กองบัญชาการ “ตำรวจไซเบอร์” สู้สึกเฟกนิวส์-ปราบโจรโซเชียล


เพิ่มเพื่อน    

        สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของประเทศไทยเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเกือบทุกวัน ยอดติดเชื้อเหลือเลขหลักเดียว ยอดสะสมผู้ติดเชื้อ 2,938 ราย แต่เป็นที่น่ายินดีผู้ป่วยเหล่านั้นหายดีสามารถกลับบ้านได้แล้ว 2,652 คน แต่ทางศูนย์บริหารสถานการโควิด-19 (ศบค.) ย้ำเตือนยังต้องยกการ์ดสูงเฝ้าระวังอยู่ตลอด ถึงแม้เราจะมีมาตรการที่รัดกุม  เพราะยังมีคนไทยที่อยู่ประเทศกลุ่มเสี่ยงแจ้งความประสงค์เดินทางกลับประเทศอีกจำนวนมาก รวมทั้งช่องทางธรรมชาติ

                เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนต่างบูรณาการกำลังต่อสู้กับไวรัสโควิดกันอย่างเข้มแข็ง มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลายฉบับเป็นแนวทางการปฏิบัติและข้อบังคับใช้เพื่อระงับยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะการรวมกลุ่มพบปะสังสรรค์ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี รัฐบาลได้มีการประกาศปิดสถานบันเทิง สถานบริการ ต่อด้วยคำสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้  เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดให้มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มีมติขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน คือวันที่ 1-31 พ.ค.63 และให้คง 4 มาตรการ 1.ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร 2.ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. 3.งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัด และ 4.งดการดำเนินกิจกรรมในคนหมู่มาก เพราะสถานการณ์ยังไม่นิ่ง มีผู้ฝ่าฝืนออกนอกเคหสถานโดยไม่มีเหตุผลสมควรกว่า 16,000 กว่าคน และผู้ฝ่าฝืนรวมกลุ่ม ชุมนุม หรือมั่วสุม ในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้ออีกกว่า 1,800 กว่าคน 

                นอกจากการต่อสู้กับไวรัสโควิดแล้ว เจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งยังต้องต่อสู้กับไวรัสโควิดไซเบอร์ มีผู้โพสต์ข่าวปลอมทางโซเชียลสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม บิดเบือนข้อมูลสร้างความแตกแยกของคนในสังคม ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิด “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” (Anti-Fake News Center) ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) เพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบกำจัดข่าวปลอม ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เข้าใจรู้เท่าทันข่าว โดยเฉพาะข่าวโรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจ สร้างความแตกแยกในสังคม

                นับตั้งแต่เชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาด มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผู้โพสต์ แชร์ ข่าวปลอมสร้างความตื่นตระหนกในสังคมจำนวนมาก มีทั้งตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกจับกุมดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมพ์ ไปเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เป็นหน่วยงานหลักการจับกุมผู้กระทำความผิดคดีโซเชียล  โดยกองบังคับการตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งมี พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น เป็นผู้นำหน่วย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สืบสวนสอบสวน ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ รับแจ้งเบาะแสจากประชาชน ตลอดจนให้คำปรึกษา แนะนำตลอดจนรวบรวมสภาพปัญหา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน

                แต่ด้วยสภาพปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกยุคดิจิทัล ทำให้คดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งคดีที่ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง และคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มีนโยบายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพื่อปกป้องประชาชน เยาวชน สังคมและประเทศชาติให้มีความปลอดภัย ให้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีครอบคลุมทั่วประเทศ

                “บิ๊กแป๊ะ” พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้มอบหมายให้สำนักงานกำลังพลไปทำการศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนมีวิธีการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ความจำเป็นในการตั้ง “บช.ปอท.” พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร.และโฆษก ตร. ได้ชี้แจงด้วย ปัจจุบันคดีอาชญากรรมจำนวนมากกระทำผ่านเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต เช่น การฉ้อโกงหลอกขายสินค้าออนไลน์, การหลอกให้โอนเงิน, Fake News, Roman Scam, การเข้าถึง โจมตีหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่งคดีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความซับซ้อน การสืบสวนสอบสวนจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน การเก็บพยานหลักฐาน การตรวจพิสูจน์ การวิเคราะห์แนวโน้มอาชญากรรม รวมถึงการพัฒนาระบบและบริหารจัดการองค์ความรู้

                จำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนสามารถร่วมปฏิบัติหรือสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ในปัจจุบัน มีขีดจำกัดในด้านกำลังพล ไม่สามารถรองรับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มจำนวนคดีที่เกิดขึ้นสูงขึ้นในอนาคตได้

                “ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้  ในการจัดตั้งกองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยจะพิจารณาถึงขีดความสามารถในการอำนวยความยุติธรรมและการให้บริการประชาชนเป็นหลัก ยืนยันไม่ได้ดำเนินการเพื่อปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็นของประชาชน แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมุ่งมั่นทุ่มเทและพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อพิทักษ์ปกป้องประชาชน เยาวชน สังคม และประเทศชาติ ให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงเป็นหลักประกันความยุติธรรมในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มีมาตรฐานสากล”

                โจรไม่เลือกวันเวลาอาศัยช่องเทคโนโลยีเป็นเครื่องก่อเหตุ แต่ละนาทีมีผู้ตกเป็นเหยื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การยกระดับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เป็นกองบัญชาการฯ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ  งบประมาณ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสกัดช่องทางการก่อเหตุและติดตามตัวคนร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คนคอยจ้องจะก่อเหตุจะก้าวนำเจ้าหน้าที่อยู่ก้าวหนึ่งตลอด “ตำรวจไซเบอร์” จึงจะเป็นอีกหน่วยสกัดโจรโซเชียล. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"