15 เม.ย.63 - กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ ) มูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบหุ่นยนต์ปิ่นโต และหุ่นยนต์กระจก อย่างละ 75 ตัว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน ด้วยพระองค์เอง จำนวน 2 ตัว ที่โรงพยาบาลน่าน จ.น่าน และ โรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ และมอบให้ทางมูลนิธิฯ กระจายต่อให้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดอีก 73 แห่ง และเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 ที่จะทยอยจัดส่งให้ภายในสองสัปดาห์นี้ ทั้งนี้จุฬาฯ ยังได้มอบ Chula Covid-19 Rapid Test Pandemic Control (Hospital) หรือ Test Kit จำนวน 5,000 ชุด แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลที่ต้องการ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้ง กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ ) เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เมษายน 2563 ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วย โควิด – 19 ซึ่งตั้งวันแรกที่ก่อตั้งก็มีผู้ร่วมสนับสนุนจำนวน 75 ล้านบาท และยังมีผู้ร่วมสนับสนุนอีกเรื่อยๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาในช่วงสถานการณ์โควิด-18 ซึ่งก็ได้มองปัญหาอย่างครบถ้วนเพื่อช่วยเหลือ โดยกลุ่มแรก ก็คือโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ซึ่งก็ได้สำรวจอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น อย่าง หน้ากาก N95 ชุด PPE พบว่าขาดตลาด หากมีจำหน่ายก็อาจจะไม่ได้คุณภาพ แต่ก็ได้จัดหามาได้ตามลำดับ และทำการจัดหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังได้รับมอบห้องตรวจโควิด-19 ที่มีความปลอดภัย ให้แก่ 4โรงพยาบาลในแต่ละภาค ซึ่งการได้อุปกรณ์ทางนวัตกรรมอย่างหุ่นยนต์ปิ่นโต และหุ่นย์กระจก ถือว่าจะช่วยเหลือแพทย์และพยาบาล ในการช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ต่อมาคือกลุ่มที่ 2 คนตกงานหรือหยุดงาน ที่ไม่มีรายได้ ก็ได้ให้ศูนย์ฝึกอาชีพ ของมูลนิธิชัยพัฒนา จ.นครปฐม นำความรู้ของอาชีพที่ทำได้และง่าย มาฝึกสอนในระยะเวลาสั้นผ่านเฟซบุ๊ค โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จ.นครปฐม อย่างการฝึกทำน้ำเต้าหูที่มีผู้สนใจกว่า 200 คน และกลุ่มที่ 3 คนกลับบ้าน ในต่างจังหวัด ที่อาจจะมีผลกระทบด้านอาหาร ก็ได้ร่วมกับโครงการทหารพันธุ์ดี ซึ่งให้ทหารได้นำเมล็ดพืชพันธุ์มาปลูกภายในค่าย เพื่อจำหน่ายพืชผักในราคาถูกให้แก่ประชาชน ทั้งรอบบริเวณค่ายหรือรถนำไปจ่ายในชุมชน
รองศาสตร์จารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดูแลโครงการ CU Robo Covid กล่าวว่า เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สำหรับใช้ในโรงพยาบาล เล็งเห็นว่า การขนส่งอาหารหรือการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นสิ่งที่จำเป็น และสามารถช่วยลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ จึงได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาหุ่นยนต์ปิ่นโตและกระจก ที่เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มาตั้งวันที่ 13 มีนาคม โดยหุ่นยนต์ “ปิ่นโต”(PINTO) เป็นหุ่นยนต์ ขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยระยะไกล(Quarantine Delivery Robot) ติดตั้งพร้อมระบบภาพสื่อสารทางไกลผ่านหน้าจอท่ีติดอยู่ท่ีรถเข็นควบคุมทางไกล ใช้งานง่ายช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาท่ีบุคลากรทางการแพทย์ต้องใกลช้ิดผู้ติดเชื้อสามารถดูแล คนไข้ได้อย่างใกล้ชิด ช่วยแบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าท่ีให้แพทย์และ พยาบาลสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นโดยมีการทดลองระบบจริงจากโรงพยาบาล ทำให้หุ่นยนต์ตรงกบัความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีราคาประหยด ทำความสะอาดง่าย ทนต่อการฆ่าเชื้อ และสามารถผลิตได้ง่ายในระยะเวลาสั้น ซึ่งใช้งบประมาณในการสร้างอยู่ที่ตัวละ 50,000 บาท
“ส่วนหุ่นยนต์ “กระจก” เป็นหุ่นยนต์ แท็บเลตท่ีติดตั้ง ภายในห้องพัก ผู้ป่วย ที่ติดตั้งง่ายสามารถใช้งานได้ทันที เพื่อสื่อสารทางไกลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยทำหน้าที่สอดส่องดูแลและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เปรียบเสมือนกระจกท่ีแสดงภาพและเสียงของบคุคลในการสื่อสารกับแพทย์ละพยาบาลผู้ป่วย สามารถเรียกพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อและยังช่วยลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย อีกทั้งยังกันน้ำ ทนการฆ่าเชื้อ ซึ่งใช้งบประมาณในการสร้างอยู่ที่ตัวละ 20,000 บาท ขณะนี้ได้มีการส่งมอบนำไปใช้แล้วที่โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยจำนวนการส่งมอบขึ้นอยู่กับเคสผู้ป่วยของแต่ละโรงพยาบาล และได้ติดตั้งแล้วเสร็จที่โรงพยาบาลน่านและโรงพยาบาลสันทราย คาดว่าภายใน 3-4 สัปดาห์พร้อมส่งมอบให้แก่มูลนิธิขัยพัฒนาครบตามจำนวน” ผู้ดูแลโครงการ CU Robo Covid กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |