ศบค.เปิดตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ประจำวันเสาร์พุ่ง 53 ราย เหตุ Active Case Finding แรงงานต่างด้าวในศูนย์กักขัง อ.สะเดา พบติดโควิด-19 ถึง 42 ราย แต่ทั้งหมดแข็งแรงดี ขณะที่ยอดคนไทยทั่วประเทศติดเชื้อแค่ 11 คน "อนุทิน" ชงนายกฯ ให้มีคำสั่งระงับการเดินทางเข้ามาของชาวต่างชาติ หวั่นซ้ำรอยสิงคโปร์ "หมอทวีศิลป์" เผยเหลือผู้ป่วยยังรักษาอยู่แค่ 309 ราย
เมื่อวันที่ 25 เมษายน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ระบุว่า ผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้ 53 ราย มาจากการทำ Active Case Finding ศูนย์กักขังแรงงานต่างด้าว อ.สะเดา จ.สงขลา 42 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,907 ราย ใน 68 จังหวัด หายป่วยแล้ว 57 ราย หายป่วยสะสม 2,547 ราย รักษาอยู่ 309 ราย เสียชีวิต 1 ราย สะสมรวม 51 ราย ผู้เสียชีวิตรายล่าสุดเป็นชายไทย อายุ 48 ปี อาชีพรับจ้าง สัมผัสผู้ป่วยยืนยันที่เป็นคนในครอบครัว 4 ราย มีน้องชายทำงานสถานบันเทิงย่านทองหล่อ น้องสะใภ้ พ่อและแม่
โฆษก ศบค.เผยว่า การทำ Active Case Finding มาจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ (ผอ.ศบค.) เห็นประเทศสิงคโปร์พบผู้ป่วยจากแรงงานต่างด้าว จึงให้นโยบายเชิงรุกและเข้าไปตรวจมากขึ้น สอดคล้องกับการประกาศเขตโรคติดต่ออันตรายเพิ่มอีก 5 ประเทศ มาเลเซีย กัมพูชา สปป.ลาว อินโดนีเซีย เมียนมา พบทั้ง 42 รายร่างกายแข็งแรงดี แต่จะเอกซเรย์ปอดเพื่อตรวจคัดกรองอาการแต่ละคน อีกด้านหนึ่งเป็นหลักมนุษยธรรม แม้จะเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็ดูแลทุกคนให้ปลอดโรค ปลอดภัย ขอบคุณชาวจังหวัดสงขลาที่ให้พื้นที่ดูแล เพราะมีขอบชายแดน อีกทั้งมีการปิดด่านสะเดาเพราะมีผู้ติดเชื้อ จึงจำกัดพื้นที่และจะดูแลเยียวยาอย่างเต็มที่
นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ผู้ป่วยใหม่ 53 ราย มาจากสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 3 ราย ไปในสถานที่ชุมชน 1 ราย พบที่กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต ส่วน 7 คนมาจากการค้นหาเชิงรุกที่จังหวัดยะลา ส่วนศูนย์กักขัง มีชาวเมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย เยเมน กัมพูชา และอินเดีย ผู้ป่วยสะสมมากที่สุดกรุงเทพฯ ภูเก็ต นนทบุรี สมุทรปราการ และยะลา ส่วนจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยใหม่มี 9 จังหวัด
ส่วนจังหวัดที่มี PUI สะสมมากกว่า 1,000 ราย ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ภูเก็ต ยะลา ชลบุรี และสมุทรปราการ จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 7 วันที่ผ่านมา 14 จังหวัด กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และภาคใต้ ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14 วันที่ผ่านมา มี 7 จังหวัด ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา มี 12 จังหวัด เมื่อจำแนกผู้ป่วยตามปัจจัยเสี่ยงรายสัปดาห์ พบผู้ป่วยจากอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัดลดลง เพราะมีมาตรการลงไป แต่เพิ่มที่ศูนย์กักขังตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะต้องหาวิถีทางใหม่ๆ เข้าไปเชิงรุกหาผู้ป่วยยืนยันให้ได้ โดยตรวจคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย
คนไทยทยอยกลับประเทศ
นพ.ทวีศิลป์ยังกล่าวถึงสถานการณ์โลกว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,830,082 ราย รักษาตัว 58,523 ราย รักษาหายแล้ว 798,182 ราย เสียชีวิต 197,246 ราย สหรัฐอเมริกายังเป็นอันดับหนึ่ง เสียชีวิตสะสม 52,185 ราย ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 57 เมื่อดูจากกราฟ พบว่าสหรัฐอเมริกายังทรงตัว แต่ก็ยังกระจุกตัวที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่วนเอเชียพบที่อินเดียมากที่สุด โดยที่สหรัฐอเมริกา พบรัฐนิวยอร์กมีจำนวนผู้ป่วย 1.38 แสนราย และมีแนวโน้มเป็นล้านคน เนื่องจากข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยในช่วงแรกของการแพร่ระบาด ส่วนประเทศอินโดนีเซีย ระงับการเดินทางในประเทศชั่วคราว ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือ ตั้งแต่วันแรกของเดือนรอมฎอน (24 เม.ย.)
เขากล่าวว่า มีนักศึกษากลับจากอิหร่าน 21 ราย มาถึงประเทศไทยแล้วเมื่อเช้า และจะมีพระภิกษุ แม่ชี ผู้ปฏิบัติธรรมกลับจากอินเดีย 171 ราย วันที่ 26 เม.ย. มีนักเรียน นักศึกษา คนงาน และนักท่องเที่ยวกลับจากออสเตรเลีย 212 ราย โดยทุกคนจะต้องเข้าสู่กระบวนการ State Quarantine ขณะที่กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ออกมาตรการด้านการขนส่ง ขนถ่ายสินค้าบริเวณด่านพรมแดน เพื่อเอื้ออำนวยการขนส่งให้อยู่ตามด่านชายแดน โดยมีพื้นที่ควบคุมและมาตรการควบคุม มีจุดคัดกรอง พ่นยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด และมีที่พักสำหรับการกักตัวถ้าจำเป็น กำชับให้ขนถ่ายสินค้าอย่างรวดเร็ว ห้ามคนขับลงจากรถ และต้องกลับเข้าราชอาณาจักรไม่เกิน 7 ชั่วโมง
ส่วนมาตรการเคอร์ฟิว ฝ่ายความมั่นคงดำเนินคดีออกนอกเคหสถาน 517 คน มั่วสุม 40 คน มากที่สุดในแต่ละภาค ประกอบด้วย เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ปทุมธานี และกรุงเทพฯ เมื่อวิเคราะห์สถิติสะสม 4,376 ราย พบผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่มาจากการเล่นพนัน ส่วนการออกนอกเคหสถาน 12,109 ราย พบผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่อายุ 19-30 ปี
นพ.ทวีศิลป์ยืนยันว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงแน่นอน แต่จะสอบถามนักวิชาการด้านสถิติ เป็นชุดพฤติกรรมคนที่สูบบุหรี่ต้องสังสรรค์ ซึ่งการสังสรรค์และการใช้บุหรี่มวนเดียวกัน ก็มีการปนเปื้อนเชื้อจากน้ำลาย ส่วนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นละอองฝอยก็ไปยังผู้อื่น การสูบบุหรี่ทำให้ปอดไม่ดี เพราะมีสารนิโคติน เชื้อโรคต่างๆ เข้าไปจับได้ง่าย บางคนเป็นโรคถุงลมโป่งพองอยู่แล้วก็มีความเสี่ยง
เมื่อถามว่า ผู้ผลิตละคร ผู้ผลิตรายการ ขอทราบแนวทางการคลายล็อก และรัฐบาลพิจารณาการผ่อนคลายล็อกดาวน์อย่างไร โฆษก ศบค.ตอบว่า กิจการใดจะคลายล็อกก็จะดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว และจากปรากฏการณ์และสถิติ ชุดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดขึ้น เช่น สถานบันเทิง ซึ่งทั่วโลกก็ใช้หลักการเดียวกัน ต้องการให้กิจกรรมที่มีระยะห่างทางกายเกิดขึ้น นอกจากนี้ ภาคผู้ประกอบการในรูปแบบชมรม สามารถเสนอมาตรการป้องกันและกำหนดชุดพฤติกรรมได้ ถ้ามั่นใจและทำได้ สมาชิกรับปฏิบัติการแข่งขัน ยอมรับการตรวจสอบเป็นระยะ ก็จะสามารถเปิดได้
ถามว่า ศบค.กำชับแต่ละจังหวัดที่จะมีมาตรการคลายล็อกอย่างไร นพ.ทวีศิลป์ยืนยันว่า เป็นเรื่องที่จะต้องมีภาพใหญ่และภาพย่อย เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และรายจังหวัดจะต้องไปกำหนด แต่ไม่ย่อหย่อนไปกว่ามาตรการใหญ่ แต่ละจังหวัดนำไปปรับใช้ตามสถานการณ์จากตัวเลขที่รายงานไป ไม่ได้บังคับกำชับหรือดูในรายละเอียด แต่ทุกจังหวัด ประชาชน หน่วยงานความมั่นคงเข้มข้นในการดูแล
ผู้ป่วยต่างด้าวไม่เสี่ยง
ซักว่าผู้ป่วยจากศูนย์กักขังแรงงานต่างด้าว 42 รายที่จังหวัดสงขลา คนในพื้นที่จะมีความเสี่ยงหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ยืนยันว่าไม่มีความเสี่ยงแน่นอน หลังจากการทำ Active Case Finding แล้วก็ขีดวงและจัดการดูแลเต็มที่ เหมือนกับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยไม่ได้ติดกระจายออกไป ต้องขอบคุณชาวสงขลาที่เปิดพื้นที่ให้ดูแล ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน
ส่วนตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์หรือไม่ ชี้แจงว่าสะท้อนภาพความเป็นจริงเช่นเดียวกับสิงคโปร์ เพราะการแพร่กระจายของแรงงานต่างด้าว เราก็มีหน้าที่เรียนรู้ประสบประสบการณ์แล้วค้นหา ถ้าเจอก็รักษา ผอ.ศบค. ขอให้เปิดเผยความเป็นจริงออกมา เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือได้มากที่สุด ในตอนท้าย นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ใส่หน้ากากทุกวัน ป้องกันโควิด-19 ตนดีใจที่เห็นคนระหว่างทางสวมหน้ากากอนามัยเกือบ 100% ต้องขอบคุณเป็นอย่างสูง อย่างน้อยมีหน้ากากผ้าก็ป้องกัน ทุกคนจะปลอดภัยในการใช้หน้ากากปกป้องตัวเอง
จากกรณีที่มีการตรวจพบผู้ต้องหาต่างด้าวที่ถูกจับในข้อหา หลบหนีเข้าเมือง และถูกควบคุมตัวที่ห้องควบคุมตัว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หมู่ 2 ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา จำนวน 42 คน จากทั้งหมด 115 คน โดยที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ตรวจพบการติดเชื้อของคนทั้งหมด 42 คน ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา และได้มีการประชุมลับ ระหว่างนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กับสาธารณสุข และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อเขต 12 เพื่อหาแนวทางในการรักษาพยาบาล เนื่องจากครั้งนี้ผู้ติดเชื้อไม่ใช่ชาวบ้านทั่วไป แต่เป็นผู้ต้องหาที่เป็นต่างด้าวและถูกควบคุมตัวในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง
ต่อมานายจารุวัฒน์เปิดเผยถึงแนวทางในการแก้ปัญหา ผู้ต้องหาชาวต่างด้าวทั้ง 42 คน ซึ่งเป็นชาวเมียนมา จำนวน 32 คน, เวียดนาม จำนวน 3 คน, มาเลเซีย จำนวน 2 คน, เยเมน จำนวน 1 คน, กัมพูชา จำนวน 1 คน และอินเดียอีก 1 คน ว่าในเบื้องต้นที่ได้ประชุมกับฝ่ายสาธารณสุข คือจะทำการส่งแพทย์เข้าไป รักษาอาการป่วยภายในสถานที่ควบคุมตัวของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดยการปรับสถานที่ควบคุมให้เป็นโรงพยาบาลสนาม มีการแยกผู้ต้องหาที่ไม่มีอาการออกไป กักตัวเพื่อมิให้ปะปนกับผู้ติดเชื้อ และหากพบว่ามีผู้ป่วยอาการหนัก จะแยกส่งโรงพยาบาล ที่เตรียมเอาไว้แล้ว ซึ่งเชื่อว่าวิธีนี้จะสามารถควบคุมการแพร่เชื้อได้ และจะไม่มีปัญหาการหลบหนีของผู้ต้องหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการติดเชื้อของต่างด้าวที่เป็นผู้ต้องหา หลบหนีเข้าเมืองจำนวน 42 คน ทำให้จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 105 คน ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่แซงหน้า จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ไปเรียบร้อยแล้ว และมีการเตรียม ร.พ.นาหม่อม จ.สงขลา เอาไว้แล้ว เพื่อการรองรับผู้ป่วยหนัก ที่อาจจะเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ต้องหาต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในครั้งนี้
"เสี่ยหนู"ชงห้ามต่างชาติเข้า
