แสตมป์ชุดพิเศษบันทึกภาพจิตรกรรมฝาผนังสำคัญ


เพิ่มเพื่อน    

 

จิตรกรรมฝาผนังเล่านิทานพื้นบ้าน "ศรีธนญชัย" วัดปทุมวนารามฯ

 

 

     ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นสมบัติล้ำค่าของวงการศิลปกรรมไทย และแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของฝีมือช่างไทยนำมาใช้เป็นรูปบนแสตมป์หรือตราไปรษณียากร เนื่องในโอกาสวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ แนวคิดการใช้แสตมป์เป็นเครื่องมือบันทึกประวัติศาสตร์ศิลปะ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ริเริ่มเมื่อปี 2560 โดยจัดทำตราไปรษณียากรจิตรกรรมฝาผนัง 4 ภาค นับจากภาพจิตรกรรมฝาผนังภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แสตมป์ทุกดวงสวยงามล้ำค่า

      ส่วนปีนี้ไปรษณีย์ไทยคัดสรรสุดยอดภาพฝาผนังจากวัดสำคัญ 4 แห่งในพื้นที่ภาคกลางจัดทำแสตมป์ 4 ดวง ออกมาในวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน 2563  เปิดให้ผู้สะสมเลือกซื้อแสตมป์ได้ตามความต้องการ เริ่มที่ดวงแรก เป็นภาพหญิงชายล้อมรอบดอกบัวขนาดใหญ่ผลิบานอยู่กลางสระ ผลงานจิตรกรเอก ขรัวอินโข่ง ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของจิตรกรรมไทย ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

 

แสตมป์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ผลงานจิตรกร ขรัวอินโข่ง 

 

      สำหรับจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส ขรัวอินโข่ง จิตรกรนำศิลปะการวาดภาพแบบตะวันตก ทั้งหลักทัศนวิทยา แสงเงา มิติ มาประยุกต์ใช้กับงานจิตรกรรมไทยอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งการเล่าเรื่องถือว่าแปลกใหม่ ไม่ใช่การเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดกตามขนบที่ยึดถือมา แต่เขียนภาพแสดงเรื่องราวที่ผู้ชมต้องใช้ปัญญาตีความจากภาพที่เป็นอุปมาอุปไมย เช่น ภาพดอกบัว ภาพคนขี่ม้า ภาพผู้ฝึกม้า ตามที่ปรากฏในพระอุโบสถ  ภาพปริศนาธรรมเหล่านี้เป็นภาพที่ต้องขบคิด ไม่ใช่ดูสวยงามเท่านั้น

      แสตมป์วันอนุรักษ์มรดกไทยชุดนี้นำภาพปริศนาธรรมห้องที่ 4 มีดอกปทุมชาติใหญ่พ้นน้ำงามสะอาดกว่าปทุมชาติอื่นๆ อุปไมยดอกบัวใหญ่เหมือนพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก กลิ่นดอกบัวใหญ่เหมือนพระธรรม หมู่คนที่ชื่นชมดอกบัวเหมือนหมู่อริยเจ้าที่ได้รับพระธรรมพิเศษ ได้มรรคผล เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนา ถือเป็นหนึ่งในภาพที่น่าสนใจ แต่ภาพปริศนาธรรมในพระอุโบสถที่รอให้ทุกคนไปถอดรหัสมี 12 ภาพ สนใจต้องไปที่วัดจะได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น ควรจะมาชมสักครั้ง

 

      แสตมป์ดวงถัดมาเป็นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหาร วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เรื่อง “ศรีธนญชัย” นิทานพื้นบ้านของคนไทยและคนลาวสะท้อนความผูกพันกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวล้านช้างที่ถูกกวาดต้อนมา ถือเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่เขียนนิทานศรีธนญชัย สำหรับวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระวิหารเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนบนเหนือกรอบหน้าต่างงดงามด้วยภาพเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค  

      ส่วนผนังตอนล่างระหว่างกรอบช่องประตูหน้าต่าง เขียนภาพศรีธนญชัย หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า "เชียงเมี่ยง"  ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีความนิยมและแพร่หลายในหมู่ชาวลาว ด้วยเนื้อหาสนุกสนาน เบาสมอง ถือเป็นกุศโลบายใช้ภาพเขียนช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับวัดที่สร้างขึ้นใหม่ดำเนินไปได้ด้วยดี ปัจจุบันนิทานศรีธนญชัยยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยและชาวต่างชาติด้วย ด้วยจุดเด่นของศรีธนญชัยตัวละครเอกเป็นคนเจ้าปัญญา ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ มีการนำไปสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะในหลายรูปแบบ นอกจากจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารวัดปทุมฯ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูน เวลานี้จากภาพผนังมาบรรจุลงแสตมป์อีกด้วย

 

ภาพมหรสพในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา

 

      แสตมป์ดวงถัดมาเป็นภาพคนไทย จีน และฝรั่ง ขณะยืนชมมหรสพการแสดงมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ภายในวิหารวัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพื้นหลังภาพปล่อยขาว ตามแนวนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สำหรับมหรสพในงานพระเมรุที่ปรากฏสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงแบบแผนเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา มีการเล่นโขน หุ่น ละครใน ไม้สูง งิ้ว ละครชาตรี หนัง ดอกไม้เพลิง แล้วยังมีมหรสพชนชาติต่างๆ รวมทั้งการแสดงกายกรรม เช่น ไม้สูง นอนหอกนอนดาบ แสตมป์ใช้ภาพส่วนหนึ่ง อยากเห็นผนังเต็มๆ เรื่องราวมากมาย ต้องไปเมืองเก่าอยุธยา 

 

ภาพฝาผนังสาวมอญนุ่งกระโจมอกตำข้าว วัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม

 

      งามล้ำไม่แพ้กันเป็นแสตมป์ภาพสาวมอญนุ่งผ้ากระโจมอกกำลังตำข้าว หนึ่งในวิถีชีวิตของชาวบ้านในช่วงสมัยสงครามเก้าทัพที่ วัดบางแคใหญ่ จ.สมุทรสงคราม ภาพจิตรกรรมชุดนี้เขียนขึ้นเมื่อคราวที่แม่ทัพไทยคุมทัพไปทำศึกกับพม่าผ่านเส้นทางชุมชนมอญ ทวาย ไทใหญ่ และกะเหรี่ยง เกิดแรงบันดาลใจจึงได้สั่งให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมว่าด้วยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชีวิตผู้คนที่พบรายทาง ภาพเล่าเรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย การกิน และการดำรงอยู่ของคนมอญในอดีต

      แสตมป์ล้ำค่าวันอนุรักษ์มรดกไทยชุดนี้เริ่มจำหน่ายพร้อมกันที่ ปณ.ทั่วประเทศ และเว็บไซต์ thailandpostmart.com ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ราคาชุดละ 12 บาท (3 บาท 4 แบบ) ซองวันแรกจำหน่าย 24 บาท แผ่นชีตที่ระลึก 15 บาท สอบถามเพิ่มเติม THP Contact Center 1545 และทางไลน์ @stampinlove.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"