ศวส.ชี้มาตรการห้ามจำหน่ายเหล้าลดระบาดโควิด-19ได้ดี


เพิ่มเพื่อน    

หมอเตือน สิงห์สุราเรื้อรังต้องสังเกตอาการตัวเอง อาการลงแดงแสดงออกตั้งแต่งดดื่ม 6 ชม.แรก หงุดหงิด มือสั่น ปวดหัว ควรรีบพบแพทย์เป็นการด่วน กินยาทดแทนฤทธิ์เหล้า ชี้กักตุนเหล้าไม่ช่วยอะไร เหล้าหมดก็ออกฤทธิ์ลงแดง ชี้แนะคนทั่วไปถือโอกาสเลิกดื่มเพื่อสุขภาพ มาตรการห้ามจำหน่ายเหล้าลดการระบาดโควิด-19 ได้อย่างดี

 

 

ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยถึงการออกมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจังหวัดต่างๆ ว่า มาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นนโยบายที่ดี จะช่วยลดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนของระบบสาธารณสุขได้ เพราะการจับกลุ่มดื่มสุรา การดื่มหนักจนขาดสติ ทำให้หละหลวมในการป้องกันโรคของตัวเองซึ่งการระบาดของโควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อยเป็นปี จะกระทบเศรษฐกิจครัวเรือน

 

ดังนั้น หากสามารถเลิกเหล้าได้ก็จะมีเงินเหลือเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในสิ่งที่จำเป็น และทำให้สุขภาพดีขึ้น เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในปอดถึง 2.9 เท่า หากเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยอาการก็จะไม่รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหากรัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกก็จะไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงด้วย

 

“กลุ่มที่ดื่มสุราในระดับไม่เป็นปัญหาต่อสุขภาพจะไม่ได้รับผลกระทบจากการห้ามจำหน่ายนี้ แต่สำหรับผู้ติดสุราหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ติดสุราอย่างหนักที่อาจมีภาวะขาดสุรารุนแรงและซับซ้อนประมาณ 5-10% หรือประมาณ 5 หมื่น-1 แสนคน ซึ่งผู้ติดสุราเหล่านี้ควรได้รับการดูแลรักษาภาวะขาดสุราในสถานพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีอันตรายถึงชีวิตได้” ศ.ดร.พญ.สาวิตรีกล่าว

 

ศ.ดร.พญ.สาวิตรีกล่าวต่อว่า ผู้ติดสุรากลุ่มนี้มักจะมีอาการทางสุขภาพแสดงภายหลังการงดดื่ม 6 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถสังเกตอาการได้ คือ 1.กลุ่มอาการระดับต่ำ คือ หยุดดื่มสุรา 6-36 ชม. มือสั่น หงุดหงิด ปวดหัว ใจสั่น ความดันสูง อาจเกิดอาการวูบได้เพราะความดันสูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร 2.กลุ่มอาการระดับกลาง คือ หยุดดื่มสุรา 24-72 ชม. อาการจะเริ่มหนักขึ้น เหงื่อออกท่วมตัว ใจเต้นเร็ว ตัวสั่น มือสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย และ 3.กลุ่มอาการรุนแรงมากถึงขั้นเพ้อ คลั่ง สั่น คือ หยุดดื่มสุรา 48-96 ชม. ไข้สูง เริ่มประสาทสับสน หูแว่ว ประสาทหลอน เริ่มมีลักษณะอาการทางจิต หวาดระแวงได้ ลืมวันลืมคืน แยกแยะใครไม่ได้ ซึ่งขั้นนี้จะเกิดอันตรายทั้งกับตนเองและผู้อื่น

 

“การซื้อเหล้าสต๊อกไว้ไม่ได้แก้ปัญหาสำหรับผู้ติดเหล้าหนัก เพราะหากเหล้าหมดและไม่สามารถซื้อเพิ่มได้ก็จะเกิดอาการที่รุนแรง วิธีเลิกเหล้าอย่างถูกต้อง ค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลง ไม่ควรงดดื่มทันทีและหากเกิดอาการข้างต้นให้พบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะมียาเพื่อทดแทนการออกฤทธิ์ทางประสาทด้วยเหล้า แต่ยาดังกล่าวต้องควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาอาการลงแดง และใช้เวลาที่ถูกต้องในการหยุดยา ซึ่งขึ้นอยู่ที่ระดับอาการของผู้ติดเหล้าว่าเป็นอย่างไร บางรายก็ต้องรับแอดมิตรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายก็สามารถจ่ายยากลับไปกินที่บ้านได้” ศ.ดร.พญ.สาวิตรีกล่าว.

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดคือลดจำนวนผู้ป่วยโควิด-19

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

“ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดคือลดจำนวนคนป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นหน้าที่คนไทยทุกคน นี่เป็นสงครามของคนทั้งประเทศ”

 

“ผมขอร้อง อย่าปกปิดข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อยู่ในความเสี่ยงและทุกคนพร้อมเสี่ยง แต่พวกเขาก็เป็นคนธรรมดาที่มีความกลัว ไม่ได้กลัวตัวเองจะติดเชื้อ แต่กลัวจะเอาเชื้อไปติดคนที่รัก Save ตัวคุณเองคือการ Save หมอ พยาบาล และ Save ชาติในที่สุด

 

 

“ขยายตึก เตียง ทำได้ แต่ผลิตหมอ พยาบาล ให้เท่าจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ได้ และหาอุปกรณ์การแพทย์ที่ทุกประเทศแย่งกันซื้อไม่มีทางพอ คนไทยต้องช่วยกัน นี่เป็นสงครามของคนทั้งประเทศ”

 

“อย่ารังเกียจ ขับไล่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เราคนไทยไม่ใช่คนแบบนั้น จงกลับมาเป็นคนไทยที่มีน้ำใจอาทรต่อกัน สู้ไปด้วยกัน”

 

“ถ้าเราโชคร้าย เกิดติดเชื้อ จงหยุดเชื้อ หยุดความโชคร้ายไว้ที่ตัวเรา โควิด-19 รักษาได้ อย่าปกปิด อย่าแพร่เชื้อ เพราะไม่เพียงบุคลากรทางการแพทย์จะมีความเสี่ยง แต่คนที่คุณรักจะเป็นอันตรายด้วย”


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"