หน่วยงานรัฐเพิ่งปิดรับขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) “สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย” ยกทีมสมาชิก สนช.ส่วนหนึ่ง โกอินเตอร์ไปร่วมประชุมไกลถึงสมาพันธรัฐสวิส นครเจนีวา กับสมัชชาสหภาพรัฐสภา
โดยหัวหน้าทีมมีคิวจับไมค์อภิปรายหัวข้อทำนองเดียวกัน คือ “การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยระดับโลก : ความจำเป็นในการนำเสนอนโยบายที่ยึดหลักฐานเชิงประจักษ์”
“รองฯ สุรชัย" ในฐานะประเทศสมาชิก แถลงต่อที่ประชุมสมัชชาฯ สะท้อนบทบาทของรัฐสภาในการสนับสนุนจัดการผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยระดับโลก โดยสรุปใจความว่า...
งานที่รัฐสภาทำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ การตรากฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดการนำคนงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 และพระราชกำหนดการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งเท่ากับว่า สนช.ได้รับรองแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ ทำให้แรงงานเหล่านั้นได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นการขจัดปัญหาการกดขี่เอาเปรียบ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายถิ่นฐานหรือเรื่องลี้ภัย ถือเป็นปัญหาที่นานาประเทศต้องร่วมกันรับผิดชอบ
งานนี้ ทำให้ชวนคิดถึงคำพูดที่ว่า “ประเทศเป็นเผด็จการจะทำให้ต่างประเทศไม่ยุ่ง ไม่คบค้า” ดูเหมือนจะใช้กับเหตุการณ์นี้ไม่ได้ เพราะบางเรื่องก็ต้องมีข้อยกเว้น หุหุ
มินนี่เมาธ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |