มหิดลแพร่กระจายไวรัสพลังบวก อยู่บ้าน เล่นดนตรี บำบัดช่วงโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

     ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้คนจำนวนมากต้องกักตัวอยู่บ้าน ลดการแพร่เชื้อหรือทำงานที่บ้าน ไม่สามารถเดินทางออกไปไหนได้ ความสุข ความบันเทิงที่ส่งตรงถึงบ้านจึงกลายเป็นของจำเป็นขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ ในสถานการณ์คอนเสิร์ตศิลปินดังยกเลิก โรงภาพยนตร์ปิดดำเนินการ การแสดงดนตรีต่างๆ หยุดชะงักอย่างไม่มีกำหนด แต่ละวันรอฟังข่าวแถลงยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ด้วยความตึงเครียดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

      การฟังดนตรีเพื่อผ่อนคลายพร้อมไปกับการอยู่บ้านรักษาสุขภาพ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในช่วงไวรัสแพร่กระจาย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เอาใจแฟนดนตรีและผู้สนใจเพลงด้วยการเปิดโครงการ "Stay Home & Play Music” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่อยู่บ้านและเล่นดนตรีเพื่อส่งต่อพลังบวก รวมถึงให้กำลังบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ติดเชื้อโควิด และคนไทยที่กำลังร่วมต่อสู้ในสถานการณ์ ใช้แฮชแท็ก  #OdetojoyChallenge ถือเป็นการส่งต่อความสุขด้วยเสียงดนตรี แพร่กระจายไปทั่วไทยและทั่วโลก เหมือนไวรัสพลังบวก นอกจากนี้ นักวิชาการดนตรีรั้วมหิดลคอนเฟิร์มดนตรีบำบัดเป็นทางเลือกหนึ่งสามารถใช้เยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤติได้เป็นอย่างดี

 

 

อาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล  

 

      อาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล กล่าวว่า ดนตรีจะช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลจากสถานการณ์วิกฤติ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ โดยดนตรีจะช่วยสร้างบรรยากาศความผ่อนคลายให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัย เวลาเราฟังเพลง ดนตรีจะช่วยให้สมองเราหลั่งสารแห่งความสุข หรือ "โดปามีน" ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

      นักวิชาการดนตรีบำบัดแนะนำหลักการเลือกฟังเพลงเพื่อเติมเต็มความสุขว่า ให้เลือกเพลงที่ชอบที่สุด อาจจะเป็นเพลงร้องหรือเพลงบรรเลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล  วิธีช่วยการผ่อนคลายได้ดี คือการฝึกการหายใจไปพร้อมกับเสียงเพลงบรรเลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย อาจเป็นเพลงที่มีเสียงธรรมชาติควบคู่ไปด้วย โดยฝึกหายใจเข้านับ 4 วินาที แล้วกลั้นไว้ 4 วินาที จากนั้นหายใจออกนับอีก 4 วินาที จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย ทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้นเวลาหายใจ ให้เราเอามือวางที่อกของตัวเองเพื่อสัมผัสการเคลื่อนไหวไปด้วย จะทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น  และจะเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่ทำให้เราได้หลุดออกจากความเครียดและวิตกกังวลในชีวิตประจำวันได้อีกระดับหนึ่ง ซึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาซึมเศร้าให้ระวังในการเลือกฟังเพลงด้วย ไม่แนะนำให้ฟังเพลงที่ตอกย้ำหรือทำให้รู้สึกแย่ลงไปอีก

      " ขณะนี้นักศึกษาเอกดนตรีที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แบ่งปันเพลงและการเล่นดนตรีของตัวเองผ่านทางโซเชียลมีเดีย โดยหวังให้เพลงของพวกเรามีส่วนช่วยให้คนไทยผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยรักและสันติสุข ติดตามได้จาก FB: College of Music, Mahidol University และทางสาขาดนตรีบำบัดได้เปิดให้บริการดนตรีบำบัดออนไลน์เพื่อช่วยเยียวยาจิตใจในช่วงวิกฤติ Covid-19 สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและผู้สูงอายุ ติดตามได้จาก FB: Music Therapy Thailand" อาจารย์วิพุธ กล่าว

    

มหิดลเปิดให้บริการดนตรีบำบัดออนไลน์เยียวยาจิตใจในช่วงวิกฤติ Covid-19 

 

 

     ในตอนนี้แฮชแท็ก  #OdetojoyChallenge ส่งต่อความสุขด้วยเสียงดนตรีมีให้ชมคึกคัก กฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์ นักศึกษาเอกแซ็กโซโฟน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ ช่วยชาติ ก็ร่วมเล่นดนตรีส่งต่อพลังบวกในช่วงวิกฤติโควิด-19 ตนส่งต่อในเพลง Odetojoy ผลงานคีตกวีบีโธเฟนในรูปแบบแซ็กโซโฟนทางออนไลน์ เล่นแบบฉีกแนว โชว์เทคนิค ไม่ได้เน้นบรรเลงอย่างไพเราะ เชื่อว่าเสียงแซ็กโซโฟนจะเป็นการให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ นักรบเสื้อกาวน์ และคนไทยที่ต่อสู้กับโรคระบาดใหม่ครั้งนี้ ไม่ต่างจากเสียงปรบมือ ตนยัง Tag เพื่อนนักดนตรีต่ออีก 3 คน แต่ละคนก็ส่งต่อความสุขผ่านดนตรีหลายแนว ทั้งฮิปฮอป แจ๊ส ดนตรีคลาสสิก ป๊อป มั่นใจว่าดนตรีจะช่วยบำบัดความเครียดช่วงที่คนต้องกักตัวหรือทำงานที่บ้าน หรือ WORK FROM HOME อาจเครียดโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่ได้พบปะเพื่อนฝูง ไม่ได้ยินเสียงหัวเราะ เสียงดนตรีช่วยผ่อนคลาย ไม่ให้การใช้ชีวิตตึงเกินไป เวลานี้ตนอยู่บ้าน ใช้เวลาว่างสอนดนตรีออนไลน์ให้กับเยาวชนที่สนใจเล่นแซ็กโซโฟน ช่วยให้มีรายได้ เพราะพิษโควิดทำให้งานอีเวนต์หรือคอนเสิร์ตต่างๆ ถูกยกเลิกไปหมด

 

กฤษฎา ชัยรัตนศักดิ์ ร่วมส่งต่อดนตรีผ่อนคลายช่วงโควิด-19

 

 

      รวิสุต ปฏิพัทธ์วศิน นักศึกษาเอกกีตาร์คลาสสิก ปี 3 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กล่าวว่า ตนเรียนและเล่นกีตาร์คลาสสิกจึงบรรเลงเพลง Odetojoy ในแบบฉบับตัวเองที่มีความร่วมสมัย ที่มีกลิ่นอายคลาสสิก กิจกรรมนี้ทำให้การอยู่บ้านไม่น่าเบื่อ ท้าทายตัวเอง และร่วมรณรงค์ให้คนอยู่บ้าน ห่างกันสักพัก ทั้งยังท้าทายคนทุกเพศทุกวัย ถึงไม่เป็นนักดนตรี แต่สามารถร่วมเล่นดนตรีได้ เราได้การแพร่กระจายความสุข บางบ้านเล่นดนตรีร่วมกันกับคนในครอบครัว ช่วงโควิดตนเล่นดนตรีส่งกำลังใจให้ทีมแพทย์ที่ทำงานหนัก เป็นเพลงคลาสสิกแต่ละยุค แชร์ผ่านโซเชียล คิดว่าในช่วงกักตัวทำให้คนได้ฟังดนตรีมากขึ้น มีไลฟ์แสดงดนตรีสดให้ชมกัน ตนแชร์ความรู้ทั้งที่มาของเพลง เทคนิคการบรรเลง รวมถึงแลกเปลี่ยนความเห็นทางดนตรีผ่านการคอนเมนต์ ก็เป็นข้อดีช่วงกักตัวอยู่บ้าน

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"