แพทย์จุฬาฯเล่าประสบการณ์รักษาผู้ป่วยโควิด ให้นอนคว่ำ พบการหายใจดีขึ้น 


เพิ่มเพื่อน    

ผู้ป้วยโควิด ที่ถูกจัดท่าให้นอนคว่ำ 


23 เม.ย.63 ทีมแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ร่วมแชร์ประสบการณ์ผ่าน Facebook Live Streaming ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ  “COVID Grand Round On the webcast” ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "Management in severe COVID: interactive case discussion" 

 

ผศ.นพ.โอฤภาส พุทธเจริญ

 

ผศ.นพ.โอฤภาส พุทธเจริญ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ให้ข้อมูลว่า ในเคสผู้ป่วยโควิด-19 อาการรุนแรง เพศชาย อายุ 59 ปี มีอาชีพเป็นเซียนมวย  มีประวัติไปสนามมวยมาก่อน  มีอาการปวดเมื่อยตามตัว เป็นไข้ มีน้ำมูกใส เหมือนเป็นหวัด จึงได้มาที่รพ.จุฬาฯ เพื่อมาตรวจหาเชื้อโควิด-19    และพบว่าเป็นโรคเบาหวานด้วย  จากการซักประวัติอีกรอบ โดยดูจากการเอกซเรย์ปอด ในครั้งแรกก็ยังสรุปไม่ด้ว่าได้รับเชื้อหรือไม่  หรืออาจจะเพราะเชื้อน้อยมาก จากนั้นมีการติดตามมาตรวจซ้ำแบบ PCR ด้วยเสมหะ พบว่าผลเป็นบวก มีปริมาณเชื้อ CT (ถ้าบริมาณเชื้อน้อยค่า CT ก็จะสูงขึ้น แต่หากเชื้อมากค่า CT ก็จะน้อยลง) อยู่ที่ 26.39 ซึ่งมีความสำคัญในการติดตามรักษา ซึ่งขณะนี้ผู้ป่วยรายนี้ที่ทำการรักษาในเวลา 32-35 วัน ก็ตรวจ PCR เป็นลบ ไม่พบเชื้อแล้ว สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจและย้ายออกจากห้อง ICU  ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีในการรักษา  

 

  ผศ.นพ.โอฤภาส กล่าวต่อว่า สำหรับในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการโควิด-19 รุนแรงอาจจะอายุน้อยกว่า 65 ปี ในส่วนของการใช้ยารักษา ยังไม่มีผลสรุปแน่ชัดว่ายาตัวไหนดีที่สุด ซึ่งยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยรุนแรง คือ Remdesivic, Favipiravir, HCQ&CQ, Protease inhibitors, Ribavirin, IFN, Convalescent plasma และ IVIG และการรักษาควบคู่ไปการใช้เครื่องช่วยหายใจ และอื่นๆ  ย้ำว่าคนไข้ที่มีอาการน้อยอาจจะไม่ต้องกินยาจะหายได้เองเพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำการรักษา

 

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 5 คน จัดท่านอนให้ผู้ป่วยโควิด

 

ด้าน นพ.นพพล ลีลายุวัฒนกุล อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤติ กล่าวเสริมว่า ในการรักษาแบบอื่นๆ สำหรับคนไข้โควิด-19 วัย 59 ปี รายแรกที่ได้รับการทำ Prone Position คือให้คนไข้นอนคว่ำ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการหายใจ และปอดมีการเปิดเยอะขึ้น ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์จำนวน 5 คน โดย 4 คนจะอยู่บริเวณด้านข้าง และอยู่ตรงบริเวณศีรษะ1 คน ที่มีความสำคัญในสั่งการ เมื่อทำการพลิกตัวเสร็จแล้วต้องจัดท่านอนให้เรียบร้อย ซึ่งผลของของการทำใน 2 วัน วันละ 16 ชั่วโมง ทำให้ค่า PF ratio  เพิ่มสูงขึ้นเกิน 200  ดังนั้นที่กำหนดรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ จะทำการ Prone 16 ชั่วโมง และหงาย 4 ชั่วโมง จะหยุดก็เมื่อค่า PF ratio  มากกว่า 150 อย่างน้อย 4 ชั่วโมงขณะนอนหงาย 

 

นพ.นพพล ลีลายุวัฒนกุล

 

“แต่ทั้งนี้ในการทำ Prone Position ก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาทิ เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือการบีบอัดเส้นประสาท ฯลฯ และที่สำคัญคือการจัดท่า โดยเฉพาะตรงส่วนคอ มีความสำคัญมาก และไม่ควรทำในคนไข้ที่มีอาการช็อก มีภาวะเลือดออกเฉัยบพลัน  คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดต้นคอภายใน 2 สัปดาห์ หรือมีการตั้งครรภ์ เป็นต้น ทั้งนี้มีข้อมูลในการรักษาด้วยการทำ Prone Position ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่อู่ฮั่น ประเทศจีนจำนวน 12 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม   1. กลุ่ม 7 รายที่ใช้การทำ  Prone (มี 3 รายใช้ ECMO ด้วย) 2.กลุ่ม  5 ราย ที่ไม่ได้ทำ Prone และมี 2 รายที่เสียชีวิต จากการศึกษานี้อาจจะช่วยให้ปอดเปิดเยอะขึ้น ซึ่งยังต้องทำการศึกษาต่อไป” นพ.นพพล กล่าว 

  สามารถติดตามย้อนหลังได้ที่  https://www.facebook.com/medicine.chulalongkornuniversity


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"