แอนิเมชันตอน "เจ้าจุก" สร้างการ์ตูนคาแรคเตอร์เล่าแนวคิดรักษาระยะห่างอย่างน่าชม
แอนิเมชั่นรณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฝีมือบริษัทและผู้ผลิตคนไทยปล่อยออกมาให้ชมกันในช่องทางยูทูบกระทรวงวัฒนธรรม และแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก Content Thailand เป็นที่เรียบร้อย “หยุด…แพร่” เป็นแอนนิเมชันสองมิติตอนล่าสุด หวังใช้พลังดิจิตอลคอนเทนต์ปลุกความรับผิดชอบต่อสังคมเมื่อป่วยหรือรู้ว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 จะปกปิดหรือบอกความจริงดี นำเสนออย่างน่าสนใจ สร้างสรรค์โดยบริษัท บิคเบรน พิคเจอร์ จำกัด ซึ่งก่อนหน้านี้มี 11 ตอน ที่กลุ่มนักแอนิเมชั่นเมืองไทย สมาชิกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) ร่วมสร้างตัวละครให้ความรู้ป้องกันการติดเชื้อโควิด
โปรเจ็กต์ดีๆ นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กับสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) จัดทำสื่อแอนิเมชั่นต้านโรคโควิด-19 และสื่อการ์ตูนภาพ (comic) เผยแพร่สู่สาธารณชน สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อีกเป้าหมายสำคัญช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในการผลิตแอนิเมชั่นสร้างสรรค์สังคม
แอนิเมชั่นน่ารักๆ เสนอแนวคิดเรื่องการคิดถึงผู้อื่น ไม่กักตุนสินค้า
นพ ธรรมวานิช นายกสมาคม TACGA กล่าวว่า สมาคมมีสมาชิกเป็นบริษัทแอนิเมชั่น บริษัททำคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และการ์ตูนภาพ รวมแล้วกว่า 80 บริษัท ตั้งแต่ผู้ผลิตขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ กระทรวงวัฒนธรรมรับทราบผู้ประกอบการเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซา เพราะเป็นธุรกิจที่ต่อเนื่องกับการถ่ายทำภาพยนตร์ เมื่อกองถ่ายปิดและโครงการจ้างผลิตโฆษณาจากต่างประเทศลดลง มีการหารือการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ นำมาสู่โครงการจ้างผลิตสื่อรณรงค์โควิด ซึ่งผู้ประกอบการสนใจเป็นทุนเดิม กระบวนการผลิตแอนิเมชั่นคลิป 12 เรื่อง ผู้ประกอบการต้องนำเสนอแนวคิดการสร้างสรรค์ มีบริษัทเสนอ 33 ไอเดีย ก่อน วธ.พิจารณาคัดเลือก เนื้อหายึดความถูกต้อง ส่วนการนำเสนอขึ้นกับไอเดียโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ ส่วนการ์ตูนภาพเป็นฝีมือนักวาดการ์ตูนระดับอินฟลูเอนเซอร์ มีแฟนคลับ ทำให้ชุดความรู้กระจายในวงกว้างยิ่งขึ้น
“ แอนิเมชั่นที่ปล่อยออกมามีทั้งสองมิติ ที่ใช้วิธีการวาดรูปและขยับภาพ ส่วนแอนิเมชั่นสามมิติจะสร้างหุ่นจำลองและขยับโมเดล สร้างความเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ ขึ้นกับความถนัดของแต่ละสตูดิโอ ความยากของแอนิเมชั่นต้านโควิดต้องผลิตด้วยเวลารวดเร็ว เพื่อรีบเผยแพร่ให้ความรู้ยับยั้งสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด ตอนแรกออกก่อนสงกรานต์ โดยบริษัท โตโมแกรม สตูดิโอ ของผมเอง ทีมงานใช้เวลาทำ 7 วัน ชื่อตอน “ สงกรานต์ 2563 4 ไม่ 3 ทำ ” เน้นคุณค่าประเพณีมากกว่าความสนุกสนาน พร้อมคำแนะนำสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ยึดแนวทางปฏิบัติเทศกาลสงกรานต์ วธ. เรานำการ์ตูนคาแรคเตอร์ที่มีอยู่มาผสมและเล่าเรื่องให้ติดหู ใช้เพลงแรปประกอบ ฟีดแบ็กดี มียอดแชร์เยอะมาก ถัดมาเป็นแอนิเมชั่นสามมิติตอน "เจ้าจุก” พูดถึงการรักษาระยะห่าง เจ้าจุกเล่นซ่อนหา แต่ซ่อนกันไกลมาก หรือตอน “Work from Home Safe for You" เสนอแนวคิดทำงานจากบ้านอย่างมีความสุข หรือแม้แต่แอนิเมชั่นการพัฒนาตัวเองในช่วงล็อกดาวน์ การมองโลกในแง่บวก ลดการตื่นตระหนก อีกประเด็นการคิดถึงสังคมส่วนรวม ไม่กักตุนสินค้า ไม่ขายโก่งราคา" นพ กล่าวแนวคิดหยุดโควิดผ่านแอนิเมชั่น
"Work from Home Safe for You" แอนิเมชั่นชวนทำงานที่บ้าน ป้องกันเสี่ยงโควิด
อีกประเด็นที่นายกสมาคม TACGA ย้ำว่า ดิจิตอลคอนเทนต์มีพลัง อยากให้หน่วยงานที่ต้องการผลิตสื่อพิจารณาผู้ประกอบการแอนิเมชั่นเป็นทางเลือกในการสื่อสาร เพราะเสน่ห์ของแอนิเมชั่นมีความน่ารัก น่าชม สื่อสารประเด็นสังคมแบบไม่ซีเรียสได้ และสามารถใส่ไอเดีย ทำให้คนจดจำเรื่องเหล่านี้ได้ง่ายๆ เข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญงานแอนิเมชั่นสามารถทำงานที่บ้านได้ พลังดิจิตอลคอนเทนต์มีมากและเป็นประโยชน์กับสังคมได้ เพียงดึงศักยภาพในการสร้างสื่อ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ในช่วงโควิด เช่น ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ แต่ไม่รู้จะขายอย่างไร ภาครัฐอาจจับกลุ่มนักแอนิเมชั่นกับผู้ประกอบการ สร้างโอกาสการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์ในต่างจังหวัด สินค้าโอท็อป ขณะนี้สมาคมกำลังพูดคุยเสนอโปรเจ็กต์กับกระทรวงพาณิชย์ ต้องติดตามต่อไป อยากให้รัฐสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |