4 พ.ค. 63 - ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "โควิด 19 กับ การเรียนรู้จากของจริง" ว่า "เล่าเรื่องคุณหมอโนกุจิ อยากจะโยงมาถึง โควิด 19 การเรียนการสอน หรือจะให้เข้าใจจริงๆ สู้ภาคปฏิบัติ หรือทำจริงๆ เลยไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน โควิด 19 หลายคน อ่านแล้วเอามาโพสต์ ก็สู้ผู้ที่ทำจริง แล้วเอามาเผยแพร่ความรู้ไม่ได้ บางครั้งอาจเอาเรื่องที่การศึกษาพบได้น้อยมาก ในโควิด 19 แล้วก็เอามาเผยแพร่ เล่นเอาคนตกใจกันทั้งเมือง
คุณหมอโนกุจิเมื่อจบใหม่ๆ เกิดกาฬโรคระบาดที่เมืองจีน ต้องการหมอญี่ปุ่นไปช่วยปราบโรคกาฬโรค หมอญี่ปุ่นอาสาไป 15 คนมีหมอโนกุจิไปด้วย เดินทางสมัยนั้นไปทางเรือใช้เวลา 15 วัน หมอ 14 คนเอาตำราภาษาจีนมานั่งท่องระหว่างอยู่ในเรือ แต่คุณหมอโนกุจิไม่มีตำราภาษาจีนแม้แต่เล่มเดียว
เมื่อลงเรือก็ไปคลุกคลีกับลูกเรือชาวจีนใต้ท้องเรือ เมื่อไปถึงเมืองจีน คนที่พูดภาษาจีนรู้เรื่องและดีที่สุดคือคุณหมอโนกุจิ คนที่ท่องตำรา เมื่อไปถึงเมืองจีนพูดและฟังภาษาจีนไม่ได้ เหมือนกับที่เราเรียนภาษาอังกฤษ 12 ปีแต่ไม่สามารถใช้ได้เลย เจอฝรั่งวิ่งหนีหมด
สอนให้เรารู้ว่าการเรียนที่ดีที่สุดที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้ จะต้องเป็นภาคปฏิบัติ การท่องตำราแล้วเอาไปใช้ไม่ได้ อย่างที่เราเรียนกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เกิดประโยชน์ใดเลย เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก จนจบมหาวิทยาลัย แต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้
ที่จริงก็ไม่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 เพราะเห็นตัวเลขของ โควิด 19 เริ่มลดลง R0 ต่ำกว่า 1 มาหลายวันแล้ว แต่อย่าเพิ่งไว้วางใจ เราจำเป็นต้องเปิดทาง ให้ทุกคนทำมาหากินได้แบบพอเพียง แต่ก็ต้องควบคุมไม่ให้มีการระบาด แต่ถ้ามีผู้ป่วยเป็นหลัก 100 ต้นต้น ต่อวัน ระบบสาธารณสุขของเรา ก็จะรองรับได้ ถ้ามากกว่านี้ ก็รับไม่ได้ จะสูญเสียมาก
และสิ่งที่สำคัญโรคนี้จะต้องไม่ไปเกิดกับผู้ที่อ่อนไหวง่าย หรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และรอเวลาที่มียารักษาที่ดีกว่านี้ และมีวัคซีนในการป้องกัน ทุกอย่างก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ทุกคนอยู่ได้".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |