ผลของโควิด-19ต่อโลกและธุรกิจ


เพิ่มเพื่อน    

      ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ได้เริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก แน่นอนว่าทำให้หลายคนอาจจะกำลังได้รับผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวอยู่ในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บป่วย การงาน รายได้ หรือสินค้าราคาแพงที่ขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกแง่มุมจากไพรซ์ซ่าเกี่ยวกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกและธุรกิจ เพราะแม้จะมีหลายสิ่งกำลังแย่ ก็ยังมีสิ่งดีๆ เหล่านี้อยู่ เพราะบางทีไวรัสโควิด-19 อาจทำให้ธรรมชาติของโลกใบนี้ได้พักหายใจไปบ้าง

                เมื่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวลดลง ก็จะเห็นได้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติถูกปิดชั่วคราว ระบบนิเวศจึงมีโอกาสฟื้นฟูตัวเองได้มากกว่าปกติ อย่างเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา พบเต่าทะเล Olive Ridley1 ที่ถือเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กว่าแสนตัวกลับขึ้นมาวางไข่ในรอบ 7 ปี หลังจากที่เว้นมาตั้งแต่ปี 2556 บนชายหาด Rushikulya และ Gahirmatha รัฐโอดิชา ประเทศอินเดีย ในช่วงที่มาตรการล็อกดาวน์ในประเทศได้เริ่มต้นขึ้น

                ขณะเดียวกัน หลังจากหลายๆ ประเทศได้เริ่มใช้มาตรการปิดเมือง ปิดประเทศ หรือที่เรียกว่า Lock Down จำกัดการเดินทางของประชาชน หรือให้งดออกจากที่อยู่อาศัย ผลปรากฏว่ามลพิษทางอากาศของประเทศเหล่านั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยดัชนีที่ใช้ชี้วัดมลพิษในอากาศ ได้แก่ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ที่องค์การอนามัยโลก ระบุว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกอันตราย ที่มีสาเหตุมาจากกระบวนการดำรงชีวิตของพืช การทำอุตสาหกรรม และการเผาผลาญเชื้อเพลิงในยานพาหนะ ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรงได้ โดยประเทศจีนมีปริมาณก๊าซ NO2 ลดลงประมาณ 10-30%

                ส่วนสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในโลก หลังจากประกาศให้ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน ปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงไปประมาณ 30% ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่อิตาลีมีปริมาณก๊าซ NO2 ลดลงประมาณ 40% และอินเดียที่มีประชากรราว 1,400 ล้านคน หลังรัฐบาลประกาศ Lock Down ห้ามออกจากบ้านในระยะเวลา 1 สัปดาห์ พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ ณ เมืองหลวงของประเทศ กรุงนิวเดลี ลดลงจากช่วงก่อนการประกาศถึง 71%

                แล้วในเรื่องของไวรัสโควิด-19 ธุรกิจล่ะ? เป็นที่ทราบกันดีว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดนี้ ส่งผลให้หลายธุรกิจมีรายได้ที่ลดลง แต่ในทางกลับกันมันได้สร้างโอกาสให้บางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์เดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็เติบโตขึ้น 78.85% เพราะการกักตัวอยู่ในบ้าน ห้างร้านต่างๆ ปิดทำการ ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ที่สามารถสั่งของแบบสบายๆ กลายมาเป็นช่องทางการซื้อของที่ตอบโจทย์กับปัญหาในช่วงนี้นั่นเอง

                โดยหมวดหมู่ของสินค้าที่มีอัตราการซื้อเติบโตขึ้น เมื่อเทียบในเดือนมีนาคม 2563 กับอัตราการซื้อเฉลี่ย 4 เดือนย้อนหลัง สูงสุด 5 อันดับแรก ตามข้อมูลจาก Priceza Insight พบว่าเป็นสินค้าประเภท สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง 139%, หนังสือ 105%, ส่วนลดและแพ็กเกจท่องเที่ยว 102%, สินค้าแม่และเด็ก 96% และอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องเขียน 95% ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

                ยังมีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงจำนวนรายการสินค้ารวมบนมาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ของไทย 3 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada และ JD Central บน Priceza.com ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ก่อนเกิดเหตุการณ์ไวรัสระบาด เปรียบเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านรายการ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากจำนวนผู้ขาย หรือเอสเอ็มอีที่ขยับกิจการมาสู่ตลาดออนไลน์มากขึ้น

                ในมุมผู้บริโภคการที่ผู้ขายมีจำนวนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีตัวเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น ไม่จำกัดว่าจะต้องซื้อจากร้านค้าเพียงไม่กี่รายอีกต่อไป นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างร้านค้า ที่ต้องออกโปรโมชั่นมาลดราคามาเพื่อแย่งลูกค้า ซึ่งผลประโยชน์ก็จะตกที่ผู้บริโภคเรา ในเรื่องการได้ซื้อราคาสินค้าที่ถูกลงมา

            จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาทั้งต่อโลกและเศรษฐกิจ เป็นผลระยะสั้นที่หากการแพร่ระบาดนี้จบลง สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงก็อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม เพราะเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น ล้วนเกิดมาจากความจำเป็น มองว่าทุกภาคส่วนรวมถึงตัวผู้บริโภคเอง จึงควรใช้โอกาสนี้หาแผนเสริมรักษาสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นให้คงอยู่สืบต่อไป และจำเป็นต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงระลอกใหม่อีกครั้งเมื่อภัยจากไวรัสสิ้นสุดลงอีกด้วย.

 รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"