ฝากไว้เป็นสมบัติแผ่นดิน มรดกล้ำค่าจาก“ชวลิต เสริมปรุงสุข“


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

     วงการศิลปะร่วมสมัยสูญเสียปูชนียบุคคลผู้ทรงคุณค่า อาจารย์ชวลิต เสริมปรุงสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม..2557 หลังป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนไวรัสร้ายจะพรากชีวิตศิลปินใหญ่วัย80 ปี ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างไม่มีวันกลับ  ขณะที่ศิลปินไทยและเนเธอร์แลนด์ต่างแสดงความเสียใจต่อการจากไปของศิลปินมากความสามารถและเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังและคนรักงานศิลปะตลอดมา

             อาจารย์ชวลิตเป็นศิลปินแห่งชาติผู้ใช้ชีวิตควบคู่กับสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์และเป็นนักเรียนศิลปะไทยรุ่นสุดท้ายที่มีโอกาสได้สัมผัสการเรียนกับอาจารย์ฝรั่ง’ .ศิลป์ พีระศรี หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร .ชวลิตได้ทุนเล่าเรียนจากกระทรวงวัฒนธรรมเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะ Rijksakademie van beeldende Kunsten ในกรุงอัมสเตอร์ดัม และย้ายถิ่นฐานไปทำงานในฐานะศิลปินอิสระที่กรุงอัมสเตอร์ดัม 

 

อ.ชวลิต เสริมปรุงสุข ศิลปินแห่งชาติ  

 

 

     เริ่มชีวิตศิลปินโดยมุ่งเน้นสร้างงานแนวเหมือนจริง (realistic) จากนั้นแนวงานค่อยๆพัฒนาไปสู่แนวนามธรรม ( abstract art ) กว่า 60 ปีในการทำงานทำให้อ.ชวลิตกลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในวงการ abstract และnon-objective art ระดับสากล ที่ผ่านมาผลงานสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมและจิตรกรรมขนาดใหญ่ ต่อมาได้พัฒนาผลงานในรูปแบบดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์ในช่วงปี2556-2562 ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม โดยได้พัฒนาผลงานแนวดิจิตอลและทดลองสร้างงานพิมพ์อิงค์เจ็ทดิจิตอลแบบมีเพียงชิ้นเดียวผลงานชุดนี้นำมาจัดแสดงครั้งแรกในนิทรรศการ “80+Art Festival in Thailand  2019 – 2020 BY CHAVALIT SOEMPRUNGSUK “ ในพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะที่ประเทศไทยเฉลิมฉลองอาจารย์ชวลิต อายุครบ 80 ปี  ถือเป็นงานแสดงล่าสุดที่บ้านเกิด

 

     ในวัย 80 ปี ศิลปินอาวุโสผลิตผลงานศิลปะออกมาอย่างสม่ำเสมอที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ แม้จะต้องต่อสู้กับโรคประจำตัว ทั้งโรคหัวใจและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ชวลิตเริ่มมีอาการอ่อนเพลียและไอตั้งแต่วันที่10 เม.ย.2563 ก่อนจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าได้รับชื้อไวรัสโคโรน่า2019  และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล OLVG Oost กลางกรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่17 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้รับการดูแลจากทีมแพทย์และมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องจากญาติมิตรที่ไทย ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก โดยประสานงานกับเพื่อนฝูงและลูกศิษย์ในเนเธอร์แลนด์ แต่สภาวะการณ์ของโรคพัฒนาไปมากจนเข้าขั้นวิกฤต  

ทางโรงพยาบาลได้เปิดให้คนสนิทเข้าเยี่ยมพร้อมทั้งได้เปิดเพลงคลาสสิคที่อาจารย์ชื่นชอบปิดหน้าต่างรับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ของฤดูใบไม้ผลิให้เข้าสู่ห้องพักอาจารย์ชวลิตได้นอนหลับไปในช่วงเวลาสุดท้าย และถึงแก่กรรมอย่างสงบวันที่27 เม.. 2563 เวลา 11:30 สิริรวมอายุ 80 ปี

 

ผลงานศิลปะแสดงในนิทรรศการครั้งสุดท้ายที่ไทย

 

 

     ย้อนไปปี 2556 อาจารย์ชวลิตมาแสดงเดี่ยว”In amsterdam with Chavalit Soemprungsuk “ ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ศิลปินตัดสินใจมอบทรัพย์สินกว่า 4,000  ชิ้นให้แก่รัฐบาลไทย ระกอบด้วยผลงานศิลปะ หนังสือเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ส่วนตัว และโครงสร้างอพาร์ทเมนต์ที่อัมสเตอร์ดัม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะ รวมทั้งมอบผลงานศิลปะให้กับกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เพื่อเป็นสมบัติของชาติและสร้างประโยชน์ต่อศิลปินรุ่นหลังของไทยได้ศึกษาเรียนรู้ 

 

     ปีถัดมาอาจารย์ชวลิตได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ       มีบทสัมภาษณ์ในวาระสำคัญนี้สะท้อนเจตนารมณ์บนเส้นทางสายศิลปกรรมและการทำงานศิลปะว่า “ ไม่มีสิ่งใดอีกแล้ว สำหรับคนที่เกิดมาทำศิลปะในชาตินี้จะล้ำเลิศ ให้ความสุข ปีติได้มากไปกว่าการได้เป็นผู้ให้สิ่งที่ดีงามต่อเพื่อนมนุษย์ “ 

 

     สุชาย พรศิริกุล ผู้อำนวยการโครงการ 80+ Chavalit Soemprungsuk ลูกศิษย์รั้วศิลปากร กล่าวว่า  .ชวลิต มีความประสงค์จะจากโลกไปอย่างเรียบง่ายสมถะ ไม่ต้องมีการจัดงานพิธีศพ โดยมีเจตจำนงค์บริจาคร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ให้กับ รพ.แห่งหนึ่งในอัมสเตอร์ดัม สอดคล้องกับเมื่อ6 ปีก่อนศิลปินแห่งชาติผู้นี้ได้ส่งมอบผลงานสร้างสรรค์ทรงคุณค่าทั้งหมดให้กับ วธ.เพื่อเป็นสมบัติของชาติและของโลกหวังจะให้เกิดประโยชน์กับคนรุ่นหลัง  

                “ อาจารย์ชวลิตได้มอบผลงานมากกว่า 1,500 ชิ้นให้กับกระทรวงวัฒนธรรมโดยมีเงื่อนไขทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานของท่าน นอกจากนี้จะมีอุปกรณ์การทำงานศิลปะ ของใช้ส่วนตัวและหนังสือที่อาจารย์สะสมไว้รวมแล้ว4,000 ชิ้น  เพื่อจัดแสดงที่หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งใหม่ในพื้นที่กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นสถานที่แสดงงานระดับมาสเตอร์พีซของประเทศ  นอกจากอาจารย์ชวลิตยังมีงานศิลปินแห่งชาติอาจารย์ทวี รัชนีกร อาจารย์อินสนธิ์ วงศ์สาม  อาจารย์พิชัย นิรันต์ ศิลปินตั้งใจมอบผลงานให้เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ “ สุชาย กล่าวและว่ายังมีผลงานของ อ.ชวลิตอีกจำนวนหนึ่งอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งศิลปินอยากให้นำกลับมาไทยเพื่อให้คนได้เสพสุนทรียะงานศิลป์ 

 

นิทรรศการ Chavalit 80+ Art Festival ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป ก่อนศิลปินจากไปด้วยโควิด

     

       สำหรับนิทรรศการครั้งสุดท้ายในชีวิตคือ Chavalit 80+ Art Festival  ที่ไทยเพิ่งจบไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสุชาติ กล่าวว่า โปรเจ็ค Chavalit 80+ Art Festival นี้อาจารย์ชวลิตยังบอกกับคนที่มาชมงานศิลปะว่าท่านใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทเพราะทุกวันอาจเป็นวันสุดท้าย วันนี้ พรุ่งนี้อาจตายได้ จึงไม่รอ อยากทำอะไรก็ทำเลย นิทรรศการนี้สะท้อนตัวตนของศิลปินที่ไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนางานศิลป์  ช่วงหลังศิลปินแห่งชาติวางแปรงพู่กันหันมาสร้างงานด้วยเทคนิคดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์และเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านเฟสบุ๊คส์Chavalit Soemprungsuk นิทรรศการนี้รวบรวมผลงานดังกล่าวมาแสดงใน พื้นที่ฉลองวาระครบ80 ปีของท่าน เช่น หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน,อศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครล้ง191, หอศิลป์อาจารย์ฝรั่ง แล้วก็มีขึ้นไปแสดงที่หอศิลป์ริมน่าน .น่าน และเตรียมจะนำผลงานทั้งหมดมาแสดงที่พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือนกรกฎาคมนี้ ในวาระครบ81 ปีของท่าน จะมีกิจกรรมทอล์คกับศิลปิน แต่ อ.ชวลิต จากไปเสียก่อนจากโควิด  สำหรับสิ่งที่ .ชวลิตอยากจะทำ คือ หนังสือรวบรวมประวัติและผลงานส่วนตัวเพื่อเป็นบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ตนและลูกศิษย์คนอื่นๆ จะร่วมกันทำความฝันของอาจารย์ให้เป็นจริง 

 

ผลงานแนว abstract เทคนิคดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์

 

 

           ด้าน นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วธ.กล่าวว่า  วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติได้มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพจำนวน 20,000  บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ รวมทั้จัดพิธีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่อาจารย์ชวลิต เสริมปรุงสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในวันศุกร์ที่.เวลา 10.30 หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมแสดงความอาลัยและเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ ด้วยตลอดเส้นทางสร้างงานอาจารย์ชวลิต แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสืบสาน ต่อยอด พัฒนางานศิลปะร่วมสมัยของไทยไปสู่ระดับนานาชาติ

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"