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ให้มีคำสั่งระงับการเดินทางเข้ามาของชาวต่างชาติ เพื่อลดความสูญเสีย และลดปัญหาในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 หลังขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับการรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในวันนี้ที่เพิ่มขึ้น 53 ราย โดยในส่วนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวจากศูนย์กักขัง ตรวจคนเข้าเมือง อำเภอสะเดา จ.สงขลา จำนวน 42 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ลักลอบเข้าเมืองด้วย ก็ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำด่านที่จัดการเรื่องนี้ได้ดี โดยสามารถตรวจพบเร็ว ตรวจเร็ว และคุมโรคเร็ว หลังจากนี้จะให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามในพื้นที่ และดูแลในสถานที่กักกันตัวของรัฐ (State Quarantine) โดยจะไม่ปล่อยให้มีการแพร่กระจายของเชื้อเด็ดขาด และจะต้องไม่กระทบการให้บริการ
"ในประเทศ เราสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว แต่หากมีเคสที่หลุดเข้ามาจากต่างชาติ การควบคุมโรคจะประสบปัญหา ตอนนี้เราเดินมาได้ไกล ไม่ต้องการเห็นความผิดพลาดเกิดขึ้น" นายอนุทินกล่าว
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า บอกตรงๆ ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่เราจะเห็นคลื่นระลอกที่ 2 ตามมาหลังจากการปลดล็อก ในลักษณะคล้ายสิงคโปร์และญี่ปุ่นผสมกัน
ถามว่าเหตุใดจึงมีความเห็นเช่นนั้น สิงคโปร์ระบาดหนักระลอกสอง เน้นเกิดในกลุ่มที่เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศ ญี่ปุ่นระบาดหนักระลอกสอง เน้นเกิดในกลุ่มที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ทั้งจากการทำงานและชีวิตส่วนตัว
หากมองอนาคตอันใกล้ จากข่าวสารที่ฟังจากสื่อสังคม เกี่ยวกับแนวทางการปลดล็อกที่หลายฝ่ายกำลังชงและผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตด้านการกิน การช็อป เสริมสวยตัดผม ท่องเที่ยว ตลอดจนการเปิดกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม
แนวทางดังกล่าวต้องรอบคอบอย่างยิ่ง หากตัดสินใจเปิดเร็วโดยไม่พร้อม เราจะเจอทั้งการระบาดในกลุ่มคนงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานทั้งในโรงงาน ก่อสร้าง และงานบริการหลากหลาย
ยิ่งหากดูตัวเลขที่รัฐประกาศวันนี้ว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งขึ้นเป็น 53 คน ไม่ว่าจะอ้างว่าเป็น active case finding ซึ่งแปลว่ามุ่งเป้าไปเสาะหาหรือตรวจหาก็ตาม แต่สุดท้ายคนกลุ่มใหญ่ที่เจอวันนี้คือกลุ่มคนต่างด้าวนั่นเอง
ในขณะเดียวกัน การติดเชื้อจากการใช้ชีวิต ทั้งที่ทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวนั้น แน่นอนว่ายิ่งอยู่ในเมือง ยิ่งแออัด ยิ่งเสี่ยงสูง
เชื่อขนมกินได้เลยว่า ไม่ว่าจะพลิกมองมุมใด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนหลังปลดล็อกราว 7-10 วัน
สิ่งที่เราพอจะทำกันได้คือ หนึ่ง รัฐควรหน่วงเวลาการปลดล็อก ให้มีจำนวนเคสน้อยๆ ที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำแนะนำของผมยังคงเดิมคือ ดีเดย์ปลดเมื่อแตะ 5% ราวกลางเดือนพฤษภาคม เพราะ ณ ตอนนั้น เคสหลงเหลือที่ต้องการการดูแลรักษาในโรงพยาบาลจะเหลือน้อยลงมาก ทำให้ระบบสาธารณสุขมีเวลาพัก และเตรียมรับระลอกสอง รวมถึงมีช่วงเวลาในการเคลียร์ ชดเชยระบบดูแลรักษาคนไข้โรคอื่นๆ ให้ลงตัว
สอง คนที่อาศัยอยู่ในเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร และเทศบาลเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ จง "Keep low profile" หากทำได้ กล่าวคือ ยังยืดหยัดที่จะอยู่นิ่งกับที่ ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ทำงานที่บ้านให้มากๆ ไปที่ทำงานน้อยๆ เน้นการทำงานติดต่อทางออนไลน์์
หากต้องออกจากบ้าน ต้องใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างจากคนอื่นๆ และรีบทำธุระให้เสร็จโดยเร็ว
สรุปคือ ทำตัวให้เป็นไปตาม New Normal = New "Me" จนเป็นนิสัย ฝึกตัวเราและสอนลูกหลานให้ทำ เพราะจะอยู่รอดได้อีกเป็นปีต้องมีพฤติกรรมอย่างนี้
ข้อสองนี้มีไว้เพื่อรักษาตัวเองและครอบครัวของคนที่ยังนิ่งได้ ให้อยู่รอดปลอดภัย เพื่อคอยช่วยเหลือคนในสังคมที่ไม่มีทางเลือกแล้วเกิดได้รับเชื้อมาหลังปลดล็อกในอนาคต ซึ่งจะมากแค่ไหน จะน้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่าสิงคโปร์หรือญี่ปุ่นนั้น ไม่มีใครตอบได้
จากข้อมูลที่เราเห็น ตอบได้ว่ามีโอกาสสูงแน่ๆ แต่ความเห็นส่วนตัวน่าจะเป็นแนวโน้มน้อยกว่าหรือเท่ากับสองประเทศนั้น เพราะความหนาแน่นประชากรของเราน้อยกว่าเขาอยู่บ้าง
จนท.กกต.ติดโควิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)? ได้รับรายงานจากสำนักวินิจฉัยและคดี ว่าพบพนักงานติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่นิติกร สำนักวินิจฉัยและคดี ซึ่งติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะปฏิบัติงานนอกสถานที่ ( WFH) ที่อาคาร 6 เคหะหลักสี่ ซอยแจ้งวัฒนะ 5 เขตหลักสี่ กทม. ซึ่งได้มีการประสานกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ นนทบุรีแล้ว เบื้องต้นได้สอบสวนประวัติการเจ็บป่วยแล้วพบว่า เป็นคนไข้ในกลุ่มไม่แสดงอาการ และไม่มีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ โดยสำนักงาน กกต.จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาบริเวณพื้นที่เสี่ยง เพื่อแจ้งให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายนี้ ทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำทราบ เพื่อดำเนินการตรวจหาเชื้อเพิ่มเติมหรือกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน เพื่อตรวจดูอาการ
ทั้งนี้ สำนักงาน กกต.จะได้ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อบริเวณสำนักวินิจฉัยและคดี ในวันที่ 25 เม.ย. เวลา 13.30 น. ดำเนินการคัดกรองพนักงานของสำนักงานอย่างเข้มงวด ห้ามบุคคลที่เคยมีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเข้าปฏิบัติงานที่สำนักงาน กกต. และสั่งให้ตรวจหาเชื้อและกักตัวเองเพื่อสังเกตอาการ พร้อมเพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว ตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานคนดังกล่าว แม้จะปฏิบัติงานที่บ้าน แต่ก็จะเดินทางเข้ามาที่สำนักงาน กกต.สัปดาห์ละ 1 ครั้ง คือในวันอังคาร ทางสำนักงานกำลังตรวจสอบว่าพนักงานคนดังกล่าวใกล้ชิดใครบ้าง เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าไปติดมาจากใคร ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าพนักงานคนดังกล่าวได้ตรวจร่างกายกับทางโรงพยาบาลที่มารับบริการตรวจ และเมื่อทราบผลทางโรงพยาบาลได้ส่งรถมารับตัวจากที่พักไปรักษาทันที.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |