เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี บ้านเมือง ศิลปะแขนงต่างๆ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม หัตถศิลป์ เป็นการสืบทอดและสร้างให้มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น เช่น ชาวจีนจึงมีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสมผสาน ในงานสถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น เช่น ตามวัดเปลี่ยนจากช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตามหลังคาโบสถ์ วิหาร มาเป็นการก่ออิฐถือปูน โดยการใช้ลวดลายดินเผาเครื่องกระเบื้องประดับแทนการใช้ไม้สลักแบบเดิม
สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีการเปิดประเทศวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามาแพร่หลาย จากการที่คณะ มิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา พร้อมทั้งนำวิทยาการและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่างๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยในรูปแบบนีโอคลาสสิค เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น บ่งบอกสถาปัตยกรรมตะวันตกในกรุงเทพฯ เป็นที่นิยม มีการดัดแปลงประยุกต์ศิลปะยุโรปให้เข้ากับเอกลักษณ์ศิลปะของไทย
เอกลักษณ์ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ส่งต่อผ่านกาลเวลาอันยาวนานมาถึงปัจจุบันนี้ ทั้งวัด วัง อาคาร บ้านเรือนของประชาชน ช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และศิลปะของกรุงรัตนโกสินทร์ที่เดินทางมาถึง 238 ปี
ปัจจุบันสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ หลายแห่งถือเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าสืบมาเมื่อครั้งแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น ศาลหลักเมือง คนชอบเที่ยวกรุงเทพฯ เดินทอดน่องท่องรัตนโกสินทร์ ต้องไปไหว้ศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล ศาลหลักเมืองสร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาล หลักเมืองสมัยแรกก่อสร้างเป็นลักษณะเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง ส่วนตัวเสานั้นเป็นไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้แก่นจันทร์ประกบนอกสูง 187 นิ้ว ลงรักปิดทอง ยอดเสามีลักษณะเป็นรูปบัวตูม ภายในกลวง ทั้งนี้ก็เพื่อใช้บรรจุดวงชะตากรุงเทพ มหานคร
โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นพุทธสถานโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลกที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของประเทศไทย รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาท มีลักษณะเป็นปราสาท 3 ชั้น มี 37 ยอด ซึ่งหมายถึงพระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มีบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้นอยู่ตรงกลาง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ และเป็นพุทธสถานสำคัญในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา
ตึกแถวท่าเตียน ถนนมหาราชหลายคนคงคุ้นตากับตึกแถวทอดยาวขนานกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปัตยกรรมแนวนีโอคลาสสิกโบราณย่านริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกลุ่มอาคารพาณิชย์ในยุคแรกของสยามที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก เปลี่ยนการค้าขายริมน้ำมาเป็นค้าขายทางบก อดีตเคยเป็นชุมชนการค้าที่ยิ่งใหญ่ มีการหลอมรวมของผู้คนและวัฒนธรรม 3 ส่วน คือ วัง วัด ตลาด ทำให้พื้นที่บริเวณท่าเตียนยังคงรักษาความเป็นศูนย์กลางทางการค้าท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นย่านท่องเที่ยววินเทจสุดฮิปส์ของนักท่องเที่ยวทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพิ่มคุณค่าให้มหานครแห่งนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพหลวง เป็นอีกสถาปัตยกรรมสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ใกล้กับดิโอลด์สยาม ศาลาเฉลิมกรุงเคยเป็นสถานที่จัดแสดงมหรสพทุกรูปแบบ ทั้งโขน ละคร ฉายหนัง และดนตรี ตัวอาคารออกแบบเป็นสากลตามตะวันตกได้งดงามลงตัว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |