27 เม.ย. 63 - นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊กว่า "ให้สัมภาษณ์ รายการ “ไทยคู่ฟ้า” ทำเนียบรัฐบาล “โควิด 19” ระบบการแพทย์ และสาธารณสุขของไทยดีมาก โชดดีทีเกิดเป็นคนไทย อาศัยบนพื้นแผ่นดินไทย...ครับ https://www.facebook.com/154553218343826/posts/901600333639107/?vh=e&d=n
ผู้ป่วยโควิด 19 ตั้งแต่แทบไม่มีอาการ จนอาการหนักได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกคน ช่วยเพื่มการรอดชีวิต และลดการแพร่ระบาดโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี อัตราป่วยตายของไทย ต่ำมาก ~ 1.7% เรารักษาหายกลับบ้านแล้ว 88.8 % (จากผู้ป่วย 2,922 คน ดูได้จากรายการ
ชื่นชมพลังความร่วมมือ และระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และระบบการตรวจ Lab โดยกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) และพลังความร่วมมือทุกหน่วยงาน ทัศนคติ ความรู้ พฤติกรรม พลังความร่วมมือ ประชาชน > 90 % สถานการณ์จะอยู่ภายใต้การควบคุม และรอ “หมัดน็อก” = วัคซีนโควิด 19
1) หลังร่างกายได้รับเชื้อโควิด 19 ส่วนใหญ่จะแสดงอาการ ~ วันที่ 5 ภายหลังจากการรับเชื้อ ระยะของการฝักตัว (เมื่อได้รับเชื้อจนมีอาการป่วย) 1-14 วัน
2) ความสามารถในการแพร่โรคของผู้ป่วย โควิด 19
2.1) บางกรณีที่มีผู้แพร่โรคให้กับคนอื่นได้มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า “super spreader” และการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ความสามารถในการแพร่โรคจะสูงขึ้น เช่น สนามมวย สถานบันเทิง ซึ่งในช่วงนั้นประเทศไทยมีค่าความสามารถในการแพร่โรคอยู่ที่ ผู้ป่วย 1 คนแพร่โรคได้ 3.6 คน 2.2) ขณะนี้ประเทศไทยมีค่าความสามารถในการแพร่โรค ผู้ป่วย 1 คนแพร่โรคได้ 1-2 คน
3) การติดต่อของโรคคือ 2 ทางหลัก
3. 1) ได้รับเชื้อไวรัสโดยตรง เมื่ออยู่ในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย และมีผู้ที่ไอหรือจาม ที่ไม่มีการป้องกันตนเอง 3.2) ผู้ป่วยไอ จาม และมีละอองเชื้อฝอยทิ้งไว้ในพื้นผิวสัมผัสทั่วไป แล้วผู้อื่นก็มาจับละอองฝอยเชื้อเข้าสู่ร่างกายด้วยการนำมือสัมผัสใบหน้า เช่น ปาก จมูก ตา
4) ขอให้แบ่งง่ายๆ เป็น 2 กลุ่ม
4.1) กลุ่มคล้ายผู้ป่วย (ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด) ต้องสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ซึ่งสามารถลดการแพร่กระจายของละอองเชื้อได้ถึงร้อยละ 97 เนื่องจากปริมาณละออง ความเร็ว ระยะทางที่เคลื่อนที่ไปได้จะลดน้อยลง ล้างมือ และทบทวนประวัติเสี่ยง ไปพบแพทย์ “ต้องเล่าความจริงทั้งหมด” ครับ 4.2) กลุ่มผู้ที่ยังไม่ป่วย แนะนำให้สวมหน้ากากชนิดผ้า เพื่อป้องกัน รวมถึงการทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการเช็ดน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ และหลีกเลี่ยงการนำมือสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ และหมั่นล้างมือให้สะอาด
5) เชื้อไวรัสโควิด-19 โดยทั่วไปจะอยู่ในสภาพแวดล้อม ประเทศไทยอากาศร้อน อยู่ได้ ~ 6 ชั่วโมง และสูงสุด ~ 24-72 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิวและอุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงเชื้อจะมีอายุที่สั้นลง
6) อาการของโรคโควิด 19 6.1) มีความแตกต่างในเด็กและผู้ใหญ่ คือ เด็กจะมีอาการน้อยกว่า สำหรับเด็ก ร้อยละ 49 มีอาการไอ ร้อยละ 42 จะมีอาการไข้ ร้อยละ 8 มีน้ำมูก ร้อยละ 7 มีอาการอ่อนเพลีย สำหรับผู้ใหญ่ ร้อยละ 89 จะมีอาการไข้ ร้อยละ 68 มีอาการไอ (อาการหลักที่สำคัญ) ร้อยละ 38 มีอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 14 จะมีอาการเจ็บคอ ร้อยละ 15 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร้อยละ 5 มีน้ำมูก
7) หากมีอาการของปอดอักเสบจะเริ่มแสดงอาการ เหนื่อย หอบ หายใจเร็วและลำบาก
7.1) ช่วงอายุมีผลต่ออัตราการเสียชีวิต - กลุ่มอายุ 10-19 ปีมีโอกาสต่ำมาก กลุ่มอายุ 50-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูง กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก (หากมีผู้ป่วยช่วงอายุนี้ 100 คน จะมีอัตราเสียชีวิตถึง ~ 15 คน
7.2) กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อและมีอาการรุนแรงสูงกว่าคนทั่วไปและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ อัมพาต โรคไตวายเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคอ้วน โรคตับแข็ง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และคนอ้วน (ผู้ที่มีดัชนีมวลมากกว่า 35 กก/ต่อตารางเมตร)
8.ความรุนแรงของโรค แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยติดเชื้อทุกคนไม่ได้มีอาการที่รุนแรง
8.1) ในผู้ติดเชื้อ 100 คน พบว่า 80 เป็นผู้ป่วยมีอาการน้อยถึงน้อยมาก สามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส และ 30 คนใน 80 คน เป็นการติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันแต่ไม่มีอาการ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากจะดีที่สุดคือการไม่ติดเชื้อเลย 8.2) ในผู้ติดเชื้อ 100 คน พบว่า 20 คน เป็นผู้ป่วยที่อาจจะต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล และ 5 คนใน 20 คน จะมีอาการรุนแรงและจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลในกรณีพิเศษ
9) กรณีการเสียชีวิตจะเฉลี่ยคือ ผู้ป่วย 100 ราย จะมีผู้ที่เสียชีวิตร้อยละ 1.4 แต่ความรุนแรงของการเสียชีวิตจะแตกต่างกัน (น่าเชื้อว่า น่าจะน้อยกว่า ร้อยละ 1
10) ขณะนี้มีการใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาตามอาการ ได้แก่ Favipiravir ที่เป็นยาหลัก Remdesivir อยู่ในขณะศึกษาวิจัย ส่วนยากลุ่มเสริมคือ Lopinavir+Ritonavir / Darunavir+ Ritonavir เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ และ Cloroquine ซึ่งเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย โดยในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน และในหลายประเทศได้เร่งทำการศึกษาวิจัยอยู่
สิ่งสำคัญ หมัดน็อกชนะโควิด 19 คือ 1) ลดและชะลอการติดเชื้อให้มากที่สุด (คนติดเชื้อมาก รนก็ตายมาก เช่น ถ้าติดเชื้อ จำนวน 1,000,000 คนพร้อมๆ กัน จะมีคนตาย 20,000-100,000 คน เพราะระบบและหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รับมือไม่ได้ และหมอพยาบาลอาจตายร่วมด้วย)
2) ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก บุกกลุ่มเสี่ยง และตรวจ lab 25,000 - 50,000 คน กรุณาอย่ากลัวพบผู้ป่วยมาก เราต้องบุก ค้น และตรวจให้มาก จำนวนผู้ป่วยไม่ใช่ความผิด แต่เราต้องรู้ความจริง เพื่อตีวงกลุ่มเสี่ยงเพื่อควบคุมโรคแบบเด็ดขาดครับ นี่คือ “หมัดน็อก"
3) หมัดน็อกง่ายๆ คือ พลังความร่วมมือทุกคน ปฏิบัติตามมาตรการ ที่แนะนำ ถ้าทำได้ มากกว่า ร้อยละ 90 เราชนะแน่นอนครับ"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |