แรงงานไทยใกล้ริบหรี่


เพิ่มเพื่อน    

      “ต่อไปนี้ประเทศไทยจะเดินหน้าด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาให้ก้าวทันประเทศผู้นำ และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในอุตสาหกรรมต่างๆ  ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง” คำพูดเหล่านี้คงได้ยินมาจากคนที่มีชื่อเสียงหลายๆ ขึ้นมาออกความคิดเห็น แสดงเจตนารมณ์ให้เห็นถึงทิศทางของประเทศไทยว่าจะเดินหน้าไปได้อย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้

        ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนามาไม่รู้กี่สิบปี ซึ่งยังไม่มีใครที่จะทำให้ไทยก้าวหน้าไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้สักที เนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่คอยผูกมัด ฉุดดึงให้ก้าวไปข้างหน้าลำบาก แต่เท่าที่ประเมินจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ค่อนข้างเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาประเทศ แต่ถ้าถามว่าจะไปได้ไกลสักเท่าไหร่ คงต้องให้ฝีมือและเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

        อย่างไรก็ตาม การจะเดินหน้าประเทศด้วยนวัตกรรมอย่างคำอ้างที่เคยได้ยินมา ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังได้ความร่วมมือจากกลุ่มประเทศที่เข้ามาเสนอแนวทางการผลักดันในด้านต่างๆ ทั้งให้ความร่วมมือ ให้คำปรึกษา แม้กระทั่งให้เทคโนโลยีด้วย ทั้งนี้การดำเนินงานที่หลายๆ ประเทศเริ่มจะตื่นตัวและหันมาทำกันมากแล้ว

        แต่การจะพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็มีหลายอย่างที่เป็นข้อจำกัดของประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงาน เนื่องจากต้องยอมรับว่าไทยยังขาดแรงงานที่มีทักษะอยู่สูงมาก และการเรียนจบของเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ได้ช่วยตอบสนองกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

        เนื่องจากส่วนใหญ่เทรนด์ของเด็กสมัยนี้ต้องเรียนจบปริญญาตรีซะมากกว่าการที่จะไปเรียนสายอาชีพหรืออาชีวะที่สอนตรงสายการทำงาน เพราะต้องยอมรับอีกแล้วว่าสายอาชีพในประเทศไทยบางแห่งยังมีหลักสูตรที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงโรงเรียนที่รองรับยังน้อยกว่าสายสามัญ อีกทั้งความคิดของคนในสังคมยังมองเด็กอาชีวะเป็นพวกที่ไม่ตั้งใจเรียนอีกด้วย

        ปัญหาแรงงานโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมจึงยังมีปัญหาจนถึงทุกวันนี้ แต่กลับส่งปัญหาให้กับเด็กที่จบปริญญาแต่ไม่มีงานทำ ทั้งนี้จากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรไทย ซึ่งมีจำนวนประมาณ 65.75 ล้านคน แยกอยู่ในวัยแรงงานจำนวน 56.05 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน น่าจะอยู่ในลำดับที่ 3 รองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากประชากรวัยแรงงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

        กระทรวงศึกษาธิการใช้งบประมาณมากกว่า 20.3% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งประเทศ เพื่อหวังว่าจะผลิตบุคลากรจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ แต่คุณภาพของผู้เรียนที่ผ่านมาจนทุกวันนี้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เป็นผลจากการที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำมาเป็นเวลานาน นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวของการศึกษาไทยที่ส่งต่อผู้คนเข้าสู่ตลาดแรงงาน

        ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็เห็นมีหลายฝ่ายเร่งเดินหน้าช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งทางด้านแรงงานเพิ่มขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมต้องใช้แรงงานที่มีทักษะ และเป็นแรงงานที่ตรงสายเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการมาฝึกฝนกันอีก และก็จะเป็นเรื่องดีหากนักเรียนที่จบมาและมีความพร้อมที่จะทำงานได้เลย เป็นการแสดงความพร้อมให้กับเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนว่าจะมีแรงงานเพียงพอ หากเกิดการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

        อย่างเช่นโครงการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา 6 ภาค ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเร่งดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน 

        ดังนั้น ถ้าจะให้คาดประมาณไปในปี 2561 ว่าจะเป็นปีที่สดใสของตลาดแรงงงานหรือไม่ ขอตอบได้เลยว่าอาจจะลำบาก แต่ที่จริงแล้วรัฐบาลยุคนี้ก็ได้ทำอะไรไปมากในการปรับโครงสร้างทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งยังไม่มีรัฐบาลก่อ.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"