แฟ้มภาพ
17 เม.ย.63 - คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) หรือเอ็นจีโอ ออกแถลงการณ์เรื่อง กลับคืนสู่การบริหารบ้านเมืองในระบบปกติ เชื่อมั่นในพลังทางสังคมเร่งการเยียวยาประชาชนอย่างทั่วถึงและทันท่วงทีจะนำพาสังคมไทยผ่านวิกฤตโควิด-19
ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 นี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ขอส่งกำลังใจและความปรารถนาดีไปยังผู้ที่อยู่ในกระบวนการรักษา การกักตัว และประชาชนทุกคนที่ก าลังเผชิญสถานการณ์อันยากลำบากนี้ขอขอบคุณความเสียสละและทุ่มเทของบุคลาการสาธารณสุข และพลังทางสังคมอื่น ๆ ที่กำลังร่วมในการช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
อย่างไรก็ตาม กป.อพช. เชื่อว่าเราสามารถแก้สถานการณ์วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 นี้ได้ด้วยการใช้การบริหารงานและกลไกปกติของรัฐบาลและรัฐสภา อย่างเข้มแข็งจริงจัง เช่นเดียวกับที่ประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน นิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ดำเนินการอยู่ การรวมศูนย์อำนาจการสั่งการที่นายกรัฐมนตรี และการใช้อำนาจทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ย่อมเป็นการคุกคามกลไกและบรรยากาศประชาธิปไตย นับเป็นการลงทุนที่มากเกินไปสำหรับสังคมไทยเพื่อที่จะผ่านสถานการณ์อันยากล าบาก คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
มีข้อเสนอดังนี้ 1. กป.อพช.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลกลับคืนสู่การเมืองและการบริหารประเทศในระบบปกติ ที่คณะรัฐมนตรีทั้งคณะทำงาน ทุกกระทรวงได้ทำภารกิจของตนอย่างเต็มกำลังเพื่อแก้ปัญหา รัฐสภาทำงานให้ความเห็นและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
2.มาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประชาชน กป.อพช.เสนอให้รัฐบาลเพิ่มการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน ในพื้นที่เสี่ยงให้มากขึ้น เพื่อการค้นพบผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว แทนการเน้นการตั้งรับและตรวจเท่าที่จำเป็นที่รัฐบาลทำอยู่ในปัจจุบัน และรัฐต้องจัดหาอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองให้เพียงพอแจกฟรีหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ อุปกรณ์การวัดไข้สำหรับการใช้ในระดับชุมชน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19นี้
3.เพราะโรคโควิด-19 ไม่เพียงแต่จะสร้างผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจของประเทศ และการทำมาหากินของประชาชนในปัจจุบันเท่านั้น แต่จะยังคงทิ้งผลกระทบระยะยาวไว้ให้แก้ไข กป.อพช.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนงบประมาณแผ่นดินของทุกกระทรวง ทุกกองทัพ และทุกหน่วยงานของรัฐเพื่อรองรับผลกระทบระยะยาวจากวิกฤตการณ์นี้
4.การวางแผนและการใช้งบประมาณทั้งหมดที่จะใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งที่จะมาจากการทบทวนงบประมาณเดิม และจากเงินกู้ ต้องผ่านการอนุมัติของรัฐสภา โปร่งใสเปิดเผยต่อสาธารณะและประชาชนตรวจสอบได้
5.แม้ กป.อพช.จะเห็นด้วยและสนับสนุนให้รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการ การลดการเดินทางเคลื่อนย้าย การอยู่บ้านเพื่อหยุดโรค และการประกาศเคอร์ฟิว แต่มาตรการเยียวยาที่ออกมาแล้วทั้ง 2 ชุด คือ ชุดแรกสำหรับแรงงาน(ในระบบ)และผู้ประกอบการ ชุดที่ 2 เงินเยียวยาสำหรับแรงงานนอกระบบและแรงงานอิสระ และ ชุดที่ 3 ที่กำลังจะออกมาให้เงินเยียวยาแก่เกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาที่มาตรการสองชุดแรกไม่สามารถครอบคลุมประชาชนที่เดือดร้อนทั้งหมด รวมทั้งปัญหาและความโกลาหลในการขึ้นทะเบียน การพิจารณา และการอุทธรณ์ของเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท ล้วนสะท้อนให้เห็นปัญหาของการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการโดยล าพังของรัฐบาลโดยขาดการปรึกษาและการทำงานร่วมกับท้องถิ่น องค์กรของประชาชน ภาคประชาสังคมชุมชน
กป.อพช.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของพลังทางสังคมที่มีอยู่อย่างเข้มแข็งในสังคมไทยเปิดการปรึกษาหารือและทำงานร่วม ให้มาตรการเยียวยาของรัฐไปถึงประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนจน คนชายขอบ และผู้เปราะบาง อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังให้เผชิญปัญหาโดยล าพัง
6.กป.อพช.เห็นว่าสถานการณ์ฉุกเฉินและการควบคุมประชาชนอย่างเข้มข้นที่รัฐบาลก าลังดำเนินการอยู่ควรจะเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น กป.อพช.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าสู่การผ่อนคลายโดยเร็ว เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเราเริ่มคลี่คลายลง เพื่อให้วิถีการผลิต การทำมาหากิน และการใช้ชีวิตของประชาชนคืนสู่ภาวะปกติ และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศได้ดำเนินต่อไป
กป.อพช.พร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลและพลังทางสังคมทุกกลุ่มเพื่อให้เกิดการปฏิบัติการตามข้อเสนอนี้ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่าเราจะสามารผ่านสถานการณ์วิกฤตนี้ไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |