การระบาดของโควิด-19 กำลังแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมายทั่วโลก รัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการล็อกดาวน์ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจการทั้งหมดที่เป็นแหล่งรวมผู้คนต้องหยุดชะงัก เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว ยกเว้นร้านขายอาหาร ต้องปิดให้บริการชั่วคราวในช่วงนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคของประชาชน ทำให้ธุรกิจในประเทศไทยได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน
มาดูกันว่าผลกระทบโควิดต่อธุรกิจที่ไพรซ์ซ่าได้รวบรวมมาให้แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง อย่างในธุรกิจท่องเที่ยว แน่นอนว่าได้รับความเสียหายอย่างหนักในวิกฤติการณ์นี้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค คนไม่กล้าออกไปไหนเพราะกลัวติดเชื้อ รวมถึงมีมาตรการห้ามเดินทางโดยไม่จำเป็นและปิดสถานที่ที่อาจทำให้เกิดการรวมตัวของผู้คน จึงทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวหยุดชะงักไปโดยปริยาย
ส่วนธุรกิจร้านอาหารไม่ได้หยุดชะงักไปเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการไม่มีนักท่องเที่ยว และผู้คนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายในบ้านมากกว่านอกบ้าน รายได้ของร้านอาหารจึงลดลง โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทที่เน้นนั่งกินที่ร้านเท่านั้นอย่างปุฟเฟต์, ไฟน์ไดนิ่ง และเชฟเทเบิลที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ขณะที่ธุรกิจบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง สื่อบันเทิง กิจกรรมเพื่อความบันเทิง หรือเกมกีฬา ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการชุมนุมของคนจำนวนมาก ส่งผลให้ศูนย์รวมความบันเทิงหรืองานวงการบันเทิงที่ต้องมีคนไปรวมตัวกันต้องปิดและหยุดกิจกรรมลงชั่วคราว โดยธุรกิจคมนาคมขนส่งเองก็มีข้อจำกัดในด้านการเดินทาง รวมถึงความต้องการเดินทางที่ลดลง ส่งผลให้กิจการที่เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งซบเซาลงจนแทบจะหยุดชะงัก ได้แก่ ธุรกิจการบิน ที่สายการบินต้องทยอยลดเที่ยวบินจนถึงหยุดการบินชั่วคราวทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจโรงแรมมีผลกระทบต่อเนื่องมาจากการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ทั้งโรงแรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วประเทศค่อยๆ ปิดตัวลงเนื่องจากไม่มีคนเข้าพัก หรือมีน้อยมาก แต่บางแห่งต้องปิดตามมาตรการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค และธุรกิจค้าปลีกที่เดิมทีชะลอตัวจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอยู่แล้ว แต่พอเกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่ทำให้ธุรกิจปิดตัวยิ่งทำให้การค้าปลีกซบเซาลงไปอีก
นอกจากนี้ ไพรซ์ซ่ายังบอกวิธีการปรับตัวพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ไม่ว่าจะเป็นรักษาธุรกิจของตนให้ปลอดเชื้อ ช่วงนี้ต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าใช้มาตรการและรักษาความสะอาดที่เหมาะสมในการต่อสู้กับการระบาด และปรับบริการให้เข้ากับสถานการณ์ เมื่อคนต้องอยู่บ้าน ไม่สามารถเดินเข้าไปหาสินค้าได้ ผู้ประกอบการสามารถทำให้สินค้าเดินเข้าไปหาคน รวมถึงลดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนการผลิต การตลาด บุคลากร เพราะในช่วงเวลายากลำบาก การบริหารจัดการต้นทุนต้องรัดกุมยิ่งกว่าเดิม เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถประคับประคองตัวเองไปได้
แน่นอนว่าตัวของไพรซ์ซ่าเองก็เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์หนึ่ง จึงอยากแนะหลัก 5C’s มาใช้ในการขายออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1.C1 Core Focus มองหาและนำเสนอจุดแข็งของสินค้าหรือบริการ 2.C2 Content Marketing ต้องนำเสนอให้เป็น 3.C3 Community Building คอนเทนต์ที่โดดเด่นจะนำพาคนที่สนใจสินค้าและบริการของเรา หรืออาจเรียกได้ว่าลูกค้าในอนาคตมารวมตัวกัน 4.C4 Channels ยิ่งมีช่องทางกระจายสินค้ามากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสขายได้มากเท่านั้น และ 5.C5 CRM หากมีลูกค้าแล้วจึงต้องดูและใส่ใจให้ดี โดยอาจทำแบบสอบถามให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าและบริการเพื่อให้นำไปพัฒนาสินค้า
ในวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคร้ายแรงเช่นนี้ ทุกคนย่อมได้รับผลกระทบโดยถ้วนทั่ว อาจจะมากน้อยต่างกัน แต่ไม่มีใครอยู่ได้อย่างสบายใจ สิ่งที่เราทุกคนต้องทำเพื่อให้อยู่รอดคือการปรับตัว มองหาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในตัว ต้องมีสักอย่างที่ทำได้ อาจจะเริ่มจากการแนะนำกับคนใกล้ตัว เพื่อดูผลตอบรับ จากนั้นค่อยๆ ขยายฐานลูกค้าออกไป อย่าเพิ่งเร่งรีบ ไปช้าๆ แต่มั่นคงดีกว่า.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |