ผอ.รพ.ขอนแก่น เชื่อคนจำนวนมากมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 และไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ


เพิ่มเพื่อน    

21 เม.ย.63-  ที่ รพ.ขอนแก่น นพ.ชาญชัย  จันทร์วรชัยกุล  ผอ.รพ.ขอนแก่น กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19ของ จ.ขอนแก่น ยังคงยืนยันตัวเลขอยู่ที่ 6 ราย ซึ่งรักษาหาอย่างเด็ดขาดแล้ว 4 ราย คงเหลือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาที่ รพ.เพียง 2รายเป็นสามี-ภรรยากัน โดยภรรยา ซึ่งเป็นหญิง อายุ 63 ปีนั้นอาหารดีขึ้นมาก ซึ่งทีมแพทย์ได้รักษาอาการป่วยที่มีอาการดีขึ้นแล้วถึง 70% โดยเฉพาะอาการทางปอด แต่ถึงอย่างไรทีมแพทย์ยังคงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจกับผู้ป่วยอยู่ เพื่อดูอาการต่อว่าจะมีอาการแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆนั้นหาดดีตามแนวทางการรักษา และการใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ซึ่งจะมีการพิจารณาการถอดช่วยเครื่องหายใจอีกครั้งในเร็วๆนี้

“ ตอนแรกผู้ป่วยมีอาการปอดอัดเสบครึ่งปอด แต่เราก็รักษาจนอาการดีขึ้นเรื่อยๆมากถึง 80% แล้ว ก็น่าจะกลับมาเป็นปกติ อีกทั้งอาการของคุณป้าก็ดีขึ้นเรื่อยๆ มีสติรับรู้ แต่ยังพูดไม่ได้ แต่เจ้าตัวรู้เรื่องทั้งหมดและทำตามที่เราบอกได้ และเราเริ่มที่จะผ่อนเครื่องช่วยหายใจแล้ว ซึ่งหากคุณป้าท่านสู้ได้ ก็จะมีการพิจารณาในกรถอดเครื่องช่วยหายใจเร็วๆนี้ สำหรับเคสที่ 6 คือคุณลุงที่เป็นสามีของคุณป้านั้นตั้งแต่แรกไม่มีอาการอะไร และมีการดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่ด้วยการรักษาทางการแพทย์คุณลุงต้องอยู่กับทาง รพ. 14 วันหากหายแล้วก็จะส่งตัวกลับบ้าน สำหรับลูกก็ยังคงอยู่กับเรา เพราะไม่มีเชื้อแล้วแต่มีภูมิต้านทานโรคที่ชัดเจน อีกทั้งเรามียารักษา โดยเฉพาะกับการรักษาโรคเบาหวานที่ไม่ให้กำเริบ และเราเน้นในเรื่องการช่วยการหายใจทำให้อาการของคุณป้า ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายที่ 5 นั้นดีขึ้นมาก ”

 ผอ.รพ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า สำหรับพลาสม่าของบุตรชายของผู้ป่วยรายที่ 5 และรายที่ 6 นั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการตรวจละเอียดที่สภากาดชาดไทย แต่ผลตรวจในเบื้องต้นพบว่ามีภูมิต้านทาน แต่อย่างไรก็ตามสภาพกาชาดไทยขอตรวจละเอียดอีกรอบ ซึ่งจะรู้ผลภายใน 1-2 วันนี้ อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวเชื่อว่ามีคนอีกจำนวนมากที่มีลักษณะเช่นนี้คือมีอาการไม่มาก หรือการที่ไม่รู้ตัวว่าเป็น หรือเป็นจนหายแล้วไม่รู้ตัวว่าเป็นก็น่าจะมี ซึ่งในการเก็บพลาสม่าไปนั้นขณะนี้หลายประเทศก็ดำเนินการอยู่ 

ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันของคนที่หายแล้วนั้นก็น่าจะนำมาต่อสู้กับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้ แต่กระบวนการและกรรมวิธีไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด ไม่ใช่เป็นการถ่ายเลือดจากอีกคนไปอีกคนแล้วจะได้เลย เพราะเลือด 1 ถุงที่เราได้ พลาสม่าหรือน้ำเหลืองที่เราเห็นนั้นมีภูมิต้านทานอยู่นิดเดียว ดังนั้นกระบวนการจะทำอย่างไรสภากาชาดนั้นมีวิธีในการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนที่เยอะมาก จึงจะได้ภูมิต้านทานตัวนั้นออกมา ซึ่งบุตรชายของผู้ป่วยทั้ง 2 รายนั้นเชื่อว่าเป็นตัวที่ดีที่มีภูมิต้านทานจนนำไปสู่แนวทางการรักษาผู้ป่วย ซึ่งหลังผลการตรวจออกมาชัดเจนเช่นไร บุตรชายของผู้ป่วยก็สามารถที่จะเข้าร่วมบริจาค อย่างเต็มรูปแบบได้ตามขั้นตอนต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"