21เม.ย.63- นักวิชาการ เห็นด้วย กับการแก้ปัญหาการประเมินและวัดผลของประเทศ กับการสอบเข้า มหา’ลัย เชื่อ หากทำได้จริงจะทำให้การปฏิรูปได้ชัดเจนมากขึ้น แนะ ทำให้นโยบายการศึกษาเป็นมติของประเทศ ที่ไม่ว่าใครเข้ามาบริหารก็ควรสานต่อให้สำเร็จ
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมที่จะปรับปรุงแบบทดสอบต่างๆ ที่จะใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยลดจำนวนครั้งการสอบให้น้อยลง เพื่อลดความเครียดของนักเรียน ว่า ตนเห็นด้วยและสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่ทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายการเมืองคือนายณัฏฐพล , ฝ่ายข้าราชการ ได้แก่ สพฐ. และ สทศ. และฝ่ายมหาวิทยาลัย คือ ทปอ. ที่มีความคิดเห็นที่ไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ปัญหาการประเมินและวัดผลของประเทศ กับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากทำได้จริงจะทำให้การปฏิรูปการประเมินและการวัดผลของประเทศเกิดการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ได้ และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของการปฏิรูปของประเทศได้ชัดเจนมากขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบของการสอบเข้าม.1 และ ม.4 ถ้าสามารถปลดล็อคการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้มีการปรับเปลี่ยนข้อสอบที่วัดทักษะ สมรรถนะ มากกว่าเนื้อหา ความรู้ความจำ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นทอดๆลงมา
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า องค์ประกอบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้แก่ คะแนนโอเน็ต ที่วัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน , แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งประกอบด้วยทักษะ สมรรถนะ การมีส่วนร่วมที่เน้นการทำกิจกรรมของเด็ก , และ ข้อสอบของมหาวิทยาลัย เช่น GAT/PAT ซึ่งมี 3 องค์ประกอบก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่จะวัดเด็กได้อย่างรอบด้าน โดยข้อสอบโอเน็ตที่จะรวมวิชาสามัญ 9 วิชาเข้าด้วยกัน ถ้ายึดตามแนวทางการพัฒนาข้อสอบ SAT เหมือนที่ประเทศสหรัฐอเมริการ ใช้ ซึ่งเป็นข้อสอบกลางที่สามารถวัดทักษะการอ่าน คิด เขียน ระดับความรู้พื้นฐานที่เด็กเรียนในโรงเรียน และวัดศักยภาพเด็กที่จะเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาได้ ซึ่งถ้าข้อสอบกลางของไทยสามารถพัฒนาไปในแนวทางเดียวกับ SAT ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือ ความต่อเนื่องของฝ่ายการเมือง หากเปลี่ยนตัว รมว.ศธ.หรือ ผู้บริหาร ของ ทปอ. อาจทำให้แนวคิดนี้เปลี่ยนไป จึงอยากเสนอว่า ควรให้ทำให้นโยบายการศึกษาเป็นนโยบายหรือประเด็นสาธารณะ เมื่อได้ข้อสรุปเกิดขึ้นควรมีการทำประชาพิจารณ์ เพื่อเป็นข้อผูกมัดให้เป็นมติของประเทศ เป็นวาระชาติด้านการศึกษา ที่ไม่ว่าใครเข้ามาบริหารก็ควรสานต่อให้สำเร็จ ขณะเดียวกันทุกหน่วยงานก็ควรช่วยกันอธิบายให้สังคมเข้าใจว่า แนวทางนี้จะช่วยเด็กและเยาวชน ลดความเครียด ลดความเหลื่อมล้ำ และเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างรอบด้าน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |