18 เม.ย.63 - จากกรณีที่ นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมทางไกลกับอธิบดีผู้พิพากษาภาคต่างๆ ที่มีอำนาจในคดีอาญา หลังเกิดปัญหาศาลตัดสินคดีไม่สวมหน้ากากอนามัยขัดกัน โดยได้ข้อสรุปคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจห้ามคนออกนอกบ้านหากไม่ใส่หน้ากากอนามัย แต่กำชับใช้ดุลพินิจคำนึงถึงสภาพแห่งข้อหาการกระทำโดยคำนึงเศรษฐกิจ สังคมของจำเลยควบคู่มาตรการป้องกันโควิด-19 นั้น
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) กล่าวว่า เรื่องนี้ด้วยความเคารพต่อนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกาและผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ในข้อสรุปที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการออกคำสั่งห้ามบุคคลออกจากเคหสถานโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย มีความผิดในคดีฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 นั้น ตนเห็นว่า หากการกำหนดให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยเป็นความผิดอาญา แต่รัฐบาลและหน่วยงานผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องกลับไม่สามารถดําเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 55 โดยมีหน้ากากอนามัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันตนเองได้ทุกคน ซึ่งตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม เชื่อว่าศาลและผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่อาจยืนยันหรือรับรองได้ว่าประชาชนทุกคนมีหน้ากากอนามัยอยู่ในความครอบครองของตนทุกคน แล้วคนที่ไม่มีหรือตกหล่นไม่ได้รับการแจก เพราะรัฐไม่มีแนวทางบังคับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องจัดหาหน้ากากไปแจกทุกคน แล้วจะไปเอาความผิดกับคนที่ไม่สวมหน้ากากมันสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่
ตนยังมีความกังวลต่อคำแนะนำที่ให้ใช้ดุลพินิจตีความในทางที่กว้างให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น เนื่องจากตนมองว่า หลักการตีความกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองบุคคลและรักษาความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง และมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ของบุคคล ดังนั้น การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ตามตัวอักษรโดยยึดหลักว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ” จะตีความอย่างกว้างโดยขยายความเพื่อลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ได้ ในกรณีที่มีความสงสัยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น จะเห็นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรกที่บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอัน กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” ดังนั้น การตีความกฎหมายอาญานั้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ส่วนที่จะพิจารณาว่ามีความผิดทางอาญาแล้วลงโทษประชาชนได้ ก็ต้องไม่มองข้ามหลักเจตนา ซึ่งเป็นไปได้ที่ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีแล้วไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนเช่นนี้ ตนเห็นด้วยกับที่ประชุมของศาลยุติธรรมที่ให้ใช้ดุลพินิจลงโทษตามข้อแนะนำว่าพึงต้องใช้ดุลพินิจเป็นรายคดี โดยคำนึงถึงสภาพแห่งข้อหาและการกระทำความผิด ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของจำเลย ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพราะจะเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการบริการสาธารณสุขของประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |