ไม่ซับซ้อน!'หมอแก้ว'ประเมินการเปิดกิจการที่มีความเสี่ยงแพร่เชื้อ หากผู้ให้และรับบริการเยอะก็เสี่ยงสูง


เพิ่มเพื่อน    

28 เม.ย.63-  นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก "หมอแก้ว ผลิพัฒน์"ประเด็นว่าด้วยการประเมินความเสี่ยง ว่าวันนี้มีคำถามเกี่ยวกับการผ่อนปรนมาตรการการปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ โดยคำถามหลักจะอยู่ที่วิธีการประเด็นว่าสถานที่หรือกิจการใดมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด มีวิธีประเมินอย่างไร

โดยทั่วไป การประเมินว่าสถานที่หรือกิจการใดที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อก็อาศัยหลักการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ทั่วไปนี่แหละครับมาใช้ในการประเมิน

ซึ่งความเสี่ยงสามารถคำนวณได้จากโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ (Likelihood) ขึ้น และผลกระทบ (Impact) หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น

สำหรับกรณีการพิจารณาความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานที่และกิจการ สามารถนำหลักการประเมินความเสี่ยงได้ ดังนี้

โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับ 1) ลักษณะการสัมผัส 2) ระยะเวลาการสัมผัส และ 3) ความสามารถการระบายอากาศ

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ให้บริการและผู้รับบริการในสถานประกอบการนั่นๆ นั่นคือ หากมีจำนวนผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นจำนวนมากหากมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น ก็จะมีผลกระทบสูงนั่นเอง

ก็ตรงไปตรงมาไม่ได้มีอะไรซับซ้อนครับ

หมายเหตุ: ตัวเลขที่ให้ไว้ในตารางบางตัวเลขเป็นแค่กรอบคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ เวลาเอาไปใช้จริง อาจพิจารณาได้ตามความเหมาะสมของบริบทครับ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"