กางยุทธศาสตร์ 'อพท.' ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวหลัง 'โควิด-19' ยุติ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

      อย่างที่ทราบกันดี การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกต่างงัดมาตรการห้ามเดินทางเข้า-ออกประเทศ (ล็อกดาวน์) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะที่ประเทศไทยได้ออกประกาศ พ.ร.ก.การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ส่งผลให้กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ จำต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

      อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะเป็นเป้าหมายสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อการระบาดของโควิด-19 จบสิ้นลง

      เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายและความพร้อมในทรัพยากรจากแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก   เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-tourism) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม (Cultural Attraction) ซึ่งทุกแหล่งท่องเที่ยวกลายเป็นจุดดึงดูดที่สำคัญที่สร้างศักยภาพให้ประเทศไทยขึ้นชั้นเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวในลำดับต้นๆ ของโลก การท่องเที่ยวจึงเป็นกลไกที่สามารถสร้างการเติบโตของรายได้ให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการท่องเที่ยวยังช่วยสร้างเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างแท้จริง

      ดังนั้น แผนงานที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยยังคงต้องเดินหน้าเป็นเส้นทางคู่ขนานระหว่างมาตรการเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับมาตรการเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินหน้าภาคการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 จบลง หรือเมื่อไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เป็นอย่างดีแล้ว เพราะท่องเที่ยวจะเป็นแฟล็กชิปที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้กระจายออกไปสู่ชุมชน

      ทั้งนี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อแผนงานดังกล่าวข้างต้น เพราะรูปแบบการทำงานของหน่วยงานดังกล่าวนี้ จะเข้าไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถยกระดับชุมชนในเรื่องการบริการจัดการการท่องเที่ยวให้กลับมามีศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อพท.จึงได้มีการปรับกิจกรรมบางส่วนภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ 2563 ให้สอดรับกับสถานการณ์แต่คงไว้ซึ่งเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของ อพท. ในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ฯลฯ

      สำหรับยุทธศาสตร์ของ อพท. ในปี 2563 ได้เปิดพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวใหม่ ในพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ครอบคลุมคือ จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งขณะนี้ได้เข้าไปต่อยอดพัฒนากิจกรรมการยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นสู่วัฒนธรรมอาหารแบบยั่งยืนใน 5 ชุมชน 1 เครือข่าย ชุมชนบ้านไร่กร่าง ชุมชนบ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์ และเครือข่าย คีรีมณีประดู่ จังหวัดเพชรบุรี   ชุมชนบ้านทุ่งประดู่ ชุมชนบ้านม้าร้อง ชุมชนบ้านหินเทิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมอบให้สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8 หรือ อพท.8 และสำนักท่องเที่ยว โดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ รวมถึงการผลักดันให้เมนูอาหารถิ่นของชุมชนได้ก้าวเข้าสู่โครงการ "เชฟชุมพล สร้างเชฟชุมชน" เพื่อสร้างสรรค์เมนูอาหารใหม่ๆ ที่มีมาตรฐานและปลอดภัยในการให้บริการ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามแผนยุทธศาสตร์ อพท. ระยะ 4 ปี (2562-2565) โดยทุกพื้นที่ทุกชุมชนที่ อพท.เข้าไปพัฒนาสำเร็จแล้ว จะเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและชุมชนอื่นๆ ได้เข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาดูงาน

      กิจกรรมการยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นสู่วัฒนธรรมอาหารแบบยั่งยืนเป็นเป้าหมายของ อพท. ในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน เพราะถือเป็นการเตรียมความพร้อม หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จบลง เพื่อให้ชุมชนพร้อมที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเยือนในพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบายสำคัญที่นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ อพท. ได้ระบุไว้ว่า “ศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกแห่งนี้มีความโดดเด่นที่หลากหลาย สามารถพัฒนาสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในด้านอาหารและด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นจุดขายสำคัญของตลาดในปัจจุบัน และชุมชนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่”  และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มอบไว้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

      สำหรับความน่าสนใจของแต่ละชุมชนทั้งหมด ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะวัตถุดิบทางด้านอาหาร ชุมชนบ้านไร่กร่าง เป็นชุมชนอนุรักษ์วิถีตาลผ่านการท่องเที่ยว โดยนำตาลโตนดมาเป็นส่วนประกอบหลักในการประกอบอาหาร เช่น แกงหัวโหนด ยำหัวโหนด และได้ต่อยอดเมนูใหม่ผ่าน "เชฟชุมพล สร้างเชฟชุมชน" เป็นยำหัวโหนด สเต๊กหัวโหนด ชุมชนบ้านถ้ำเสือโฮมสเตย์ จุดเด่นในเรื่องของทัศนียภาพ และเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารปลอดสารพิษ เช่น หน่อไม้ ปลาน้ำจืด ผักกูด และผักตามฤดูกาลที่มีตลอดทั้งปี สามารถเปิดร้านอาหารชุมชนและแหล่งเรียนรู้การประกอบอาหารให้กับนักท่องเที่ยว

      ชุมชนบ้านทุ่งประดู่ เป็นชุมชนที่มีเมนูอาหารแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ เมนูงบปลายาง น้ำพริกกะปิ ที่ใช้เคยมาเป็นวัตถุดิบ และเมนูขนมหวานอย่างอัญมณีนกคุ้ม ที่มีการถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจ ชุมชนบ้านม้าร้อง เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่นำมาเป็นวัตถุดิบหลักตามวิถีชุมชน เช่น เมนูแกงเหมงพร้าว และยังสามารถเข้าร่วมโครงการ "เชฟชุมพล สร้างเชฟชุมชน" เพื่อสร้างสรรค์เมนูใหม่ เช่น ยำม้าร้อง ชุมชนบ้านหินเทิน เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวและกุยช่าย มีจุดเด่นเมนูอาหารพื้นถิ่นดั้งเดิม เช่น ผัดกากมะพร้าว แกงยอดมะพร้าว ซึ่งชุมชนได้พัฒนาภาชนะที่ทำจากผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น โจ๊กกะลา กาแฟเสิร์ฟในแก้วมะพร้าว มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

      พื้นที่เครือข่ายท่องเที่ยวคีรีมณีประดู่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชนเผ่าไทยทรงดำ ที่มีเรื่องราววิถีของชุมชนและอาหารประจำชนเผ่า ที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมา โดยเฉพาะเมนูผักจุ๊บและแจ่วด้าน สามารถเป็นแหล่งกิจกรรมเรียนรู้ด้านการทำอาหารตามวิถีชนเผ่า ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ที่พร้อมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยการบริหารจัดการต่อยอดทรัพยากรอาหารที่มีอยู่                       

      แผนงานเหล่านี้รอวันที่จะกลับมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยที่จะกระจายรายได้เข้าไปสู่ชุมชนหลังโควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งเชื่อว่าด้วยมาตรการรัฐบาลที่ออกมาคงใช้เวลาอีกไม่นานแน่นอน. 

 

 “ศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกแห่งนี้มีความโดดเด่นที่หลากหลาย สามารถพัฒนาสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในด้านอาหารและด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นจุดขายสำคัญของตลาดในปัจจุบัน และชุมชนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่” 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"