'พี่ศรี'บุก สตง.สอบหน้ากากผ้า ข้องใจกระทรวงอุตฯเจตนาเลี่ยงกฎหมายหรือไม่


เพิ่มเพื่อน    

30 เม.ย.63 - เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบหน้ากากอนามัยชนิดผ้าของกระทรวงอุตสาหกรรมว่ามีคุณภาพคุ้มค่าต่อเงินแผ่นดินที่เสียไปหรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมาเปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง จำนวน 65 ล้านบาท ให้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อผลิตหน้ากากผ้าและแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงพื้นที่เสี่ยงอื่น จำนวน 10 ล้านชิ้น เพิ่มเติมจากที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น

แต่ปรากฏว่าหน้ากากผ้าที่แจกจ่ายให้ประชาชนจริงผ่านระบบไปรษณีย์นั้นกลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ทั้งเรื่องจำนวนที่แจกเพียงแค่ครอบครัวละ 1 ชิ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องแจกจ่ายให้กับประชาชน 1 คนต่อ 1 ชิ้น ซึ่งจากข้อมูลประกาศสำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 เฉพาะประชากรกรุงเทพมหานครมีถึง 5.6 ล้านคน ยังไม่นับรวมจังหวัดในปริมณฑล เช่น นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ที่มีประชากรรวมแล้วกว่า 4.6 ล้านคน การดำเนินการ ณ ขณะนี้การจัดส่งก็ยังไม่ทั่วถึงแต่อย่างใด บางบ้านได้รับ แต่บ้างบ้านไม่ได้รับ แม้จะเป็นบ้านใกล้เคียงกันและอยู่ในชุมชนเดียวกันก็ตาม เป็นการชี้ให้เห็นว่าเป็นการแจกจ่ายที่ไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน แต่กลับมากล่าวอ้างว่า หากคนใดไม่ได้รับให้โทรศัพท์ไปแจ้งหรือแจ้งผ่านระบบสารสนเทศ ซึ่งหน้ากากผ้าราคาไม่ถึง 2.5 บาทและคุณภาพยังเป็นปัญหาไม่มีใครเสียเวลาเสียเงินไปแจ้ง แต่ทว่าเป็นกลวิธีในการใช้อธิบายต่อสังคมว่าเปิดช่องทางให้ประชาชนไว้แล้ว นั่นเอง

นอกจากนั้นหน้ากากอนามัยชนิดผ้าของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรองรับแต่อย่างใด อาจเป็นเพราะต้องการหลบเลี่ยงกฎหมาย ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ทั้งๆ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่ทว่าเมื่อมาดำเนินการผลิตหน้ากากอนามัยชนิดผ้าเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 กลับใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมรองรับเสียเอง หากแต่ใช้มาตรการแก้หน้า คือ การออกประกาศเมื่อวันที่ 6 มี.ค.63 เรื่อง ข้อแนะนำคุณลักษณะผ้าที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งไม่มีกฎหมายรองรับ จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเห็นว่าน่าจะเป็นการหลบเลี่ยงการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4012(พ.ศ.2552) ออกตามความใน พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 นั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นคำถามของคนในสังคมว่าเมื่อหน้ากากไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมรองรับเอามาแจกให้ประชาชนทำไม และการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินจำนวน 65 ล้านบาทดังกล่าว จะมีประสิทธิผลและคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"