ต้องยอมรับอย่างจริงจังว่าเศรษฐกิจปีนี้เข้าขั้นแย่ถึงแย่มาก ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะติดลบใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 เพียงแต่อาจจะไม่ช็อกเท่ากับการประกาศลดค่าเงินบาทในครั้งนั้น
วิกฤติในครั้งก่อนเกิดกับกลุ่มคนด้านบน ธุรกิจแบงก์ และกลุ่มนักธุรกิจที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศ และเมื่อค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงก็ส่งผลให้ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนต่างๆ ต้องปิดตัว และล้มลง กระทบลามมาเป็นลูกโซ่ แต่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหลักยังเป็นกลุ่มนักธุรกิจ นายจ้างมากกว่าประชาชน หรือลูกจ้าง
แต่สำหรับการระบาดของเชื้อโควิด-19 นี้ เห็นชัดเจนว่ามันส่งผลกระทบต่อคนฐานราก อันเนื่องมาจากไม่สามารถทำมาหากินได้อย่างปกติ การที่รัฐบาลประกาศให้ปิดดำเนินการในหลายกิจการอย่างกะทันหันเพื่อควบคุมการระบาด แม้ว่าในช่วงแรกจะไม่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจในทันที แต่ถ้ายืดเยื้อยาวนานก็อาจจะส่งผลกระทบลุกลามเป็นลูกโซ่ เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจได้ด้วยเช่นเดียวกัน แม้จะมีข่าวดีมาบ้างที่ในวิกฤติโควิด-19 ทั้งรัฐบาลและสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับที่เรียกว่าเข้มแข็งระดับหนึ่ง และเพียงพอจะเป็นเสาค้ำยันให้กับภาพเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศได้
อย่างไรก็ดี ภารกิจสำคัญในเวลานี้คือ จะทำอย่างไรที่จะช่วยต่อชีวิตให้กับองค์กรธุรกิจ และนำไปสู่การรักษาระดับการจ้างงานต่อไปให้มากที่สุด เพราะเชื่อแน่ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่น่าจะจบโดยเร็ว อย่างน้อยก็ต้องไม่ต่ำ 6 เดือน-1 ปี ซึ่งรัฐบาลคงไม่สามารถสั่งปิดธุรกิจได้ยาวนานขนาดนั้น โดยสุดท้ายก็ต้องเปิดให้เกิดการค้าขายแบบปกติ แต่เชื่อแน่ว่าการกลับมาเปิดกิจการหลังจากนี้ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 1.เพราะมีหลายธุรกิจต้องปิดตัวลง 2.เชื่อว่ายังไม่มีธุรกิจไหนกล้าที่จะขยายธุรกิจในช่วงนี้ 3.แม้เปิดให้บริการปกติแต่ความเชื่อมั่นของประชาชนก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ก็คงไม่กล้าออกมาใช้จ่ายมากนัก และ 4.คนก็ยังกลัวการติดเชื้อไวรัสที่ยังคงระบาดอยู่
เมื่อทุกอย่างไม่เหมือนเดิมคำถามที่ต้องทบทวนคือ ภาครัฐจะทำอย่างไรที่จะช่วยกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนี้ และมีหน้าตักพอหรือไม่ที่จะนำเงินมาช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน
จากผลวิจัยของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีระบุว่า ภาพรวมการออมของคนไทย 34% มีเงินออมเพียงพอหรืออยู่ได้มากกว่า 6 เดือน โดยไม่มีงานทำ รองลงมา 45% สามารถอยู่ได้ 2-3 เดือน และ 20% มีเงินออมอยู่ได้ไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งหากเทียบว่าปัจจุบันคนไทยที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38 ล้านคนนั้น มี 20% ที่ไม่มีเงินออมถึง 1 เดือน คิดเป็นจำนวนสูงถึง 8 ล้านคนเลยทีเดียว
ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการทุกวิถีทางในการพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ ซึ่งมีข้อเสนอแนะมากมายจากนักวิชาการและภาคเอกชน และคือ เพียงข้อเสนอบางส่วนจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 1.เร่งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชน
2.ขอให้ภาครัฐพิจารณามาตรการเพิ่มเติมให้แรงงาน ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับการชดเชยรายได้ 3.ให้มีการจ้างงานรายชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน 4.บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขอให้รัฐบาลสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือน 50% และบริษัทเอกชนจ่าย 25% ของเงินเดือนที่ได้รับปกติ 5.ลดระยะเวลาการพิจารณาเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการในช่วงนี้ ผ่อนปรนให้ผู้ติดเครดิตบูโร จากเดิมที่ห้ามขอสินเชื่อภายใน 3 ปี ให้เหลือ 1 ปีสำหรับลูกหนี้ที่มีประวัติดี 6.จัดสรรดูแลแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 7.เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารให้พร้อมรองรับกับเหตุการณ์ในอนาคต 8.ให้รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เป็นต้น.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |