส่งออก หรือกลุ่มที่ต้องอาศัยการใช้จ่ายพื้นฐานของคนในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ที่ไม่ใช่เพียงแค่โดนผลกระทบเรื่องของไวรัสเท่านั้น แต่ยังซ้ำร้ายเจอปัญหาภัยแล้ง รวมถึงการแบนการใช้สารพาราควอตที่เพิ่งมีมติออกมาอีกด้วย
โดยจากข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มก่อความเสียหายให้กับผลผลิตอ้อยมากที่สุด คาดว่าในกรณีร้ายแรงที่สุด ปริมาณอ้อยเข้าหีบสำหรับผลิตน้ำตาลอาจลดลงมากถึง 25 ล้านตัน หรือคิดเป็น 27% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบโดยรวม ส่งผลให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบสำหรับผลิตน้ำตาลเหลือประมาณ 75 ล้านตัน หดตัว 43% จากในฤดูการผลิตที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากภัยแล้งส่งผลให้โรงงานน้ำตาลจะทยอยปิดหีบตั้งแต่เดือน มี.ค.63 เร็วกว่าปกติ ซึ่งจะปิดหีบในช่วงเดือน เม.ย. โดยหากภัยแล้งลากยาวไปถึงเดือน มิ.ย. โรงงานน้ำตาลอาจเผชิญความเสี่ยงในการขาดแคลนอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตต่อไปอีกด้วย
จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นวิกฤติของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างมาก ขณะเดียวกัน สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย (สนอท.) ได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจหากยกเลิกการใช้สารพาราควอตต่อภาคการเกษตรอุตสาหกรรมและการส่งออกของประเทศไทยปี 63 พบว่าปัจจัยการผลิตสำคัญที่กว่า 80 ประเทศทั่วโลกใช้เพื่อกำจัดวัชพืช นั่นคือ พาราควอต โดยเฉพาะออสเตรเลีย บราซิล และอินเดีย ใช้เพื่อลดจำนวนวัชพืช ซึ่งจะแย่งน้ำและธาตุอาหารของพืชหลัก เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและโรคพืช จำกัดจำนวนของอ้อยตอที่งอกใหม่จากอ้อยต้นเดิม และรบกวนการหีบอ้อย
ทั้งนี้ การผลิตอ้อยจำเป็นต้องใช้พาราควอตในการควบคุมวัชพืชในระยะแตกกอ หรือในช่วง 30-170 วันหลังปลูก และระยะอ้อยย่างปล้องเป็นจุดวิกฤติที่สุด หากควบคุมวัชพืชไม่ได้จะทำให้ผลผลิตลดลง 20-50% ส่งผลปริมาณอ้อยเหลือ 67-108 ล้านตัน จากเดิม 134.8 ล้านตัน กระทบเกษตรกรสูญรายได้รวม 58,000 ล้านบาท ที่สำคัญหากมีฝนตกชุก วัชพืชจะเติบโตเร็วและมาก ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลเข้าไปจัดการในแปลงได้ และไม่มีสารเคมีเกษตรชนิดอื่นทดแทนได้นอกจากพาราควอต
โดยนายกิตติ ชุณหวงศ์ นายก สนอท. ออกมากล่าวว่า ในปีนี้ต้นทุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยสูงถึง 1,200-1,300 บาทต่อไร่ ต่างจากฤดูปกติอยู่ที่ 1,110 บาทต่อไร่ ขณะที่ค่าอ้อยขั้นต้นอยู่ที่ 750 บาทต่อไร่ ดังนั้นหากมีการยกเลิกใช้พาราควอตจะเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่แล้วจากผลกระทบภัยแล้ง และรายได้จากการส่งออกที่ลดลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งเบื้องต้น สนอท.คาดการณ์ผลผลิตอ้อยจะลดลงทันทีครึ่งหนึ่ง หรือ 50% คิดมูลค่าเสียหายสูงถึง 150,000 ล้านบาท และกระทบไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีก 150,000 บาท รวมสูญเสียกว่า 300,000 ล้านบาท
ซึ่งหากเกิดความสูญเสียขนาดนั้นขึ้นมาจริงๆ คนที่แย่อาจจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่เป็นอีกหนึ่งกำลังที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็เข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก โดยจะต้องคำนึงไม่ให้ขัดกับข้อตกลงองค์กรการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ที่กำหนดห้ามสนับสนุนเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องวุ่นวายในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม การจะตัดสินใจต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของคนในประเทศ อำนาจและหน้าที่อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
และตอนนี้ทางรัฐบาลเองก็ได้ออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อช่วยเหลือทางด้านภัยแล้งบ้างแล้ว แต่ก็ต้องมาติดตามกันว่าจะสามารถเยียวยาและช่วยเหลือได้ทันหรือเปล่า ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็ภาวนาขอให้ความวุ่นวายเรื่องไวรัสในประเทศและในโลกนั้นจบลงโดยเร็ว โดยในส่วนของประชาชนอย่างเราๆ เองก็เป็นอีกหนึ่งกำลังที่จะช่วยเหลือได้โดยการกักกันตัวเองเพื่อไม่ให้ไปเป็นปัจจัยในการแพร่เชื้อนั่นเอง.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |