พรก.4ฉบับประกาศแล้ว เงินกู้1ล้านล.จบก.ย.64!


เพิ่มเพื่อน    


     ประกาศใช้แล้วพระราชกำหนด 4 ฉบับพ่วง 1 พระราชกฤษฎีกาแก้ปัญหาโควิด โดยเฉพาะเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท โผล่เงียบกฎหมายให้เอกชนประชุมอิเล็กทรอนิกส์ได้ สำนักงบฯ จ่อชง ครม.เคาะเกลี่ยงบประมาณ
     เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 เม.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) จำนวน 4 ฉบับ และพระราชกฤษฎีกา 1 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดย พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 เม.ย.แล้ว ส่วนพระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้
     สำหรับเนื้อหาของ 4 พ.ร.ก.ประกอบด้วย 1.พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 มาตรา โดยเนื้อหาที่สำคัญคือการให้กู้เงินหรือออกตราสารหนี้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องดำเนินการก่อนวันที่ 30 ก.ย.2564 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ 1.เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 2.ช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 และ 3.เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ 
     ทั้งนี้ ใน พ.ร.ก.ดังกล่าว ได้กำหนดให้ใช้เงินกู้ในการแก้ไขและเยียวยารวม 6 แสนล้านบาท ส่วนการฟื้นฟูให้ใช้ 4 แสนล้านบาท  แต่ในกรณีจำเป็น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมติให้นำเงินกู้ในการเยียวยามาใช้ในการแก้ไขปัญหาการระบาดก็ได้ 
     2.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ซึ่งมีทั้งสิ้น 15 มาตรา โดยเนื้อหาหลักคือมาตรการที่ ครม.ได้เห็นชอบตามที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เสนอมาก่อนหน้านี้ในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี 3.พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 ซึ่งมีทั้งสิ้น 21 มาตรา โดยเนื้อหาหลักเป็นมาตรการที่เกี่ยวกับตราสารหนี้ โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ และ 4.พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 ซึ่งมีทั้งสิ้น 15 มาตรา โดยประเด็นหลักคือการเปิดให้ภาคเอกชนสามารถใช้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในช่วงโควิด-19 ระบาดเป็นการประชุมโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่รวมการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา, การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และการประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
     ส่วน พ.ร.ฎ.นั้น เป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ.2563 ที่มีเนื้อหาเพียง 4 มาตรา โดยสาระสำคัญคือให้จำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไปเป็นจำนวน 5 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2563-10 ส.ค.2564 
     วันเดียวกัน นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.วันที่ 21 เม.ย.นี้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายปี 2563 โดยทำให้มียอดงบประมาณจากทุกหน่วยงานรวม 80,000-100,000 ล้านบาท และคาดว่าใช้เงินในส่วนนี้ได้ในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ 
     “ถือว่าโชคดีของไทย ซึ่งได้จัดทำงบกลางรองรับภัยฉุกเฉิน เหตุภัยธรรมชาติตั้งแต่ปี 2502 ทำให้ไทยช่วยแก้ปัญหาฉุกเฉินได้คล่องตัว และในงบกลางปี 2564 รัฐบาลกันไว้ 99,000 ล้านบาท เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะเริ่มขั้นตอนการรับทราบ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จากนั้นพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณปี 2563 และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2564 ในช่วงต่อไป เพื่อเตรียมเริ่มใช้เงินให้ทันเดือนตุลาคม 2563” นายเดชาภิวัฒน์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"