14 เมษายน 2563 นางสาววิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในเรื่องการปรับตัวและมาตรการเอสเอ็มอี ในภาวะวิกฤตไวรัสโควิด–19 ในช่วงเดือนมี.ค. 2563 จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเอสเอ็มอี ทั่วประเทศ จำนวน 2,655 ราย 21 สาขาธุรกิจ โดยพบว่า ยอดขายของกิจการในเดือนมี.ค. 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กิจการส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 87.2% หรือมีจำนวนมากถึง 2,315 ราย ตอบว่ามียอดขายลดลงซึ่งมีเอสเอ็มอีประมาณ 3.8% มีรายได้ลดลงกว่า 80% โดยสาขาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ร้านอาหารที่ยังไม่เข้าร่วมเดลิเวอรี่ และอุปโภคบริโภคดั้งเดิม
ขณะที่การ สอบถามเรื่องของการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 33.5% ยังไม่มีแผนในการปรับตัว รองลงมา คือ การลดต้นทุนทางธุรกิจ คิดเป็นสัดส่วน 18.8% เพิ่มช่องทางการตลาด เช่น ออนไลน์ และเดลิเวอรี่ คิดเป็นสัดส่วน 12.8% หยุดกิจการชั่วคราว 8.5% จัดโปรโมชั่น 6.2% ลดจำนวนแรงงานและลดเงินเดือน 5.4% เปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นหรือหารายได้เสริม 4.7% ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ 3.8% ปรับราคาสินค้าและบริการ 3.7% ปรับไปตามแต่ละสถานการณ์ 1.4% และอื่นๆ 1.2%
“จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ถึง 33.5% ยังไม่มีแผนปรับตัวรับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอาจจะไม่สามารถปรับตัวให้รอดพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ ดังนั้น สสว. จะให้ศูนย์บริการเอสเอ็มอีครบวงจร (OSS) ทั่วประเทศ 77 จังหวัด ทำการสำรวจและรับข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี รวมถึงส่งต่อผู้ประกอบการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ต่อไป”นางสาววิมลกานต์ กล่าว
สำหรับมาตรการที่ผู้ประกอบการ เห็นว่า สามารถช่วยธุรกิจเอสเอ็มอี ในสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1. การลดหย่อนภาษี คิดเป็นสัดส่วน 19.7% 2. ควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 คิดเป็นสัดส่วน 14.4% 3. ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ คิดเป็นสัดส่วน 10.2% 4. ผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้ คิดเป็นสัดส่วน 8.2% และ5. ลด/เลื่อนค่าสาธารณูปโภค คิดเป็นสัดส่วน 6.1%
ขณะเดียวกันมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่รัฐบาลได้ประกาศออกมา 12 มาตรการ จากผลสำรวจ พบว่า 7 อันดับแรกที่ผู้ประกอบการชอบมากที่สุด ได้แก่ 1.มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ คิดเป็นสัดส่วน 19% 2. มาตรการลดและเลื่อนจ่ายค่าน้ำค่าไฟ คิดเป็นสัดส่วน 16.7% 3. มาตรการปล่อยกู้ ดอกเบี้ย 2% เวลา 2 ปี ไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% 4. มาตรการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ คิดเป็นสัดส่วน 11.8% 5. มาตรการลด เลื่อน ชะลอ การเก็บค่าธรรมเนียม ค่าเช่าที่จ่ายให้ภาครัฐ คิดเป็นสัดส่วน 8.5% 6. มาตรการเร่งคืน VAT ให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 5.8% และ7. มาตรการเร่งรัด เบิกจ่ายเงินงบประมาณ คิดเป็นสัดส่วน 4.5%
“สสว. จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอของเอสเอ็มอีทั้งหมด ไปประมวลรวบรวมเพื่อปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อให้ผ่านพ้นในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อออกมาเป็นมาตรการช่วยเหลือต่างๆต่อไป"นางสาววิมลกานต์ กล่า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |