6 พ.ค.63 - นายสุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
จาก new normal สู่ new world order ก่อนมนุษยชาติจะถูกจัดระเบียบ
เริ่มพูดกันมากถึง Post-Covid อาจเป็นเพราะการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ภาครัฐวางแผนและกำหนดมาตรการได้ผลดี ดีในระดับต้นๆของโลกเลยด้วยซ้ำ จนเริ่มสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นว่าสถานการณ์ในไทยเราจะกลับมาเป็นปกติได้เร็วกว่าที่คิด
ทำให้ บรรดาผู้รุ้ในหลายๆ ด้านเริ่มออกมาส่งสัญญาณถึงสถานการณ์หลังโควิดหรือ Post-Covid ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกกันโดยทั่วไปในขณะนี้ว่า new normal หรือ “ความปกติไหม่”
จากข้อมูลพบว่าวาทกรรม new normal ได้ถูกนำมาใช้โดย Bill Gross ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาวอเมริกัน
โดยนำมาใช้อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอเกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงปี 2007-2009
เจ้าวาทกรรมตัวนี้ เริ่มมีความพยายามให้ความหมายหรือให้นิยามกันไปต่างๆนานา บางคนก็เรียกว่า “วิถีใหม่” บ้าง หรือ “นววิถี” บ้าง
ล่าสุดราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ new normal ว่า “ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ : หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย”
ผมสดับตรับฟัง concept ของวาทกรรมนี้แล้ว ทำให้ย้อนนึกถึงช่วงหลังปี 2535 ที่เราเผชิญหน้ากับสภาวะที่เรียกว่า globalization หรือ “โลกาภิวัฒน์” ตอนนั้นเราก็ถกแถลงกันอยู่นานว่าจะใช้ภาษาไทยให้ความหมายและทำความเข้าใจมันอย่างไรดี
กระทั่งสภาวะที่เรียกว่า disruption ก่อนหน้าโควิดระบาด คนไทยเราเพิ่งเริ่มทำความเข้าใจและเผชิญหน้ากับปรากฎการณ์นี้ ซึ่งอยู่ในช่วงต้นๆ เสียด้วยซ้ำ ยังไม่เห็นผลสะเทือนมากมายเท่าไรนักเราก็กระโดดมาเจอ Covid-19 ที่เข้ามาจัดระเบียบชีวิตเราแบบ 360 องศา จนราวกับว่าสิ้นสุดยุค disruption เมื่อ Covid-19 เริ่มระบาด
ไปที่ไหนก็ได้ยินคำว่า new normal แน่นอนความเข้าใจของผู้คนให้ความหมายได้ทั้งด้านกว้างและแคบ ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ก็แล้วแต่จะตีความกันไป
ความเข้าใจและการตีความ new normal ดูเหมือนยังไม่นิ่งและยังไม่ตกผลึก เว้นแต่ฉากทัศน์ scenario จากภาคธุรกิจที่ดูเห็นภาพและเป็นรูปเป็นร่างมากกว่ามิติทางสังคม การเมือง การศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม ฯล
เช่น การพูดถึง work for home การตลาด Online ว่ากันว่าในยุค Post-Covid จะมีพฤติกรรมหลายอย่างทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคที่เป็น the next normal กิจกรรมทางภาคธุรกิจหลายอย่างจะถูกโยกย้ายมาอยู่บนโลก online อย่างเข้มข้นและกว้างขวางขึ้นทุกคนมีสิทธิเข้าไปเล่นในสนามนี้ส่วนจะประสบความสำเร็จหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ส่วน new normal ในภาการเมือง เริ่มเห็นม็อบออนไลน์ที่ได้ผล เช่น การคัดค้านการเข้าร่วม CPTPP การแบนสารเคมีทางการเกษตร แต่ยังต้องคิดต่อว่าการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจะถูกนำมาแชร์ผ่าน digital politics platform ได้หรือไม่
ในโลกการศึกษา การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ก็ยังมีข้อถกเถียงไม่จบว่า online จะเป็นทางหลัก ทางรอง หรือทางเลือก จะเป็นแบบผสม hybrid หรือ blended ยังคงต้องหาจุดลงตัวกันต่อไป เฉกเช่นภาคส่วนอื่น ที่กำลังชุลมุนอยู่กับภาวะ disruption และการเข้ามาผสมโรงของ Covid-19
กล่าวให้ถึงที่สุดไม่ว่าจะตีความ new normal จากมิติใด จะแคบหรือกว้าง จะแนวดิ่งหรือแนวราบ ก็ตาม
แต่ต้องยอมรับข้อเท็จจริงกันก่อนว่าปรากฏการณ์ Covid-19 นอกจากจะเป็นโรคระบาดใหม่แล้ว ยังทำลายและเปิดโปงระเบียบแบบแผนทางสังคม ธุรกิจการเมืองดั้งเดิมว่าซ่อนปัญหาไว้มากกว่าที่คิด เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่บ่งชี้ถึงศักยภาพในการรับมือและเยียวยาและแนวโน้มจำนวนคนจนและความยากจนที่สูงขึ้น ปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ยังขาดโปร่งใสและประสิทธิภาพพอ ปัญหากลไกรัฐราชการที่ยังหละหลวมและเฉื่อยช้า ปัญหาความเข้มแข็งของเมืองกับชนบทที่คนละฐานความหมายตัวใครตัวมัน
โดนกันถ้วนหน้าทั้งโลก ความแตกต่างทางอุดมการณ์ ศาสนา สีผิว เมือง ชนบท ตะวันออก ตะวันตก ไม่มีข้อยกเว้น เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเทียบเคียงยากหรืออ้างอิงแทบไม่ได้เลยกับเหตุการณ์ในอดีตของโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองสังคมก็ตาม จนดูราวกับว่า โควิดกำลังพาเราเดินออกนอกเส้นทางประวัติศาสตร์
การใช้คำว่า new normal ในความหมายที่แคบหรือเน้นเฉพาะ “รูปแบบใหม่” ในการใช้ชีวิต ไปไม่ถึงระดับของ “เนื้อหาใหม่” ของวิถีชีวิตที่ต้องทบทวนกันใหม่ด้วย อาจจะไม่มีพลังเพียงพอในการอธิบายและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ท้าทายมนุษยชาติและกำลังเขย่าโลกรุนแรงกว่าทุกครั้งทั้งมิติสุขภาพ วิทยาศาสตร์ จิตสำนึก มนุษยธรรม สัจธรรม ฯล
ด้วยเหตุดังนี้ วิกฤติมนุษยชาติที่อยู่เหนือรัฐชาติในครั้งนี้ ฉากทัศน์อนาคต หรือ future scenario ที่มาพร้อมกับวาทกรรม new normal จึงต้องขยับขยายไปถึงใจกลางของปัญหาเพื่อปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจทั้งระหว่างรัฐต่อรัฐและภายในรัฐชาติ จัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติกันใหม่
New Normal จึงอาจขยายไปถึงการตั้งคำถามกับ New World Order หรือ “ระเบียบโลกใหม่” ที่ขั้วอำนาจเดี่ยวโดยอเมริกาและพันธมิตรผูกขาดมายาวนานเป็นโลกที่ความอหังการของมนุษย์ล้นเกินควบคุมและทะลุขีดจำกัด
Post-New world order หรือ “ยุคหลังระเบียบโลกใหม่” จึงไม่ใช่แค่ชวนกันคิดเท่านั้น แต่ถึงเวลาที่ต้องชวนกันวางแผนรับมือและร่วมกันสร้างด้วยซ้ำ
นี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่มนุษย์จะรักษาอำนาจนี้ไว้เพื่อบริหารจัดการวางระเบียบแบบแผนภายใต้ความสมดุลทุกองคาพยพทั้งสังคม ธุรกิจและการเมือง ก่อนจะถูกธรรมชาติเข้ามาช่วงชิงอำนาจนี้ไปจัดระเบียบเองทั้งหมด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |