แฟ้มภาพ
3 เม.ย.61-เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ออกแถลงการณ์ ระบุให้รัฐบาลไทยต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อกรณีผู้อพยพทางเรือชาวโรฮิงญา
หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งล่าสุดในพื้นที่รัฐยะไข่ในเดือนสิงหาคม 2560 ประเทศเมียนมา ทำให้มีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตจำนวนมาก และกว่าเจ็ดแสนคนต้องหนีข้ามไปยังประเทศบังคลาเทศรวมกับผู้ลี้ภัยที่มีอยู่เดิม ทำให้มีจำนวนชาวโรฮิงญาผู้ลี้ภัยรวมทั้งสิ้นว่า 900,000 คน ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่แออัดและขาดสุขอนามัยที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษยน ที่ผ่านมา ได้พบเรือของผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวน 56 คน มาขึ้นฝั่งไทยเป็นครั้งแรก ในพื้นที่ชายฝั่งอำเภอลันตา จังหวักกระบี่ นับตั้งแต่มีการทำลายขบวนการค้ามนุษย์ที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ทะเลอันดามันของไทย มีการออกหมายจับเจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องกว่า 150 คน และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ศาลได้ตัดสินลงโทษผู้ต้องหาทั้งสิ้น 62 คน จากจำนวนจำเลย 102 คน
จากการรายงานข่าว เจ้าหน้าที่ได้ให้ความช่วยเหลือให้เดินทางทางเรือต่อไป ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายในการเผชิญเหตุการณ์ผู้อพยพทางเรือที่มีประสิทธิภาพและเคารพในความเป็นมนุษย์ตามหลักสากล รวมถึงการป้องกันไม่ให้ผู้มีอิทธิพล และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างที่เคยเกิดขึ้นในระหว่างปี 2556-2558
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งกำหนดมาตรการภายใต้กฎหมายของไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลที่ชัดเจนอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงอำนาจตามกฎหมายภายในของไทย และความสอดคล้องหลักการสิทธิมนุษยชน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการเดินทางทะเล กำหนดให้มีการคัดกรอง จัดทำประวัติ และจำแนกกลุ่มที่เปราะบางเพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง ผู้ที่มีความเปราะบางอื่นๆ ที่มีความสงสัย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปรามปรามการค้ามนุษย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
2.ให้ดำเนินการตามมาตรา 19 ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาตไปพำนัก ณ สถานที่ที่เห็นสมควรในระหว่างการดำเนินการ เช่น มัสยิด หรือบ้านพักฉุกเฉิน โดยต้องไม่กักขังตัวไว้ที่ห้องกัก ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3. เร่งจัดตั้งกลไกประสานงานส่งต่อกับหน่วยงานราชการ ประชาสังคมภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ทั้งในระดับพื้นที่ชายฝั่ง และระดับชาติ ที่ประกอบด้วยรัฐบาลของชาติที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศอาเซียน และหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการหยุดยั้งการเดินทางออกมาจากชายฝั่งบังคลาเทศ รวมถึงรับมือกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อาจจะเดินทางมามากขึ้นในอนาคต
4.รัฐบาลไทยจะต้องเร่งรัดจัดทำกลไกการคัดกรองกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้ลี้ภัย ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อ 10 มกราคม 2560 เพื่อให้เป็นแนวทางกำกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนในกรณีที่พบผู้อพยพลี้ภัยในอนาคต
5.รัฐบาลจะต้องยุติมาตรการ "ช่วยเหลือให้ไปต่อ" ที่เคยดำเนินการระหว่างปี 2555 - 2558 รวมถึงนโยบายในทางลับที่อนุญาตให้หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ใช้อำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบ และเป็นปัจจัยผลักดันที่จะทำให้มีการใช้อำนาจเกินกว่ากฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จะนำไปสู่การขยายตัวของขบวนการนำพาและค้ามนมนุษย์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |