เรากำลังเจอกับ "มหันตภัย" ทั้งโรคระบาดและเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงพร้อมๆ กัน ทำให้ย้อนทบทวนบทเรียนจาก Spanish Flu ปี 1918 และ The Great Depression ที่เริ่มในปี 1929 ของสหรัฐฯ และยุโรป
แน่นอนว่าโลกฟื้นจากสองวิกฤตินี้อย่างสะบักสะบอม...แต่ท้ายที่สุดก็ฟื้น...และหากเราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ได้บ้าง ก็ควรจะพยายามหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและนำเอาข้อดีๆ มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์วันนี้ได้
"วิกฤติเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง" ปี 1929 ของอเมริกากับของประเทศอื่นๆ ในโลกมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดต่างกัน แต่ก็อยู่ในช่วงใกล้ๆ กัน
เป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่หนักที่สุด ยาวนานที่สุด และกว้างขวางที่สุดของศตวรรษที่ 20
The Great Depression เริ่มต้นที่สหรัฐฯ หลังจากวัน "โลกาวินาศ" ที่ทำหุ้นตกอย่างรุนแรงตั้งแต่ 4 กันยายน ถึงวันโลกาวินาศ 29 ตุลาคม 1929 หรือเมื่อ 91 ปีก่อน
เรียกมันว่า Black Tuesday หรือ "อังคารทมิฬ"
ระหว่างปี 1929 ถึง 1932 ผลผลิตมวลรวมหรือ GDP ของโลกหดตัวไป 15%
(เปรียบเทียบกับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่เรียกว่า Great Recession ระหว่าง 2008-2009 GDP โลกลดลงเพียง 1%)
บางประเทศเริ่มฟื้นตัวช้าๆ ในช่วงกลางๆ ทศวรรษ 1930
แต่สำหรับหลายประเทศแล้ว ผลกระทบอันรุนแรงของเศรษฐกิจลากยาวไปถึงตอนเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1939
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงครั้งนั้นมีผลกระทบต่อทั้งคนรวยและคนจน ทั้งรายได้ส่วนตัว รายได้ธุรกิจ และคุณภาพชีวิตที่เสื่อมทรุดอย่างหนักหน่วง
การค้าระหว่างประเทศร่วงลงกว่า 50%
อัตราคนว่างงานของสหรัฐฯ พุ่งไปถึง 23% และสำหรับบางประเทศสูงถึง 33%
อุตสาหกรรมเจ๊งกันระนาว และราคาพืชผลเกษตรร่วงลงกว่า 60%
วันนี้อัตราคนว่างงานที่เกิดจากโควิด-19 ทำท่าว่าจะมีผลกระทบไม่น้อยไปกว่ายุคนั้น
ในช่วงเวลานั้น สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ ประกาศนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เรียกว่า New Deal
หรือที่ผมเรียกว่า "สัญญาประชาคมใหม่" เพื่อพยุงให้ประเทศกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วและยั่งยืน
เป็นที่มาของแผน 3 Rs คือ Relief, Recovery, Reform
หรือ "เยียวยา, ฟื้นฟู และปฏิรูป"
คล้ายกับข้อเสนอ 4 ระยะหลังวิกฤติโควิดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษาที่มี
Restriction (เดือนที่ 1-6) ระยะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งขณะนี้ไทยอยู่ในระยะนี้
ตามมาด้วย Reopening (เดือนที่ 7-12) ระยะผ่อนคลายการควบคุมและเริ่มกลับสู่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
ระยะที่ 3 คือ Recovery (เดือนที่ 13-18) อันเป็นระยะการฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย
และระยะที่ 4 หรือ Restructuring (เดือนที่ 19 - อนาคต 5 ปีข้างหน้า)
ไม่ว่าจะเป็น R สามตัวของยุค New Deal หรือข้อเสนอ R สี่ตัวของไทยเราวันนี้ หัวใจของแผนฟื้นฟูชาติคือ การกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่เราไม่เคยแม้แต่จะคิดมาก่อน
ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส บอกว่าเมื่อเจอวิกฤติรุนแรงอย่างนี้ต้อง "คิดในสิ่งที่ไม่เคยกล้าคิด" หรือ Think the Unthinkable
นั่นคือการฉีกกรอบความคิดเดิมๆ ทั้งหมด และตั้งโจทย์ใหม่เพื่อหาคำตอบใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในสูตรหรือสมการเดิม
สำหรับไทยเราต้องมองไปข้างหน้า พร้อมตั้งเป้าว่าเราจะสร้าง "สังคมใหม่" อย่างไร
สังคมใหม่ที่จะให้คุณค่าความเป็นมนุษย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
สังคมใหม่ที่จะลงทุนในการสร้างคนยุคใหม่ ที่มีความสามารถในการปรับตัวมากกว่าเพียงสร้างคนเรียนหนังสือเก่งเท่านั้น
เราต้องเชื่ออย่างจริงจังว่าหลังโควิด-19 เราจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก
และต้องเริ่มจากความคิดที่ว่าโควิดจะ "ไม่มีวันหายสาบสูญ" เพื่อเราจะได้ "เริ่มต้นใหม่ที่ไม่มีโรคระบาด"
เพราะกว่าเราจะมีวัคซีนใช้ก็ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
และแม้จะมีวัคซีนสำหรับโควิดสายพันธุ์นี้ ก็ไม่มีอะไรรับรองว่าจะไม่เกิดไวรัสตัวใหม่ที่จะมีความร้ายกาจรุนแรงมากกว่า หากเรายังไม่รู้จักปรับตัวไปสู่ "New Normal" ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง...
ใช่เพียงแต่สร้างวาทกรรมหรือพูดเพื่อปลอบใจตัวเองเท่านั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |