21 เม.ย.63- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึง การดำรงชีวิตในเดือนพฤษภาคม โดยจำแนกเป็นกลุ่มอายุ และอาชีพ ดังนี้
ผู้สูงอายุ:
เน้นอยู่ที่บ้านเป็นหลัก หากจะยืดเส้นยืดสายก็ออกกำลังกายในบ้านหรือรอบบ้าน ออกนอกบ้านยามจำเป็น ต้องใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ หลายคนมีปัญหาได้ยินไม่ค่อยชัด พยายามอย่าอยู่ใกล้คนอื่น พูดเสียงดังๆหรือตะโกนจะดีกว่าเสี่ยงติดเชื้อตอนไปคุยใกล้ๆ ระวังเรื่องความเหงาหรือเศร้า ลูกหลานควรโทรหาหรือผู้สูงอายุโทรหาลูกหลานผลัดกันไปให้คลายความคิดถึง
เด็กก่อนวัยเรียน:
พ่อแม่หรือคนในครอบครัวดูแลเองจะดีที่สุด ไม่ควรเสี่ยงกับการไปฝากไว้ในศูนย์รับเลี้ยง
เด็กวัยเรียน:
รัฐประกาศเปิดเทอมกรกฎาคม ก็ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้จากการอ่านหนังสือหลากหลายชนิด ดูทีวีหรือมือถือบ้างแต่อย่ามากนัก พ่อแม่อาจมอบหมายงานบางอย่างให้ทำสลับกันไป ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายบ้างตามสมควร
คนทำงาน:
เน้น work from home โดยนายจ้างควรสนับสนุนนโยบายนี้อย่างเต็มที่ เพราะจะเป็นเดือนที่เสี่ยงต่อการระบาดได้ หากรัฐประกาศปลดล็อคให้มีคนออกมาในสังคมมากขึ้นไม่มากก็น้อย โอกาสมีค่อนข้างสูง ดังนั้นถ้าที่ทำงานเราจัดการได้ ย่อมเป็นการป้องกันตัวเราได้ ขืนปล่อยให้มีคนเสี่ยงติดเชื้อ จะติดกันยกสำนักงานหรือทั้งแผนก
ส่วนคนที่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงาน ไปเช้าหน่อยหรือสายหน่อยเพื่อเลี่ยงแออัดในขนส่งสาธารณะ หรือสลับเวลาทำงานโดยตกลงกับเพื่อนร่วมงานและนายจ้าง
อย่าลืมใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆ จากคนอื่น โดยควรฝึกสงสัยไว้เสมอว่าคนที่เราเจอทุกคนมีโอกาสมีเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว ขืนรับเชื้อมา จะแพร่ไปให้สมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิดได้
คนออกกำลังกาย:
เห็นกันบ่อยที่ยังมีคนวิ่งออกกำลังกายตามที่ต่างๆ แน่นอนว่าไม่ใส่หน้ากากกันเพราะใส่แล้วเหนื่อย แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาก เพราะมักไม่ได้วิ่งคนเดียว แต่จะมีก๊วน หรือคนมาวิ่งด้วยกัน
ทางเลือกที่ทำได้คือ ออกกำลังกายคนเดียว หรือถ้ามากันหลายคนก็เปลี่ยนจากวิ่งเป็นเดินเร็ว แต่ใส่หน้ากากก็น่าจะโอเคกว่า ใช้หน้ากากผ้าก็พอ อย่าใส่ N95 เชียวนะ เดี๋ยวจะเป็นลม
บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล:
ถ้ารัฐประกาศปลดล็อค กรุณาเปิดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโดยยึดแนวคิด "เตรียมรับมือสถานการณ์การระบาดซ้ำ"
ระบบดูแลรักษาโรคอื่นๆ ทั่วไป ควรเปิดทำการไม่เกิน 30-50% ไปก่อนอย่างน้อยอีก 1 เดือนหลังจากปลดล็อค เพื่อลดการแออัดของผู้ป่วยและญาติในโรงพยาบาล
การดูแลรักษาควรเน้นใช้ Tele ผ่านช่องทางต่างๆ ลด physical contact ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อจากกลุ่มคนที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ และลดการใช้ทรัพยากรพวกอุปกรณ์ป้องกันชนิดต่างๆ
Practice universal precaution ไว้เสมอ
ดูสถานการณ์ตอนนี้แล้ว คงเลี่ยงหรือยื้อลำบาก
รอวัดใจว่า รัฐบาลจะเลือกทางที่เสี่ยงมากกว่า หรือทางที่เสี่ยงน้อยกว่า
เตรียมทรัพยากรจำเป็นต่อการดำรงชีพไว้ที่บ้านบ้างก็ดีนะครับ เผื่อฉุกเฉิน
ใครพอไหวก็ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด เก็บตัว เพื่อให้ปลอดภัย และเก็บแรงไว้สำหรับช่วยผู้อื่นยามเดือดร้อน
สถานการณ์แบบที่เราเผชิญ ไม่มีโมเดลอะไรมาทำนายทายทักได้ แต่ต้องใช้ตรรกะแบบจะ take risk or minimize risk เพื่อแลกกับความปรารถนาที่อยากได้ระหว่างความปลอดภัยในชีวิตและรายได้เพื่อการดำรงชีพและพยุงเศรษฐกิจ
ทั้งสองอย่างล้วนสำคัญทั้งคู่ แต่วิธีการทำนั้นเลือกได้
ถ้าเลือกถูก ก็ปลอดภัยและได้เงิน
ถ้าเลือกผิด ก็คุกคามต่อชีวิต เงินก็ไม่ได้ แถมเจ็บป่วยล้มตายมาก
เราทุกคนไม่ได้มีบทบาทในการเลือกในระดับประเทศ
แต่เราแต่ละคนสามารถเลือกแนวทางดำรงชีวิตสำหรับตัวเราได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม
สู้ๆ นะครับทุกคน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |