โพลสะท้อนประชาชนพอใจคุมเข้มกักตัวเข้าประเทศรับมือภัยไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลประยุทธ์ ขณะที่การเยียวยายกให้เลื่อนชำระภาษี-จ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร ด้านเด็กยากจนไม่ช่วยมีสิทธิ์หลุดเรียนต่อ
เมื่อวันอาทิตย์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “ความพึงพอใจต่อมาตรการต้านโควิด-19 ของรัฐบาล” จำนวนทั้งสิ้น 1,801 คน สำรวจทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2563 สรุปผลได้ ดังนี้ 1.มาตรการรับมือโควิด-19 ของรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจ คือ 1.คุมเข้มกักตัวผู้โดยสารเดินทางเข้าไทย 14 วัน 94.18% 2.ห้ามเครื่องบินเข้าสู่ไทยชั่วคราว 92.55% 3.อสม.แต่ละพื้นที่ตรวจติดตามคนในชุมชน 89.03% 4.กักตัว อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ 88.01% 5.การตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยง 87.08%
ขณะที่ “มาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน” ภาพรวม 1.เลื่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 31 ส.ค.63 83.51% 2.จ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรครัวเรือนละ 15,000 บาท 81.43% 3. ประกันสังคมจ่ายเงินกรณีว่างงานจากผลกระทบโควิด-19 80.86% 4.ประกันสังคมลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน 79.11% 5.ใช้ไฟฟรี 150 หน่วย/ลดค่าไฟ 50% จำนวน 79.03% วันเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง เปิดใจเด็กยากจนช่วงลำบากโควิด-19 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจำนวน 553 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 เมษายน-2 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา
จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า เด็กยากจนพิเศษช่วงลำบากโควิด-19 มีจำนวนมากถึง 732,843 คนทั่วประเทศ โดยในขณะนี้ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเมื่อช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และพบด้วยว่า ส่วนใหญ่ หรือ 92.6% ได้รับความช่วยเหลือเรื่องปากท้อง ค่าครองชีพ อาหารการกินในชีวิตประจำวัน รองลงมาคือ 43.9% ระบุได้รับอุปกรณ์การเรียน 23.7% ระบุพ่อแม่ได้รับเงินช่วยเหลือ มีงานทำพัฒนาอาชีพ และ 20.5% ระบุค่าเดินทางและอื่นๆ
ที่น่าพิจารณาคือ ถ้าไม่มีความช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานรัฐเข้ามาตอนนี้ จะทำให้เกิดความทุกข์ยากมากน้อยเพียงไร ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ 80.4% ระบุจะทุกข์ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ 19.6% จะทุกข์ค่อนข้างน้อยถึงไม่ทุกข์เลย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าไม่มีความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐในตอนนี้ โอกาสที่จะเรียนต่อเป็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือ 66.4% ระบุเป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนต่อ ในขณะที่ 33.6% ระบุเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ 53.2% ของเด็กยากจนพิเศษระบุความช่วยเหลือดูแลต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะที่ 46.8% ระบุเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ น่าปลื้มที่ส่วนใหญ่ 97.1% ของเด็กยากจนพิเศษตั้งใจจะช่วยเหลือดูแลผู้อื่นต่อไปให้มากที่สุดถ้าตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตข้างหน้า
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวว่า ผลโพลชี้ชัดว่าเป็นไปไม่ได้ที่เด็กยากจนพิเศษจะเรียนต่อถ้าไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือตอนนี้ หน่วยงานรัฐต่างๆ สามารถใช้ช่องทางของกฎหมายกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเข้าถึงพวกเขาได้อย่างเร่งด่วนโดยไม่ต้องรอให้พวกเขาร้องขอ เพราะเสียงของพวกเขาไม่ได้ดังเหมือนเสียงของคนในโลกโซเชียลที่กำลังใช้โซเชียลมีเดียห้ำหั่นทำลายกันมากกว่าสร้างสรรค์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |